Skip to main content

Tag: robot

ประกาศผู้ที่ได้รับคัดเลือก“ค่ายหุ่นยนต์ครู เอ็มเทค-สสวท.(MTEC-IPST Robotics Teacher Camp)”

ตามที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ(MTEC) รับสมัครครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาเข้ารับการอบรม  “ค่ายหุ่นยนต์ครู เอ็มเทค-สสวท.(MTEC-IPST Robotics Teacher Camp)”  โดยจะจัด ระหว่างวันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2560 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี โดย สสวท. เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการอบรม ได้แก่ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าวิทยากร ค่าเอกสารประกอบการอบรม ตลอดจนค่าอุปกรณ์ในการสร้างหุ่นและดำเนินกิจกรรม   แต่จะไม่รวมค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นๆ(ผู้ได้รับการคัดเลือกจะต้องจ่ายเอง)

ให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกดำเนินการดังนี้
  1. ศึกษากำหนดการและรายละเอียดโครงการดังเอกสารแนบ (MTEC-IPST-RobotCamp)
  2. ส่งแบบตอบรับการอบรมภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560  โดย สสวท. ได้ส่งแบบฟอร์มการตอบรับไปยังอีเมลของท่านแล้ว หากไม่ได้รับอีเมลโปรดแจ้งมาที่ pkaew@ipst.ac.th   หากไม่ส่งแบบตอบรับภายในวันที่กำหนดจะถือว่าท่านสละสิทธิ์ในการอบรม
  3. โปรดนำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ windows 7 หรือสูงกว่าและมีพอร์ต USB ไม่ต่ำกว่า 2 พอร์ต เพื่อใช้ในการอบรม
  4. โปรดเตรียมผ้าเช็ดตัว แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ แชมพูมาด้วย เพื่อความสะดวกในการเข้าพัก
  5. เช็คอินเข้าที่พัก ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี ได้ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป โดยติดต่อขอกุญแจห้องที่โต๊ะประชาสัมพันธ์
  6. ไม่อนุญาตให้มีผู้ติดตามเข้าร่วมกิจกรรมหรือพักร่วมกับผู้รับการอบรม ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร
  7. ผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้าร่วมกิจกรรมครบทั้ง 5 วัน

 

รายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือก
ค่ายหุ่นยนต์ครู เอ็มเทค-สสวท.(MTEC-IPST Robotics Teacher Camp)
ระหว่างวันที่ 13-17 พฤษจิกายน 2560
ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี

13.นายเดชาธร  พองามเมืองโพธิ์ชัยพิทยาคมบุรีรัมย์

<บุรีรัมย์>

45.นายกฤษฎา ทองกำเหนิดศรียาภัยชุมพร46.นายจักรพงษ์ ทองสว่างบ้านดินทรายอ่อนหนองบัวลำภู47.นายนิรุช เสาประโคน

โคกยางวิทยา

สุรินทร์48.นางสาวกาญติมา นกแก้วพุนพินพิทยาคมสุราษฎร์ธานี49.นายโยธิน ธีระนันท์น้ำพองศึกษาขอนแก่น50.นายธัญพิสิษฐ์ อ่อนศรีจักราชวิทยานครราชสีมา

ที่ คำนำหน้า ชื่อ-นามสกุล โรงเรียน จังหวัด
1. นาง กัลยา เป็กเครือ ดอกคำใต้วิทยาคม พะเยา
2. นาย จตุรงค์ ลิ้มไพบูลย์ บ้านห้วยกุ่ม ชัยภูมิ
3. นาย จักรพันธ์ จันทร์หนูฤทธิ์ ห้วยนางราษฎร์บำรุง ตรัง
4. นาย ชนก  แสนติยศ บ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์ เชียงราย
5. นาย ชาลี  ครองศักดิ์ศิริ โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร
6. นาย ชาลี วงษ์รักษ์ อุทัยวิทยาคม อุทัยธานี
7. นาย โชติก ทรัพย์ดี เบญจมราชรังสฤษฎิ์ ฉะเชิงเทรา
8. นาย เฉลิมพล  มีดวง อุโมงค์วิทยาคม ลำพูน
9. นาย ณรงค์ศักดิ์  สีหะวงษ์ กาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ กาฬสินธุ์
10. นาย เดชาธร พองาม เมืองโพธิ์ชัยพิทยาคม บุรีรัมย์
11. นาย ตรัยมิตร  รูปใส อุตรดิตถ์ดรุณี อุตรดิตถ์
12. ว่าที่ ร.ต. ธิติฏฐ์วัฒน์  เอมสถิตย์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี ลพบุรี
13. นาย นฤเบศ  เชื้อบ้านเกาะ โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล กระบี่
14. ว่าที่ ร.ต.หญิง นฤมล  พิทยาธรรมทิตย์ หาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา สงขลา
15. นาย ศรัณย์ภัทร กาญจนาคม พัฒนานิคม ลพบุรี
16. นาย บรรฑูรณ์  สิงห์ดี โรงเรียนลานสักวิทยา อุทัยธานี
17. นาย ปริญญา  นฤประชา มงฟอร์ตวิทยาลัย เชียงใหม่
18. นาง พรทิพย์  วัฒนาดิลกกุล ราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมุทรปราการ
19. นางสาว พรพรรณ ธาราแดน อัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพมหานคร
20. นาย พิสัน โพนทัน เมืองกลางประชานุกูล ยโสธร
21. นาย ไพบูลย์ ปัทมวิภาต สามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
22. นาย มนตรี นามแฮด เทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต นครสวรรค์
23. นาย มานะ   อินทรสว่าง ศึกษานารี กรุงเทพมหานคร
24. นาย เมธี มีแก้ว หัวหินวิทยาลัย ประจวบคีรีขันธ์
25. นาย เรวัตร งะบุรงค์ หนองเสือวิทยาคม ปทุมธานี
26. นาย วงค์ณภา  แก้วไกรษร โนนสะอาดชุมแสงวิทยา อุดรธานี
27. นาย วิทูลย์ ดอนพรทัน อนุกูลนารี กาฬสินธุ์
28. นางสาว วิภาพร ชิณะแขว สตรีสิริเกศ ศรีสะเกษ
29. นางสาว สกุลรัตน์ โรจนพรพิรักษ์ โรงเรียนปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร
30. นาย สาโรจน์ บุญศักดิ์ดี เบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี
31. นางสาว กนกกาญจน์ แสงทอง ชลบุรี “สุขบท” ชลบุรี
32. นาย สุเมธ ชาญวัฒนา สามัคคีวิทยาคม เชียงราย
33. นาย สุพรชัย เทียมทองอ่อน พรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี เพชรบุรี
34. นาย สุรศักดิ์  ศรีขวัญ ทีปราษฎร์พิทยา สุราษฎร์ธานี
35. นาย สุวัฒน์  สุทิน เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช
36. นาย ไสว วีระพันธ์ ปทุมรัตต์พิทยาคม ร้อยเอ็ด
37. นางสาว หทัยชนม์  นนท์เรืองฤทธิ์ มัธยมตระการพืชผล อุบลราชธานี
38. นาย อนุสิทธิ์ ปิตุรัตน์ ยุพราชวิทยาลัย เชียงใหม่
39. นาย อลงกต หาญชนะ ราชสีมาวิทยาลัย นครราชสีมา
40. นางสาว อารีรัตน์ ธานี โรงเรียนพนาศึกษา อำนาจเจริญ
41. นางสาว อุษณีย์ น้อยศรี กาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม นครปฐม
42. นาย เอกตวัน เลิศไกร เบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
43. นาย พงศธร สายใจ แม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ เชียงราย
44. นาย ประสิทธิ์ คำหล้า ทุ่งหัวช้างพิทยาคม ลำพูน
45. นาย กฤษฎา ทองกำเหนิด ศรียาภัย ชุมพร
46. นาย จักรพงษ์ ทองสว่าง บ้านดินทรายอ่อน หนองบัวลำภู
47. นาย นิรุช  เสาประโคน โคกยางวิทยา สุรินทร์
48. นางสาว กาญติมา นกแก้ว พุนพินพิทยาคม สุราษฎร์ธานี
49. นาย โยธิน  ธีระนันท์ น้ำพองศึกษา ขอนแก่น
50. นาย ธัญพิสิษฐ์ อ่อนศรี จักราชวิทยา นครราชสีมา

 update: 08 Nov 2017

สอบถามรายละเอียดการตอบรับการอบรมได้ที่
สาขาวิชาเทคโนโลยี
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)
โทร. 0 2392 4021 ต่อ 3408 (นายพนมยงค์ แก้วประชุม)
Email: pkaew@ipst.ac.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมอบรมได้ที่
ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยี งานประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนัก
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทร.  0 2564 6500 ต่อ 4679 (นายอัครพล สร้อยสังวาลย์)
E-mail: akrapols@mtec.or.th

ขอเชิญครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมค่ายหุ่นยนต์

ด้วยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ(MTEC) จะจัดกิจกรรม “ค่ายหุ่นยนต์ครู เอ็มเทค-สสวท.(MTEC-IPST Robotics Teacher Camp)” ระหว่างวันที่ 13-17 พฤษจิกายน 2560 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี จึงขอเชิญครูผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยจะรับคัดเลือกจำนวน 50 คน  สสวท.จะเป็นผู้ออกค่าสมัครให้มูลค่า 15,600 บาท/คน   แต่จะไม่รวมค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นๆ(ผู้ได้รับการคัดเลือกจะต้องจ่ายเอง) รายละเอียดโครงการดังเอกสารแนบ

เงื่อนไขการรับสมัคร

  • ผู้สมัครต้องดำเนินการขออนุญาตต้นสังกัดด้วยตนเองและต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานต้นสังกัดในการเข้ารับการอบรมทั้ง 5 วันหากได้รับการคัดเลือก
  • ผู้สมัครจะต้องนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของท่าน เพื่อนครู
    ในสถานศึกษาของตนเองและท้องถิ่น รวมทั้งร่วมงานกับ สสวท. ในการพัฒนาครู พัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้
  • สสวท. จะพิจารณาผู้ที่มีความเหมาะสมโดยการคัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นสิทธิขาดของ สสวท.
  • สงวนสิทธิมอบประกาศนียบัตร เฉพาะผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 5 วันเท่านั้น

การรับสมัคร

  • ดาวน์โหลดเอกสารโครงการ (MTEC-IPST-RobotCamp)
  • รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – วันที่ 27 ตุลาคม 2560 โดยกรอกใบสมัครออนไลน์ทางเว็บไซต์  https://goo.gl/ev94hC
  • ประกาศผลการคัดเลือก วันที่ 30 ตุลาคม 2560 ทางเว็บไซต์ http://oho.ipst.ac.th
  • ส่งแบบตอบรับการอบรม(เฉพาะผู้ที่ได้รับการคัดเลือก)ภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 25ุ60 (จะแจ้งวิธีการตอบรับให้ทราบในวันประกาศผลการคัดเลือก)

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • เป็นครูมัธยมศึกษา
  • มีความกระตือรือร้น ความสนใจ และความตั้งใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ robotics and mechatronics
  • มีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา C, Python, Java, หรือภาษาอื่นๆ
  • มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ เช่น มีความเข้าใจแผนผังอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
  • มีความรู้พื้นฐานการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่ายได้
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำเป็นต้องเข้าร่วมกิจกรรมครบทั้ง 5 วัน

*สิ่งที่ผู้รับการอบรมต้องเตรียมมา:  Notebook ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 7 เป็นอย่างน้อย และมี USB port อย่างน้อย  2 ports

สอบถามรายละเอียดการสมัครได้ที่
สาขาวิชาเทคโนโลยี
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)
โทร. 0 2392 4021 ต่อ 3408 (นายพนมยงค์ แก้วประชุม)
Email: pkaew@ipst.ac.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมอบรมได้ที่
ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยี งานประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนัก
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทร.  0 2564 6500 ต่อ 4679 (นายอัครพล สร้อยสังวาลย์)
E-mail: akrapols@mtec.or.th

หุ่นยนต์บังคับมือจากของเล่นกลายเป็นสื่อเรียนรู้

เขียนโดย นายพรพจน์ พุฒวันเพ็ญ ผู้อำนวยการสาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.   

  ในวัยเด็กหลายๆ คนคงมีความสุขสนุกสนานกับการได้เล่นของนานาชนิด หลายชิ้นก็เล่นจนติด เล่นได้ทั้งวัน ของเล่นยอดฮิตตลอดกาลของเด็กชายชิ้นหนึ่งคือ รถบังคับแบบใช้สาย  กดเดินหน้า กดถอยหลัง กดให้วิ่งไปทางซ้าย ไปทางขวา แค่เห็นรถวิ่งไปมาได้ก็มีความสุข สนุกสนานแล้ว ตอนนั้นไม่ได้คิดว่าเล่นแล้วจะได้อะไร แค่สนุกก็พอแล้ว

4.1

 

รถบังคับทำงานอย่างไร     

               ส่วนประกอบของรถบังคับแบบใช้สายก็ไม่มีอะไรมาก มีแค่ มอเตอร์ ฟันเฟืองทดรอบ แบตเตอรี่ ล้อ ปุ่มกดสำหรับบังคับ เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา  ทั้งหมดประกอบเข้าด้วยกัน โดยอาศัยหลักการทางไฟฟ้าอย่างง่าย ไม่ซับซ้อน

4-2

    จากรูป เมื่อกดสวิตช์ตัวบน มอเตอร์ตัวบนจะหมุน เมื่อกดสวิตช์ตัวล่างมอเตอร์ตัวล่างจะหมุน ถ้ากดสวิตช์สองตัวพร้อมกันมอเตอร์ก็จะหมุนพร้อมกัน แต่หมุนในทิศทางที่ตรงข้ามกัน ด้วยหลักการดังกล่าว เราก็สามารถสร้างรถบังคับแบบใช้สายอย่างง่ายได้แล้ว

 

เปลี่ยนรถบังคับให้เป็นหุ่นยนต์

    หุ่นยนต์ หรือ โรบอท (robot) คือเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ การควบคุมระบบต่างๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยมนุษย์เป็นผู้ควบคุมและทำงานแบบอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นสำหรับงานที่มีความยากลำบากแทนมนุษย์ จากคำนิยามเราสามารถกดสวิตช์ให้รถเดินหน้า เลี้ยวซ้าย ขวา เพื่อให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เราต้องการได้เช่นกัน ดังนั้นจากความหมายข้างต้น ถ้ากำหนดงานที่ชัดเจนให้กับรถบังคับ เราก็สามารถเรียกได้ว่ารถบังคับก็ทำหน้าที่เป็นหุ่นยนต์ ประเภทหนึ่งได้เหมือนกัน

 

วงจรหุ่นยนต์บังคับมืออย่างง่าย

     จากวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายของรถบังคับแบบใช้สาย เราสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมวงจรไฟฟ้าอีกเล็กน้อย ก็จะได้ วงจรหุ่นยนต์บังคับมือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้น บังคับให้เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา  รวมถึงถอยหลังและเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาได้คล่องตัว และรองรับการควบคุมได้ดีขึ้น
4-3

ข้อควรระวัง เนื่องจากวงจรออกแบบให้ประกอบได้ง่ายจึงไม่มีระบบป้องกันการลัดวงจร ระหว่างควบคุมควรระวังอย่ากดปุ่มพร้อมกันมากกว่า 2 ปุ่ม จะทำให้เกิดการลัดวงจรขึ้นได้  จะทำให้แบตเตอรี่ร้อนและอายุการใช้งานสั้นลง

 

ส่วนควบคุม จะประกอบไปด้วยแบตเตอรี่ และสวิตช์ควบคุม

ส่วนขับเคลี่อน จะมีเพียงมอเตอร์ที่ทดรอบให้มีความเร็วต่ำเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม ทั้งสองส่วนจะเชื่อมโยงถึงกันด้วยสายไฟขนาดเล็กจำนวน 3 เส้น และควรมีความยาวอย่างน้อย 2 เมตร

 

หุ่นยนต์ต้องมีหน้าที่

          รถบังคับจะเป็นหุ่นยนต์ได้จะต้องมีการกำหนดภาระกิจหน้าที่ให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นเพื่อให้เป็นหุ่นยนต์บังคับมือที่สมบูรณ์ จำเป็นต้องมีการพัฒนาต่อเพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นถ้าต้องการหุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการเคลื่อนย้ายสิ่งของจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยที่สิ่งของที่หุ่นยนต์จะต้องเคลื่อนย้ายมีรูปทรงกระบอก

4-4

      ถึงตอนนี้ผู้พัฒนาหุ่นยนต์จะต้องวิเคราะห์งานที่ได้รับมอบหมายและออกแบบโครงสร้างของหุ่นยนต์ให้เหมาะสมกับงานที่ได้รับ ซึ่งอาจจะมี มือคีบจับยึดสิ่งของ หรือตะขอเกี่ยว  แล้วแต่การออกแบบ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา

 

จะให้สนุกต้องแข่งขัน

         การแข่งขันเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานในการเรียน ตัวอย่างกติกาการแข่งขันเช่น กำหนดให้หุ่นยนต์เคลื่อนย้ายสิ่งของให้ได้มากที่สุดในเวลาที่กำหนด หรือให้เคลื่อนย้ายสิ่งของจากพื้นที่ของทีมตรงข้ามมาไว้ในพื้นที่ของตนให้ได้มากที่สุดในเวลาที่กำหนด  เมื่อมีการแข่ง ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันจะทราบกติกา เห็นสนาม เห็นสิ่งของที่เป็นภาระกิจ ทีมก็จะต้องวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ ให้เหมาะกับกติกาและวางแผนการแข่งเพื่อนำไปสู่ชัยชนะต่อไป

4-54-6

  

          จากภาพเมื่อทุกคนทราบกติกาการแข่งขัน แต่ละทีมเริ่มวิเคราะห์ปัญหา สิ่งที่หุ่นยนต์ที่ต้องทำ  แบ่งหน้าที่ของผู้ร่วมทีม  วางแผนการเล่น รวมไปถึงการเลือกวัสดุที่เหมาะสมมาใช้ในการพัฒนาหุ่นยนต์ ชึ่งอาจเป็นวัสดุเหลือใช้ทั่วไป และสุดท้ายต้องสามารถนำเสนอแนวคิดในการออกแบบหุ่นยนต์ได้

 

เล่นไปแล้วได้อะไร

      ถึงตอนนี้อาจจะมีคนสังสัยว่าเล่นแบบนี้แล้วจะได้อะไร ที่จริงแล้วตลอดกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบ ต้องผ่านกิจกรรมย่อยๆ หลายกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการประกอบหุ่นยนต์ขึ้นจากวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายๆ ที่เรียนกันอยู่ในชั้นเรียน กิจกรรมนี้จะทำให้รู้และเข้าใจถึงการนำความรู้เรื่องของวงจรไฟฟ้ามาใช้ในการสร้างงานหรือเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง จากนั้นเมื่อได้รับภาระกิจก็จะต้องพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีความสามารถในการที่จะทำภาระกิจนั้นให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งต้องใช้ทั้งความคิดสร้างสรรค์ การวางแผน การทำงานเป็นทีม การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ การเลือกวัสดุที่เหมาะสมรวมไปถึงการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมโดยเลือกที่จะนำวัสดุเหลือใช้มาเป็นส่วนประกอบในการพัฒนาหุ่นยนต์  ก่อนการแข่งขันทุกทีมได้มีการทดสอบการทำงานหุ่นยนต์ของตนเพื่อหาข้อบกพร่องและทำการแก้ไขจนพร้อมทำงานได้ตามที่ได้ออกแบบไว้ ช่วยส่งเสริมให้เกิดการทำงานเป็นระบบ ที่สำคัญทุกทีมควรนำเสนอแนวคิดในการพัฒนาหุ่นยนต์ให้ทีมอื่นๆได้ทราบเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  การทำงานเป็นทีม การวางแผนที่ดี จะทำให้หุ่นยนต์และทีมสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ประสบความสำเร็จ

      สุดท้ายจะเห็นได้ว่า จากของเล่นที่เราเล่นกันอย่างสนุกสนานในวัยเด็ก ก็สามารถนำมาเป็นสื่อช่วยในการเรียนการสอน ซึ่งจะช่วยให้พัฒนาทักษะในหลายๆ ด้าน อีกทั้งยังทำให้รู้จักนำความรู้ในชั้นเรียนมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ โดยเริ่มจาก ของเล่น วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย และการนำความรู้มาใช้แก้ปัญหาให้เหมาะสมกับงาน