Skip to main content

Author: ohoadmin

คู่มือการใช้หลักสูตร สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)

คู่มือการใช้หลักสูตร สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) คู่มือการจัดการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ฉบับนี้  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในจัดการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสมและตามบริบทของโรงเรียน

หมายเหตุ: เอกสารฉบับนี้เป็นเเอกสารเผยแพร่ภายใต้ โดเมน ipst.ac.th เท่านั้น   ห้ามนำไปเผยแพร่ให้ดาวน์โหลดภายใต้โดเมนหรือเซิร์ฟเวอร์อื่น  เพื่อให้มั่นใจว่าท่านได้ไฟล์ที่ถูกต้องและเป็นไฟล์ที่ได้รับปรับปรุงล่าสุด โปรดอ้างอิง URL ที่อยู่ภายใต้โดเมน ipst.ac.th

ดาวน์โหลดที่นี่

ปรับปรุงล่าสุด 16 พ.ค. 2561

คำสั่ง สพฐ. เรื่องการปรับโครงสร้างเวลาเรียนฯ และ เรื่องการยกเลิกตัวชี้วัดสาระที่ 2,3 กลุ่มสารระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีคำสั่ง/ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ และวิชาการออกแบบและเทคโนโลยีดังนี้

คำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 921/2561  เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดสาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยีและสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และเปลี่ยนชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ 

คำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 922/2561 เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างวิชาเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  

1. คำสั่ง สพฐ. ที่ 1239/2560 เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560
2. คำสั่ง สพฐ. ที่ 30/2561 เรื่อง ให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561
3. ประกาศ สพฐ. เรื่อง การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561 (หมายเหตุ ข้อ 3 การจัดการเรียนการสอน ข้อ 3.2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคโนโลยี 2) บูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ให้ดำเนินการตามคำสั่ง สพฐ.ที่ 921/2561 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2561)
4. คำสั่ง สพฐ. ที่ 921/2561 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี และสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และเปลี่ยนชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ ลงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
5. คำสั่ง สพฐ. ที่ 922/2561 เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
6. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการเวลาเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (หมายเหตุ ข้อ 1 การบริหารจัดการเวลาเรียน ให้ดำเนินการตาม คำสั่ง สพฐ.ที่ 922/2561 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2561)

หรือลิงค์ http://academic.obec.go.th/missiondetail.php?id=34

สรุปภาพรวมหลักสูตรและเปรียบเทียบตัวชี้วัดฯ

     เพื่อให้ครูมีความเข้าใจและสามารถจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) ในส่วนของตัวชี้วัดเทคโนโลยี จึงขอเสนอ การเทียบเคียงตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนกลางฯ ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระเทคโนโลยี

และในส่วนของวิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)ได้จัดทำเอกสารสรุปภาพรวมหลักสูตรและตัวชี้วัด ง.๓.๑ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลักสูตร ๒๕๕๑   กับ   ว.๔.๒ เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) หลักสูตรปรับปรุง ๒๕๖๐  ดังเอกสาร ดาวน์โหลด

 

หนังสือเรียนรายวิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

หนังสือเรียนระดับชั้นประถมศึกษา จำหน่ายโดยองค์การค้า สกสค  2249 ถนนลาดพร้าว แขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310  อีเมล: suksapan99@hotmail.com  โทรศัพท์: 02-5383033 ต่อ 409,305,306
โทรติดต่อได้ที่ร้านศึกษาภัณฑ์พาณิชย์
-ราชดำเนิน โทร.0 2629 1910-1 -ลาดพร้าว โทร.0 2538 3021
-ราชบพิธ โทร.0 2221 0822
-สกสค.(คุรุสภา)โทร.0 2281 1637
-สนามกีฬาแห่งชาติ โทร.0 2214 3325
-ท้องฟ้าจำลอง โทร.0 2390 2546
-อิมพีเรียลสำโรง โทร.0 2756 8701-2
-สตรีท โทร.0 2054 1117, 0 2001 7474
-อ้อมน้อย โทร.0 2420 7095-8
เว็บไซต์  https://www.suksapanpanit.com

หนังสือเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จำหน่ายโดยศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดต่อสั่งซื้อได้ที่ แผนกขายส่ง โทร 0-23741375-6 หรือสอบถามข้อมูล สสวท. โทร 0-2392-4021 ต่อ 1112, 1115  เว็บไซต์  http://www.chulabook.com/ipst_book.asp 

ราคาหนังสือเรียนและแบบฝึก วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สสวท. ระดับชั้นประถมศึกษา

1. หนังสือเรียนวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น ป.1 ราคา 76 บาท
2. หนังสือเรียนวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น ป.2 ราคา 92 บาท
3.หนังสือเรียนวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น ป.4 ราคา 82 บาท
4.หนังสือเรียนวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น ป.5 ราคา 99 บาท
5. แบบฝึกทักษะวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น ป.1 ราคา 33 บาท
6. แบบฝึกทักษะวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น ป.2 ราคา 38 บาท
7.แบบฝึกทักษะวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น ป.4 ราคา 35 บาท
8.แบบฝึกทักษะวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น ป.5 ราคา 41 บาท

ราคาหนังสือเรียน วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สสวท. ระดับชั้นมัธยมศึกษา

1.หนังสือเรียนวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น ม.1 ราคา 83 บาท
2. หนังสือเรียนวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น ม.2 ราคา 69 บาท
3.หนังสือเรียนวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น ม.4 ราคา 41 บาท
4. หนังสือเรียนวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น ม.5 ราคา 54 บาท

หนังสือเรียน ป.1 ราคา 76 บาท

หนังสือเรียน ป.2 ราคา 92 บาท

หนังสือเรียน ป.4 ราคา 82 บาท

หนังสือเรียน ป.5 ราคา 99 บาท

 

แบบฝึกทักษะ ป.1 ราคา 33 บาท

แบบฝึกทักษะ ป.2 ราคา 38 บาท

 

แบบฝึกทักษะ ป.4 ราคา 35 บาท

แบบฝึกทักษะ ป.5 ราคา 41 บาท

 

หนังสือเรียน ม.1 ราคา 83 บาท

 

 

หนังสือเรียน ม.2 ราคา 69 บาท

หนังสือเรียน ม.4 ราคา 41 บาท

หนังสือเรียน ม.5 ราคา 54 บาท

คำอธิบายรายวิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)

คำอธิบายรายวิชา
เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)

ดาวน์โหลด: คำอธิบายรายวิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้น ป.๑-๖

ดาวน์โหลด: คำอธิบายรายวิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้น ม.๑-๖

*** การนำเอกสารไปเผยแพร่โปรดอ้างอิงแหล่งที่มา ***

ประกาศผู้ที่ได้รับคัดเลือก“ค่ายหุ่นยนต์ครู เอ็มเทค-สสวท.(MTEC-IPST Robotics Teacher Camp)”

ตามที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ(MTEC) รับสมัครครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาเข้ารับการอบรม  “ค่ายหุ่นยนต์ครู เอ็มเทค-สสวท.(MTEC-IPST Robotics Teacher Camp)”  โดยจะจัด ระหว่างวันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2560 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี โดย สสวท. เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการอบรม ได้แก่ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าวิทยากร ค่าเอกสารประกอบการอบรม ตลอดจนค่าอุปกรณ์ในการสร้างหุ่นและดำเนินกิจกรรม   แต่จะไม่รวมค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นๆ(ผู้ได้รับการคัดเลือกจะต้องจ่ายเอง)

ให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกดำเนินการดังนี้
  1. ศึกษากำหนดการและรายละเอียดโครงการดังเอกสารแนบ (MTEC-IPST-RobotCamp)
  2. ส่งแบบตอบรับการอบรมภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560  โดย สสวท. ได้ส่งแบบฟอร์มการตอบรับไปยังอีเมลของท่านแล้ว หากไม่ได้รับอีเมลโปรดแจ้งมาที่ pkaew@ipst.ac.th   หากไม่ส่งแบบตอบรับภายในวันที่กำหนดจะถือว่าท่านสละสิทธิ์ในการอบรม
  3. โปรดนำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ windows 7 หรือสูงกว่าและมีพอร์ต USB ไม่ต่ำกว่า 2 พอร์ต เพื่อใช้ในการอบรม
  4. โปรดเตรียมผ้าเช็ดตัว แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ แชมพูมาด้วย เพื่อความสะดวกในการเข้าพัก
  5. เช็คอินเข้าที่พัก ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี ได้ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป โดยติดต่อขอกุญแจห้องที่โต๊ะประชาสัมพันธ์
  6. ไม่อนุญาตให้มีผู้ติดตามเข้าร่วมกิจกรรมหรือพักร่วมกับผู้รับการอบรม ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร
  7. ผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้าร่วมกิจกรรมครบทั้ง 5 วัน

 

รายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือก
ค่ายหุ่นยนต์ครู เอ็มเทค-สสวท.(MTEC-IPST Robotics Teacher Camp)
ระหว่างวันที่ 13-17 พฤษจิกายน 2560
ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี

13.นายเดชาธร  พองามเมืองโพธิ์ชัยพิทยาคมบุรีรัมย์

<บุรีรัมย์>

45.นายกฤษฎา ทองกำเหนิดศรียาภัยชุมพร46.นายจักรพงษ์ ทองสว่างบ้านดินทรายอ่อนหนองบัวลำภู47.นายนิรุช เสาประโคน

โคกยางวิทยา

สุรินทร์48.นางสาวกาญติมา นกแก้วพุนพินพิทยาคมสุราษฎร์ธานี49.นายโยธิน ธีระนันท์น้ำพองศึกษาขอนแก่น50.นายธัญพิสิษฐ์ อ่อนศรีจักราชวิทยานครราชสีมา

ที่ คำนำหน้า ชื่อ-นามสกุล โรงเรียน จังหวัด
1. นาง กัลยา เป็กเครือ ดอกคำใต้วิทยาคม พะเยา
2. นาย จตุรงค์ ลิ้มไพบูลย์ บ้านห้วยกุ่ม ชัยภูมิ
3. นาย จักรพันธ์ จันทร์หนูฤทธิ์ ห้วยนางราษฎร์บำรุง ตรัง
4. นาย ชนก  แสนติยศ บ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์ เชียงราย
5. นาย ชาลี  ครองศักดิ์ศิริ โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร
6. นาย ชาลี วงษ์รักษ์ อุทัยวิทยาคม อุทัยธานี
7. นาย โชติก ทรัพย์ดี เบญจมราชรังสฤษฎิ์ ฉะเชิงเทรา
8. นาย เฉลิมพล  มีดวง อุโมงค์วิทยาคม ลำพูน
9. นาย ณรงค์ศักดิ์  สีหะวงษ์ กาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ กาฬสินธุ์
10. นาย เดชาธร พองาม เมืองโพธิ์ชัยพิทยาคม บุรีรัมย์
11. นาย ตรัยมิตร  รูปใส อุตรดิตถ์ดรุณี อุตรดิตถ์
12. ว่าที่ ร.ต. ธิติฏฐ์วัฒน์  เอมสถิตย์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี ลพบุรี
13. นาย นฤเบศ  เชื้อบ้านเกาะ โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล กระบี่
14. ว่าที่ ร.ต.หญิง นฤมล  พิทยาธรรมทิตย์ หาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา สงขลา
15. นาย ศรัณย์ภัทร กาญจนาคม พัฒนานิคม ลพบุรี
16. นาย บรรฑูรณ์  สิงห์ดี โรงเรียนลานสักวิทยา อุทัยธานี
17. นาย ปริญญา  นฤประชา มงฟอร์ตวิทยาลัย เชียงใหม่
18. นาง พรทิพย์  วัฒนาดิลกกุล ราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมุทรปราการ
19. นางสาว พรพรรณ ธาราแดน อัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพมหานคร
20. นาย พิสัน โพนทัน เมืองกลางประชานุกูล ยโสธร
21. นาย ไพบูลย์ ปัทมวิภาต สามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
22. นาย มนตรี นามแฮด เทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต นครสวรรค์
23. นาย มานะ   อินทรสว่าง ศึกษานารี กรุงเทพมหานคร
24. นาย เมธี มีแก้ว หัวหินวิทยาลัย ประจวบคีรีขันธ์
25. นาย เรวัตร งะบุรงค์ หนองเสือวิทยาคม ปทุมธานี
26. นาย วงค์ณภา  แก้วไกรษร โนนสะอาดชุมแสงวิทยา อุดรธานี
27. นาย วิทูลย์ ดอนพรทัน อนุกูลนารี กาฬสินธุ์
28. นางสาว วิภาพร ชิณะแขว สตรีสิริเกศ ศรีสะเกษ
29. นางสาว สกุลรัตน์ โรจนพรพิรักษ์ โรงเรียนปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร
30. นาย สาโรจน์ บุญศักดิ์ดี เบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี
31. นางสาว กนกกาญจน์ แสงทอง ชลบุรี “สุขบท” ชลบุรี
32. นาย สุเมธ ชาญวัฒนา สามัคคีวิทยาคม เชียงราย
33. นาย สุพรชัย เทียมทองอ่อน พรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี เพชรบุรี
34. นาย สุรศักดิ์  ศรีขวัญ ทีปราษฎร์พิทยา สุราษฎร์ธานี
35. นาย สุวัฒน์  สุทิน เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช
36. นาย ไสว วีระพันธ์ ปทุมรัตต์พิทยาคม ร้อยเอ็ด
37. นางสาว หทัยชนม์  นนท์เรืองฤทธิ์ มัธยมตระการพืชผล อุบลราชธานี
38. นาย อนุสิทธิ์ ปิตุรัตน์ ยุพราชวิทยาลัย เชียงใหม่
39. นาย อลงกต หาญชนะ ราชสีมาวิทยาลัย นครราชสีมา
40. นางสาว อารีรัตน์ ธานี โรงเรียนพนาศึกษา อำนาจเจริญ
41. นางสาว อุษณีย์ น้อยศรี กาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม นครปฐม
42. นาย เอกตวัน เลิศไกร เบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
43. นาย พงศธร สายใจ แม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ เชียงราย
44. นาย ประสิทธิ์ คำหล้า ทุ่งหัวช้างพิทยาคม ลำพูน
45. นาย กฤษฎา ทองกำเหนิด ศรียาภัย ชุมพร
46. นาย จักรพงษ์ ทองสว่าง บ้านดินทรายอ่อน หนองบัวลำภู
47. นาย นิรุช  เสาประโคน โคกยางวิทยา สุรินทร์
48. นางสาว กาญติมา นกแก้ว พุนพินพิทยาคม สุราษฎร์ธานี
49. นาย โยธิน  ธีระนันท์ น้ำพองศึกษา ขอนแก่น
50. นาย ธัญพิสิษฐ์ อ่อนศรี จักราชวิทยา นครราชสีมา

 update: 08 Nov 2017

สอบถามรายละเอียดการตอบรับการอบรมได้ที่
สาขาวิชาเทคโนโลยี
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)
โทร. 0 2392 4021 ต่อ 3408 (นายพนมยงค์ แก้วประชุม)
Email: pkaew@ipst.ac.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมอบรมได้ที่
ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยี งานประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนัก
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทร.  0 2564 6500 ต่อ 4679 (นายอัครพล สร้อยสังวาลย์)
E-mail: akrapols@mtec.or.th

ขอเชิญครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมค่ายหุ่นยนต์

ด้วยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ(MTEC) จะจัดกิจกรรม “ค่ายหุ่นยนต์ครู เอ็มเทค-สสวท.(MTEC-IPST Robotics Teacher Camp)” ระหว่างวันที่ 13-17 พฤษจิกายน 2560 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี จึงขอเชิญครูผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยจะรับคัดเลือกจำนวน 50 คน  สสวท.จะเป็นผู้ออกค่าสมัครให้มูลค่า 15,600 บาท/คน   แต่จะไม่รวมค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นๆ(ผู้ได้รับการคัดเลือกจะต้องจ่ายเอง) รายละเอียดโครงการดังเอกสารแนบ

เงื่อนไขการรับสมัคร

  • ผู้สมัครต้องดำเนินการขออนุญาตต้นสังกัดด้วยตนเองและต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานต้นสังกัดในการเข้ารับการอบรมทั้ง 5 วันหากได้รับการคัดเลือก
  • ผู้สมัครจะต้องนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของท่าน เพื่อนครู
    ในสถานศึกษาของตนเองและท้องถิ่น รวมทั้งร่วมงานกับ สสวท. ในการพัฒนาครู พัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้
  • สสวท. จะพิจารณาผู้ที่มีความเหมาะสมโดยการคัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นสิทธิขาดของ สสวท.
  • สงวนสิทธิมอบประกาศนียบัตร เฉพาะผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 5 วันเท่านั้น

การรับสมัคร

  • ดาวน์โหลดเอกสารโครงการ (MTEC-IPST-RobotCamp)
  • รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – วันที่ 27 ตุลาคม 2560 โดยกรอกใบสมัครออนไลน์ทางเว็บไซต์  https://goo.gl/ev94hC
  • ประกาศผลการคัดเลือก วันที่ 30 ตุลาคม 2560 ทางเว็บไซต์ http://oho.ipst.ac.th
  • ส่งแบบตอบรับการอบรม(เฉพาะผู้ที่ได้รับการคัดเลือก)ภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 25ุ60 (จะแจ้งวิธีการตอบรับให้ทราบในวันประกาศผลการคัดเลือก)

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • เป็นครูมัธยมศึกษา
  • มีความกระตือรือร้น ความสนใจ และความตั้งใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ robotics and mechatronics
  • มีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา C, Python, Java, หรือภาษาอื่นๆ
  • มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ เช่น มีความเข้าใจแผนผังอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
  • มีความรู้พื้นฐานการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่ายได้
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำเป็นต้องเข้าร่วมกิจกรรมครบทั้ง 5 วัน

*สิ่งที่ผู้รับการอบรมต้องเตรียมมา:  Notebook ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 7 เป็นอย่างน้อย และมี USB port อย่างน้อย  2 ports

สอบถามรายละเอียดการสมัครได้ที่
สาขาวิชาเทคโนโลยี
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)
โทร. 0 2392 4021 ต่อ 3408 (นายพนมยงค์ แก้วประชุม)
Email: pkaew@ipst.ac.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมอบรมได้ที่
ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยี งานประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนัก
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทร.  0 2564 6500 ต่อ 4679 (นายอัครพล สร้อยสังวาลย์)
E-mail: akrapols@mtec.or.th

Smart Classroom: ห้องเรียนในยุค 4.0 ตอนที่ 2

รูปแบบ Smart Classroom

Smart Classroom มีหลายรูปแบบหรือหลายลักษณะ และมีชื่อเรียกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย และบริบทของสถานศึกษานั้น สุรศักดิ์ ปาเฮ นักการศึกษาของไทยอธิบายไว้อย่างน่าสนใจถึงแบบจำลองของ Smart Classroom ในแง่มุมของอาคารสถานที่ว่ามีจุดมุ่งหมายทั่วไป 10 ประการ คือ 1) มีความเพียงพอ (Adequate) 2) มีความเหมาะสม (Suitability) 3) มีความปลอดภัย (Safety) 4) มีสุขลักษณะ (Healthfulness) 5) ระยะทางติดต่อและใช้สอย (Accessibility) 6) มีความยืดหยุ่น (Flexibility) 7) มีประสิทธิภาพ (Efficiency) 8) มีความประหยัด (Economy) 9) สามารถขยับขยายได้ (Expansibility) และ 10) มีรูปร่างสวยงาม (Appearance)

นอกจากนี้ การนำเทคโนโลยีใกล้ตัวอย่างสมาร์ทโฟนมาช่วยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบหนึ่งของ Smart Classroom ดังเช่นในประเทศอินเดียที่มีการนำสมาร์ทโฟนมาช่วยบูรณาการ เพื่อจัดการห้องเรียน เนื่องจากเห็นว่ารูปแบบห้องเรียนเดิมนั้นผู้สอนมักจะไม่อนุญาตให้ผู้เรียนใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนของตนเองในระหว่างที่มีการเรียน เพราะผู้เรียนอาจนำมาเล่นเกม รับส่งข้อความกับผู้อื่น หรือใช้แอพลิเคชั่นอื่นๆ รวมทั้งเมื่อมีสายเรียกเข้าหรือเครื่องสั่นจากการใช้งานสมาร์ทโฟนก็จะทำให้เกิดการรบกวนตัวผู้เรียนและคนรอบข้าง ทำให้สมาร์ทโฟนไร้ประโยชน์ทันที จึงมีแนวคิดที่จะให้ผู้เรียนทุกคนได้ใช้สมาร์ทโฟนของตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยบรรจุโปรแกรมที่ช่วยจัดการห้องเรียน เช่น บันทึกการเข้าเรียน กำหนดการใช้งานโทรศัพท์เมื่ออยู่ในโรงเรียน

การนำ Smart Phone มาใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้

            จากยุทธศาสตร์ชาติภายใต้โมเดลชื่อ ไทยแลนด์ 4.0 ที่รัฐบาลต้องการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โมเดลนี้ต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมนั่นคือ การศึกษาของคนในชาติ ที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพคน และความเสมอภาคทางสังคม ซึ่งการศึกษาในยุค 4.0 ผู้เรียนต้องเป็นผู้สร้างแนวคิด เรียนรู้ แก้ปัญหา หรือสร้างนวัตกรรมผ่านการเรียนรู้ ฝึกฝน ค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ด้วยตนเอง โดยผู้สอนต้องทำหน้าเพียงผู้ให้คำปรึกษา เสริมสร้างความรู้ สร้างแนวคิด และจะต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ให้ตนเองมีความรู้ความสามารถในการออกแบบหรือเป็นผู้จัดการภายในห้องเรียน ทั้งจัดสภาพแวดล้อม จัดหาอุปกรณ์ที่จะมาสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมทั้งผู้สอนต้องปรับแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ให้มีมากกว่าในตำรา หรือหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์ได้

            ทั้งนี้ Smart Classroom ซึ่งเป็นรูปแบบห้องเรียนที่ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือที่สามารถจัดหามาได้ และมีประโยชน์ต่อการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มีทั้งรูปแบบของห้องเรียนในอาคารเรียนปกติที่ผู้เรียนและผู้สอนสื่อสารกันโดยตรง (face to face) หรือรูปแบบห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) ที่เป็นพื้นที่ให้ผู้เรียนสามารถสนทนา แลกเปลี่ยน ถามตอบกับผู้สอนได้ทั้งแบบกลุ่มและเดี่ยว สามารถแบ่งปัน (share) ข้อมูลกับผู้อื่นได้ทุกเวลา ภายในห้องเรียนจะให้ความสำคัญกับส่วนหลักๆ คือ ผู้สอน ผู้เรียน และสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ที่มีสื่อเป็นองค์ประกอบ แต่ไม่ว่าลักษณะของ Smart Classroom จะเป็นรูปแบบใดจุดเน้นสำคัญคือกระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนที่จะต้องสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เหมาะต่อการเรียนรู้  เป็นห้องเรียนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีบทบาทมากขึ้น ได้เรียนรู้ตามความต้องการหรือความสนใจของตนเองผ่านการทำกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การร่วมมือกันทำงาน คิดเป็น แก้ปัญหาเองเป็น มีความคิดสร้างสรรค์ และเสริมสร้างประสบการณ์ด้วยตนเอง กล่าวคือ ในยุค 4.0 นี้ควรจะให้ความสำคัญกับการจัดการห้องเรียนหรือการจัดการเรียนรู้ที่เน้นประสิทธิผลของผู้เรียน โดยนำเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยเสริมแรง สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงตัวผู้เรียนให้ได้มากที่สุด เนื่องจากผู้เรียนยุคใหม่มักใช้ชีวิตอยู่กับโลกของสังคมที่เป็นแบบออนไลน์มากขึ้น มีการใช้โทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ต โน้ดบุ๊ก หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่ผู้สอนต้องรู้จักบริหารจัดการอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ด้วย

บทความโดย นายนิรมิษเพียร ประเสริฐ

อ้างอิง

  • สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2557).  รายงานผลการเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ขอบแดนใหม่แห่งการเรียนรู้ : การศึกษาระบบ 4.0 โดยศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2559 จากhttp://www.stou.ac.th/Schools/sst/main/KM/KM%20Post/57/edu4.0.pdf
  • สุรศักดิ์ ปาเฮ.  (2557). Smart Classroom: ห้องเรียนอัจฉริยะ. ค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2557,
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์  (2557).  จดหมายข่าวประจำเดือนพฤษภาคม 2557. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2557, จาก  http://newsletter.rmutr.ac.th/wp-content/uploads/2014/06/rmutr_5-57.pdf
  • อนุศร หงษ์ขุนทด.  (2557). ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom). ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2557, จากhttp://pitcforteach.blogspot.com/2014_05_01_archive.html
  • Faouzi Bouslama and  Faisal Kalota. (2014).  Creating Smart Classrooms to Benefit from Innovative Technologies and Learning Space Design.  2013 International Conference on Current Trends in Information Technology (CTIT),  27 February 2014, pp102-106. DOI: 10.1109/CTIT.2013.6749486
  • Mahesh G.Jayahari K. R.Kamal Bijlani. (2016). A Smart Phone Integrated Smart Classroom. 10th International Conference on Next Generation Mobile Applications, Security and Technologies (NGMAST), 29 December 2016, pp88-93. DOI 10.1109/NGMAST.2016.31
  • Song Shuqiang,Zhong Xiaoliu,Li Haixia,Du Jing, Nie Fenghua. (2014).  Smart Classroom: from Conceptualization to Construction. 2014 International Conference on Intelligent Environments, 30 June-4 July 2014, pp330-332. DOI 10.1109/IE.2014.56

Smart Classroom: ห้องเรียนในยุค 4.0 ตอนที่ 1

        จากกรอบยุทธศาสตร์ประเทศไทยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)  6 ด้าน ทั้งความมั่นคง การสร้างความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน การสร้างโอกาสและความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม การสร้างการเจริญเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้ชื่อย่อว่าประเทศไทย 4.0 หรือไทยแลนด์ 4.0 เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคที่ 4 จากเดิมประเทศไทยในยุคที่ 1 จะเน้นการเกษตรเป็นหลัก ยุคที่ 2 จะเน้นอุตสาหกรรมเบา ยุคที่ 3 จะเน้นอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก จนมาสู่การก้าวสู่ยุคที่ 4 ที่รัฐบาลต้องการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value-Based Economy) เพื่อสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันให้มากขึ้นด้วยนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ และการขับเคลื่อนโมเดลนี้ต้องอาศัยความร่วมมือในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะปัจจัยพื้นฐานที่จะช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สู่การพัฒนานวัตกรรม คือ ปัจจัยด้านการศึกษาที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้คนในชาติได้รับการพัฒนาศักยภาพตลอดช่วงชีวิต ยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียม และทั่วถึง ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน

       สำหรับยุคของการศึกษาของประเทศไทยนั้น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการปรับรูปแบบอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากรูปแบบที่ผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียนเพียงฝ่ายเดียว ผู้เรียนทำหน้าที่รับการถ่ายทอดจากผู้สอน เท่านั้น ซึ่งรูปแบบนี้อยู่ในยุคที่เรียกว่า Education 1.0 และต่อมาในยุค Education 2.0 ผู้เรียนนอกจากทำหน้าที่รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนแล้ว ยังต้องรู้จักค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่ผู้สอนแนะนำด้วย และด้วยสภาพแวดล้อมทางสังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจนแทบไม่มีขีดจำกัด ทำให้ข้อมูล ความรู้ต่างๆ ถูกส่งผ่านจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้รับข้อมูลได้อย่างรวดเร็วผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ จึงนำไปสู่ยุค Education 3.0 ซึ่งเป็นยุคที่ผู้เรียนต้องรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีอยู่ เป็นเครื่องมือในการสืบเสาะและส่งผ่านข้อมูลไปยังที่ต่างๆ ผสมผสานกับการทำงานเป็นกลุ่ม โดยผู้สอนทำหน้าที่เป็นเพียงผู้จัดการเรียนรู้ หรือโคชที่คอยทำหน้าที่ให้คำแนะนำ แก้ปัญหา ชี้แนะ รวมถึงจัดสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้มากกว่าการถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้เรียน จนมาถึงยุคของการศึกษาที่สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 คือยุคที่เรียกว่า Education 4.0 เป็นยุคที่ต้องสร้างนักนวัตกรรม โดยส่งเสริมให้ผู้สอนและผู้เรียน เป็นนักคิดนักสร้างนวัตกรรม และกระตุ้นให้คนที่เข้าเรียนวิทยาศาสตร์ มุ่งหวังที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจนวัตกรรมด้วยตัวเอง และร่วมมือกับเอกชนจัดการเรียนรู้ หรือประสานความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับภาคเอกชน เช่น ใช้สถานที่ทำงานของภาคอุตสาหกรรมในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียน และผู้สอนเรียนรู้และทำงานร่วมกับเอกชน ร่วมมือในการพัฒนา สร้างนวัตกรรมต่างๆ

      ในยุคที่มีการใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงทุกสรรพสิ่งและส่งข้อมูลไปยังปลายทางอย่างรวดเร็ว และง่ายขึ้น ทำให้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง รู้จักที่จะเรียนรู้ ปรับใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมและต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อไม่ให้เกิดโทษกับตัวเองและสังคม

       ในระบบการศึกษาก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสทางสังคมที่เปลี่ยนไปด้วย กล่าวคือ ผู้สอนต้องมีความพร้อมที่จะจัดการเรียนรู้ หาวิธีการ รูปแบบการเรียนรู้ใหม่ๆ สื่อ อุปกรณ์ รวมไปถึงการจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ใหม่ๆ ในห้องเรียน เพื่อเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะหลายๆ ด้าน มีกระบวนการคิด กระบวนการการแก้ปัญหา และมีเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้สำหรับการดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ปัจจุบันมีวิธีการหรือรูปแบบการจัดการเรียนรู้หลากหลายให้ผู้สอนเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและผู้เรียน รูปแบบของห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ Smart Classroom ซึ่งแม้ว่าจะเป็นรูปแบบที่มีการนำมาใช้ในประเทศไทยกว่า 10 ปีแล้ว แต่ลักษณะของ Smart Classroom ได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงสามารถนำมาเป็นทางเลือกหนึ่งในการจัดการห้องเรียน เพื่อสร้างแรงจูงใจ และเพิ่มขีดความสามารถของห้องเรียน ให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดี มีความสุข พร้อมทั้งเกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมได้

แนวคิดของ Smart Classroom

     Smart Classroom ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งในหลายๆ รูปแบบของการจัดสภาพแวดล้อมการจัดการเรียนรู้ให้เข้ากับสถานการณ์การจัดการศึกษาในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางการเรียนการสอนให้มากกว่าห้องเรียนปกติหรือห้องเรียนในยุคเดิมๆ ไม่จำกัดด้วยเวลาและสถานที่ โดยมีการนำเอานวัตกรรม หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในโรงเรียนและห้องเรียน เช่น อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IOT) การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) และข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ลดการใช้ทรัพยากร รวมทั้งตอบสนองความต้องการต่างๆ อีกมากมาย ผู้สอนจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการการสอน และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยออกแบบ แก้ปัญหาการเรียนรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความร่วมมือ แรงจูงใจ ตรงตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้เรียนและเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเนื้อหาความรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่มีอยู่ Smart Classroom อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามบริบทของโรงเรียน และผู้เรียนด้วย

     สำหรับบริบทของไทย นักการศึกษา (อนุศร หงษ์ขุนทด, 2557) ได้อธิบายไว้ว่า Smart Classroom มีความหมายโดยภาพรวมคือ ห้องเรียนที่ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักๆ 3 สิ่งด้วยกัน คือ ผู้สอน (Teacher) ผู้เรียน (Learner) และสื่อ (Media) เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) โน้ตบุค (Notebook) แท็ปเล็ต (Tablet) สมาร์ทโฟน (Smart Phone) สมาร์ทบอร์ด (Smart Board) เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์ (Projector) อินเทอร์เน็ต (Internet) ระบบเครือข่ายไร้สาย (wifi)  โดยมีการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) ให้เหมาะสม ทั้งสถานที่และการเข้าร่วมกิจกรรมในการเรียนต่างๆ ในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group) การบรรยาย (Lecture) โครงงาน (Project Work) นำเสนอหน้าชั้นเรียน (Presentation) เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Skill) และทักษะการเรียนรู้จากการสืบค้น (Research Skill) ได้ด้วยตนเอง เพื่อตอบสนองความต้องการเรียนรู้เป็นรายบุคคลของผู้เรียน และการมีส่วนร่วมในการเรียน (Collaborative Learning) ของผู้เรียน และผู้สอนได้อย่างเต็มศักยภาพ

อ่านต่อตอนที่ 2 …

บทความโดย นายนิรมิษเพียร ประเสริฐ

 

อ้างอิง

  • สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2557).  รายงานผลการเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ขอบแดนใหม่แห่งการเรียนรู้ : การศึกษาระบบ 4.0 โดยศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2559 จากhttp://www.stou.ac.th/Schools/sst/main/KM/KM%20Post/57/edu4.0.pdf
  • สุรศักดิ์ ปาเฮ.  (2557). Smart Classroom: ห้องเรียนอัจฉริยะ. ค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2557,
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์  (2557).  จดหมายข่าวประจำเดือนพฤษภาคม 2557. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2557, จาก  http://newsletter.rmutr.ac.th/wp-content/uploads/2014/06/rmutr_5-57.pdf
  • อนุศร หงษ์ขุนทด.  (2557). ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom). ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2557, จากhttp://pitcforteach.blogspot.com/2014_05_01_archive.html
  • Faouzi Bouslama and  Faisal Kalota. (2014).  Creating Smart Classrooms to Benefit from Innovative Technologies and Learning Space Design.  2013 International Conference on Current Trends in Information Technology (CTIT),  27 February 2014, pp102-106. DOI: 10.1109/CTIT.2013.6749486
  • Mahesh G.Jayahari K. R.Kamal Bijlani. (2016). A Smart Phone Integrated Smart Classroom. 10th International Conference on Next Generation Mobile Applications, Security and Technologies (NGMAST), 29 December 2016, pp88-93. DOI 10.1109/NGMAST.2016.31
  • Song Shuqiang,Zhong Xiaoliu,Li Haixia,Du Jing, Nie Fenghua. (2014).  Smart Classroom: from Conceptualization to Construction. 2014 International Conference on Intelligent Environments, 30 June-4 July 2014, pp330-332. DOI 10.1109/IE.2014.56

การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา ตอนที่ 5

5. ผลที่เกิดจากการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา

การจัดการเรียนการสอนกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยฝึกผู้เรียนให้เกิดทักษะการคิดสร้างสรรค์และทักษะการปัญหา ซึ่งทั้งสองทักษะนี้เป็นสิ่งจาเป็นในการดาเนินชีวิตในยุคศตวรรษที่ 21 การจัดการศึกษา ในศตวรรษนี้จึงควรเป็นการจัดการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้คิดเพื่อสร้างความรู้ สืบค้นความรู้จากแหล่งต่างๆ มีการวิเคราะห์และตัดสินใจในเรื่องต่างๆ อย่างถูกต้อง ตลอดจนการที่ให้ผู้เรียนได้ ลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ต่างๆ อย่างเป็นกระบวนการ ซึ่งการฝึกฝนให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหานี้เองจะเป็นภูมิคุ้มกันให้กับผู้เรียนในการเชื่อมโยงสิ่งที่ได้ฝึกฝนในห้องเรียนไปสู่การนาไปใช้ในการดาเนินชีวิตจริง การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมจึงเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาการเรียนรู้ของเยาวชนผ่านการคิดอย่างเป็นขั้นตอนซึ่งเป็นการต่อยอดความรู้ที่มีอยู่เดิมให้ขยายไปจนเกิดมุมมองใหม่ๆ ในการแก้ปัญหานั้นๆ ได้อย่างครอบคลุมและถูกต้องจนนาไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการที่มีความสามารถนาไปแข่งขันในเชิงธุรกิจ และเป็นการเพิ่มความสามารถทางปัญญาของเยาวชนไทย ที่เป็นกาลังในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้ทักษะการคิดสร้างสรรค์และทักษะการปัญหานี้ยังสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ที่บางส่วนได้กล่าวถึงการให้ความสาคัญการพัฒนานวัตกรรมและการใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกมิติเพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศ โดยจะมุ่งเน้นการนาความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม ทาให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจทั้งในเรื่องกระบวนการผลิตและรูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ด้วยการใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกภาคส่วนในระดับพื้นที่ ท้องถิ่น และชุมชนอีกด้วย

 

6. การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหาในชั้นเรียน

การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา โดยผ่านการใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมนั้นสามารถใช้เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนได้หลากหลายวิธี (Johnson, Peters-Burton, & Moore, 2016) ตัวอย่างเช่น

  •  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน
  •  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
  •  การจัดการเรียนรู้ด้วยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม Hands-on

 

ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพของเด็กไทยในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของความก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ เด็กไทยควรจะต้องมีการพัฒนาภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ด้วยการที่ฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหากับผู้เรียนตั้งแต่วัยเด็กเพื่อที่จะได้พร้อมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพสามารถใช้ทักษะเหล่านี้ในการแก้ปัญหาที่ประสบความสาเร็จในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นแนวทางหนึ่งของการพัฒนาทักษะบางทักษะแหงศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการแกปญหา ทักษะการคิด รวมทั้งการสร้างความคิดสร้างสรรค์ อีกด้วย

 

บทความโดย นางสาวสุธิดา การีมี

 

อ้างอิง

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. ความคิดสร้างสรรค์.กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.

วรภัทธ์ ภู่เจริญ. คิดอย่างเป็นระบบและเทคนิคการแก้ปัญหา. กรุงเทพมหานคร : หจก.สามลดา. 2550.

ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2557). สะเต็มศึกษา. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Ed.).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ความรู้เบื้องต้นสะเต็ม.กรุงเทพมหานคร:สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2557.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.
2560-2564). 2560. [ออนไลน์]แหล่งที่มา :http://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420 [15 กันยายน 2560]

สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครราชสีมา. หนังสือเรียนรายวิชาเลือกสาระทักษะการเรียนรู้ วิชา แก้ปัญหาด้วยกระบวนการคิดเป็น (ทร 23021) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. 2559. [ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://202.143.165.163/ebook_think/ [7 มกราคม 2559]

สุรเชษฐ์ ไชยอุปละ.ความคิดสร้างสรรค์กับกระบวนการเทคโนโลยี . [ออนไลน์] 2559. แหล่งที่มา: http://designtechnology.ipst.ac.th/images/PDF/article48/Creative.pdf [7 มกราคม 2559]

สุรเชษฐ์ ไชยอุปละ. ความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบและเทคโนโลยี. [ออนไลน์]. 2559. แหล่งที่มา: http://designtechnology.ipst.ac.th/images/PDF/publishpaper/CreativewithdT.pdf  [7 มกราคม 2559]

Howard Middleton. Creative Thinking, Values and Design and Technology Education. International Journal of
Technology and Design Education Volume 15 (2005) :61–71.

Johnson, C. C., Peters-Burton, E. E., & Moore, T. J. (2016). STEM road map : a framework for integrated STEM education (pp. 362).
Retrieved from http://gg.gg/691n1

Yi Lin Wong and Kin Wai Michael SiuIs. Is there creativity in design? From a perspective of school design and technology in Hong Kong. Asia Pacific Educ. Rev. Volume 13 (2012) : 465–474