Skip to main content

Tag: เขียนโปรแกรม

ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนไทยในการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ณ ประเทศญี่ปุ่น(IOI2018)

การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 30 ประจำปี 2561 ระหว่างวันที่ 1-8 กันยายน 2561 ณ เมืองทสึกุบะ ประเทศญี่ปุ่นนั้น เบื้องต้นการแข่งขันเป็นไปด้วยความเรียบร้อย คณะอาจารย์และนักเรียนปลอดภัยดี การแข่งขันฯ ครั้งนี้มีผู้เข้าแข่งขัน 335 คน จาก 87 ประเทศ ได้เหรียญทอง 29 เหรียญ เงิน 55 เหรียญ และทองแดง 83 เหรียญ โดยประเทศไทยได้ 1 เหรียญเงิน 3 เหรียญทองแดง ดังนี้ (เรียงลำดับชื่อตามภาพ จากซ้าย)
1.นายจิรายุ บูรพาชีพ ร.ร.กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ ได้เหรียญทองแดง
2.นายสัณห์ชยพล ลิ่วเกษมศานต์ ร.ร.กำเนิดวิทย์ จ.ระยอง ได้เหรียญเงิน
3.นายธนดล ชมภูจันทร์ ร.ร.บุญวาทย์วิทยาลัย จ.ลำปาง ได้เหรียญทองแแดง
4.นายมิลินท์ โคตรหนองบัว ร.ร.กำเนิดวิทย์ จ.ระยอง ได้เหรียญทองแดง

โดยมี

1.หัวหน้าทีม นายนัทที นิภานันท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.รองหัวหน้าทีม นายพิชญะ สิทธีอมร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ผู้ช่วยหัวหน้าทีม นายธีระ ศิริธีรากุล คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
4.ผู้จัดการทีม นายนิรมิษ เพียรประเสริฐ สาขาเทคโนโลยี สสวท.
5. ผู้สังเกตการณ์นายณัฐนนท์ ลีลาตระกูล คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา

ทั้งนี้ ทีมคณะอาจารย์และนักเรียนทุกคนขอขอบพระคุณผู้บริหาร และบุคลากร สสวท.ทุกท่านที่ให้การสนับสนุน พร้อมกำลังใจ ในการนี้ทีมฯ ทั้งหมดจะเดินทางกลับประเทศไทยในวันเสาร์ที่ 8 กันยายน 2561 ด้วยสายการบินไทย เที่ยวบิน TG643 ถึงสนามบินสุวรรณภูมิเวลาประมาณ 16.30 น.

สำหรับการแข่งขันฯ ประจำปี 2562 จะจัดขึ้น ณ ประเทศอาเซอร์ไบจาน

ประกาศผู้ที่ได้รับคัดเลือก“ค่ายหุ่นยนต์ครู เอ็มเทค-สสวท.(MTEC-IPST Robotics Teacher Camp)”

ตามที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ(MTEC) รับสมัครครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาเข้ารับการอบรม  “ค่ายหุ่นยนต์ครู เอ็มเทค-สสวท.(MTEC-IPST Robotics Teacher Camp)”  โดยจะจัด ระหว่างวันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2560 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี โดย สสวท. เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการอบรม ได้แก่ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าวิทยากร ค่าเอกสารประกอบการอบรม ตลอดจนค่าอุปกรณ์ในการสร้างหุ่นและดำเนินกิจกรรม   แต่จะไม่รวมค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นๆ(ผู้ได้รับการคัดเลือกจะต้องจ่ายเอง)

ให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกดำเนินการดังนี้
  1. ศึกษากำหนดการและรายละเอียดโครงการดังเอกสารแนบ (MTEC-IPST-RobotCamp)
  2. ส่งแบบตอบรับการอบรมภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560  โดย สสวท. ได้ส่งแบบฟอร์มการตอบรับไปยังอีเมลของท่านแล้ว หากไม่ได้รับอีเมลโปรดแจ้งมาที่ pkaew@ipst.ac.th   หากไม่ส่งแบบตอบรับภายในวันที่กำหนดจะถือว่าท่านสละสิทธิ์ในการอบรม
  3. โปรดนำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ windows 7 หรือสูงกว่าและมีพอร์ต USB ไม่ต่ำกว่า 2 พอร์ต เพื่อใช้ในการอบรม
  4. โปรดเตรียมผ้าเช็ดตัว แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ แชมพูมาด้วย เพื่อความสะดวกในการเข้าพัก
  5. เช็คอินเข้าที่พัก ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี ได้ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป โดยติดต่อขอกุญแจห้องที่โต๊ะประชาสัมพันธ์
  6. ไม่อนุญาตให้มีผู้ติดตามเข้าร่วมกิจกรรมหรือพักร่วมกับผู้รับการอบรม ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร
  7. ผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้าร่วมกิจกรรมครบทั้ง 5 วัน

 

รายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือก
ค่ายหุ่นยนต์ครู เอ็มเทค-สสวท.(MTEC-IPST Robotics Teacher Camp)
ระหว่างวันที่ 13-17 พฤษจิกายน 2560
ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี

13.นายเดชาธร  พองามเมืองโพธิ์ชัยพิทยาคมบุรีรัมย์

<บุรีรัมย์>

45.นายกฤษฎา ทองกำเหนิดศรียาภัยชุมพร46.นายจักรพงษ์ ทองสว่างบ้านดินทรายอ่อนหนองบัวลำภู47.นายนิรุช เสาประโคน

โคกยางวิทยา

สุรินทร์48.นางสาวกาญติมา นกแก้วพุนพินพิทยาคมสุราษฎร์ธานี49.นายโยธิน ธีระนันท์น้ำพองศึกษาขอนแก่น50.นายธัญพิสิษฐ์ อ่อนศรีจักราชวิทยานครราชสีมา

ที่ คำนำหน้า ชื่อ-นามสกุล โรงเรียน จังหวัด
1. นาง กัลยา เป็กเครือ ดอกคำใต้วิทยาคม พะเยา
2. นาย จตุรงค์ ลิ้มไพบูลย์ บ้านห้วยกุ่ม ชัยภูมิ
3. นาย จักรพันธ์ จันทร์หนูฤทธิ์ ห้วยนางราษฎร์บำรุง ตรัง
4. นาย ชนก  แสนติยศ บ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์ เชียงราย
5. นาย ชาลี  ครองศักดิ์ศิริ โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร
6. นาย ชาลี วงษ์รักษ์ อุทัยวิทยาคม อุทัยธานี
7. นาย โชติก ทรัพย์ดี เบญจมราชรังสฤษฎิ์ ฉะเชิงเทรา
8. นาย เฉลิมพล  มีดวง อุโมงค์วิทยาคม ลำพูน
9. นาย ณรงค์ศักดิ์  สีหะวงษ์ กาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ กาฬสินธุ์
10. นาย เดชาธร พองาม เมืองโพธิ์ชัยพิทยาคม บุรีรัมย์
11. นาย ตรัยมิตร  รูปใส อุตรดิตถ์ดรุณี อุตรดิตถ์
12. ว่าที่ ร.ต. ธิติฏฐ์วัฒน์  เอมสถิตย์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี ลพบุรี
13. นาย นฤเบศ  เชื้อบ้านเกาะ โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล กระบี่
14. ว่าที่ ร.ต.หญิง นฤมล  พิทยาธรรมทิตย์ หาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา สงขลา
15. นาย ศรัณย์ภัทร กาญจนาคม พัฒนานิคม ลพบุรี
16. นาย บรรฑูรณ์  สิงห์ดี โรงเรียนลานสักวิทยา อุทัยธานี
17. นาย ปริญญา  นฤประชา มงฟอร์ตวิทยาลัย เชียงใหม่
18. นาง พรทิพย์  วัฒนาดิลกกุล ราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมุทรปราการ
19. นางสาว พรพรรณ ธาราแดน อัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพมหานคร
20. นาย พิสัน โพนทัน เมืองกลางประชานุกูล ยโสธร
21. นาย ไพบูลย์ ปัทมวิภาต สามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
22. นาย มนตรี นามแฮด เทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต นครสวรรค์
23. นาย มานะ   อินทรสว่าง ศึกษานารี กรุงเทพมหานคร
24. นาย เมธี มีแก้ว หัวหินวิทยาลัย ประจวบคีรีขันธ์
25. นาย เรวัตร งะบุรงค์ หนองเสือวิทยาคม ปทุมธานี
26. นาย วงค์ณภา  แก้วไกรษร โนนสะอาดชุมแสงวิทยา อุดรธานี
27. นาย วิทูลย์ ดอนพรทัน อนุกูลนารี กาฬสินธุ์
28. นางสาว วิภาพร ชิณะแขว สตรีสิริเกศ ศรีสะเกษ
29. นางสาว สกุลรัตน์ โรจนพรพิรักษ์ โรงเรียนปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร
30. นาย สาโรจน์ บุญศักดิ์ดี เบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี
31. นางสาว กนกกาญจน์ แสงทอง ชลบุรี “สุขบท” ชลบุรี
32. นาย สุเมธ ชาญวัฒนา สามัคคีวิทยาคม เชียงราย
33. นาย สุพรชัย เทียมทองอ่อน พรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี เพชรบุรี
34. นาย สุรศักดิ์  ศรีขวัญ ทีปราษฎร์พิทยา สุราษฎร์ธานี
35. นาย สุวัฒน์  สุทิน เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช
36. นาย ไสว วีระพันธ์ ปทุมรัตต์พิทยาคม ร้อยเอ็ด
37. นางสาว หทัยชนม์  นนท์เรืองฤทธิ์ มัธยมตระการพืชผล อุบลราชธานี
38. นาย อนุสิทธิ์ ปิตุรัตน์ ยุพราชวิทยาลัย เชียงใหม่
39. นาย อลงกต หาญชนะ ราชสีมาวิทยาลัย นครราชสีมา
40. นางสาว อารีรัตน์ ธานี โรงเรียนพนาศึกษา อำนาจเจริญ
41. นางสาว อุษณีย์ น้อยศรี กาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม นครปฐม
42. นาย เอกตวัน เลิศไกร เบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
43. นาย พงศธร สายใจ แม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ เชียงราย
44. นาย ประสิทธิ์ คำหล้า ทุ่งหัวช้างพิทยาคม ลำพูน
45. นาย กฤษฎา ทองกำเหนิด ศรียาภัย ชุมพร
46. นาย จักรพงษ์ ทองสว่าง บ้านดินทรายอ่อน หนองบัวลำภู
47. นาย นิรุช  เสาประโคน โคกยางวิทยา สุรินทร์
48. นางสาว กาญติมา นกแก้ว พุนพินพิทยาคม สุราษฎร์ธานี
49. นาย โยธิน  ธีระนันท์ น้ำพองศึกษา ขอนแก่น
50. นาย ธัญพิสิษฐ์ อ่อนศรี จักราชวิทยา นครราชสีมา

 update: 08 Nov 2017

สอบถามรายละเอียดการตอบรับการอบรมได้ที่
สาขาวิชาเทคโนโลยี
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)
โทร. 0 2392 4021 ต่อ 3408 (นายพนมยงค์ แก้วประชุม)
Email: pkaew@ipst.ac.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมอบรมได้ที่
ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยี งานประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนัก
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทร.  0 2564 6500 ต่อ 4679 (นายอัครพล สร้อยสังวาลย์)
E-mail: akrapols@mtec.or.th

ขอเชิญครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมค่ายหุ่นยนต์

ด้วยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ(MTEC) จะจัดกิจกรรม “ค่ายหุ่นยนต์ครู เอ็มเทค-สสวท.(MTEC-IPST Robotics Teacher Camp)” ระหว่างวันที่ 13-17 พฤษจิกายน 2560 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี จึงขอเชิญครูผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยจะรับคัดเลือกจำนวน 50 คน  สสวท.จะเป็นผู้ออกค่าสมัครให้มูลค่า 15,600 บาท/คน   แต่จะไม่รวมค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นๆ(ผู้ได้รับการคัดเลือกจะต้องจ่ายเอง) รายละเอียดโครงการดังเอกสารแนบ

เงื่อนไขการรับสมัคร

  • ผู้สมัครต้องดำเนินการขออนุญาตต้นสังกัดด้วยตนเองและต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานต้นสังกัดในการเข้ารับการอบรมทั้ง 5 วันหากได้รับการคัดเลือก
  • ผู้สมัครจะต้องนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของท่าน เพื่อนครู
    ในสถานศึกษาของตนเองและท้องถิ่น รวมทั้งร่วมงานกับ สสวท. ในการพัฒนาครู พัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้
  • สสวท. จะพิจารณาผู้ที่มีความเหมาะสมโดยการคัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นสิทธิขาดของ สสวท.
  • สงวนสิทธิมอบประกาศนียบัตร เฉพาะผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 5 วันเท่านั้น

การรับสมัคร

  • ดาวน์โหลดเอกสารโครงการ (MTEC-IPST-RobotCamp)
  • รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – วันที่ 27 ตุลาคม 2560 โดยกรอกใบสมัครออนไลน์ทางเว็บไซต์  https://goo.gl/ev94hC
  • ประกาศผลการคัดเลือก วันที่ 30 ตุลาคม 2560 ทางเว็บไซต์ http://oho.ipst.ac.th
  • ส่งแบบตอบรับการอบรม(เฉพาะผู้ที่ได้รับการคัดเลือก)ภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 25ุ60 (จะแจ้งวิธีการตอบรับให้ทราบในวันประกาศผลการคัดเลือก)

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • เป็นครูมัธยมศึกษา
  • มีความกระตือรือร้น ความสนใจ และความตั้งใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ robotics and mechatronics
  • มีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา C, Python, Java, หรือภาษาอื่นๆ
  • มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ เช่น มีความเข้าใจแผนผังอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
  • มีความรู้พื้นฐานการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่ายได้
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำเป็นต้องเข้าร่วมกิจกรรมครบทั้ง 5 วัน

*สิ่งที่ผู้รับการอบรมต้องเตรียมมา:  Notebook ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 7 เป็นอย่างน้อย และมี USB port อย่างน้อย  2 ports

สอบถามรายละเอียดการสมัครได้ที่
สาขาวิชาเทคโนโลยี
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)
โทร. 0 2392 4021 ต่อ 3408 (นายพนมยงค์ แก้วประชุม)
Email: pkaew@ipst.ac.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมอบรมได้ที่
ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยี งานประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนัก
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทร.  0 2564 6500 ต่อ 4679 (นายอัครพล สร้อยสังวาลย์)
E-mail: akrapols@mtec.or.th

ขอแสดงความยินดีกับตัวแทนประเทศไทยในแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ประจำปี 2560

ขอแสดงความยินดีกับตัวแทนประเทศไทยในแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ประจำปี 2560 (IOI 2017) ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2560 ณ กรุงเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน มีดังนี้
1. นายอรัญชย์ วงศ์พร้อมมูล โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้รับรางวัลเหรียญเงิน
2. นายภาสพล เสาวคนธ์ โรงเรียนเตรียมอุดม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง
3. นายภาวิน พร้องเผ่าพันธุ์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง
4. นายรุจธร ฉายรัตนอภิรมย์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง

อรัญชย์ วงศ์พร้อมมูล ภาสพล เสาวคนธ์ ภาวิน พร้องเผ่าพันธุ์ รุจธร ฉายรัตนอภิรมย์

จำนวนผู้เข้าแข่งขัน 308 คน จาก 84 ประเทศ

โดยมีคณะอาจารย์ผู้ควบคุมทีม ได้แก่

  • ผศ.ดร.จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ สุรฤกษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาจารย์อรรถสิทธิ์ เมตตานันท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดร.นิวรรณ วัฒนกิจรุ่งโรจน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อาจารย์วชิรพรรณ ทองวิจิตร สสวท.

(จากซ้ายไปขวา) ดร.นิวรรณ วัฒนกิจรุ่งโรจน์  อาจารย์อรรถสิทธิ์ เมตตานันท  ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ สุรฤกษ์  ผศ.ดร.จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล  อาจารย์วชิรพรรณ ทองวิจิตร

Raptor:เครื่องมือเพิ่มพลังการเรียนรู้การโปรแกรม

      ในการจัดการเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับขั้นตอนวิธี มีเครื่องมือที่ช่วยสอนอยู่หลากหลาย ในที่นี้สามารถใช้ RAPTOR ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถสร้างกระบวนการคิดแบบลำดับขั้น ถ่ายทอดกระบวนการคิดและตรวจสอบกระบวนการคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสร้างกระบวนการคิดแบบลำดับขั้นด้วย RAPTOR

      ในการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรม ผู้สอนมักสอนการถ่ายทอดกระบวนการคิดด้วยผังงาน รหัสลำลอง หรือขั้นตอนวิธี  โดยผังงานนั้นเป็นเครื่องมือที่การถ่ายทอดกระบวนการคิดในแบบรูปภาพทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ  

       RAPTOR เป็นเครื่องมือที่ถ่ายทอดกระบวนการคิดในรูปแบบผังงานที่ลักษณะภาพเคลื่อนไหว โดยจะมีการลำดับการทำงานของผังงานทีละขั้นตอน และจะแสดงค่าของตัวแปรอย่างชัดเจนในแต่ละรอบการทำงาน สามารถตรวจสอบกระบวนการคิดและตรวจสอบข้อผิดพลาดในขณะที่เขียนผังงานได้สะดวกและรวดเร็ว

       ผังงานทั้ง 3 รูปแบบคือ ผังงานแบบลำดับ ผังงานแบบทางเลือก และผังงานแบบวนซ้ำ นั้น ผังงานแบบวนซ้ำจะทำความเข้าใจได้ยากที่สุดเนื่องจากมีการทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้งโดยมีเงื่อนไขในการควบคุมและค่าของตัวแปรในแต่ละรอบของการทำงานจะเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไข  การใช้ RAPTOR ถ่ายทอดกระบวนการคิดและแสดงค่าของตัวแปรให้นักเห็นได้ชัดเจน โดยแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหว จะช่วยให้เข้าใจการทำงานแบบวนซ้ำได้มากยิ่งขึ้น

image001รูปที่ 1 โปรแกรมบวกเลขแบบอนุกรม

จากรูปที่ 1 การวนซ้ำแต่ละรอบทำให้ค่าของตัวแปรจะเปลี่ยนแปลงโดยจะแสดงผลทางด้านขวา ทำให้เข้าใจกระบวนการวนซ้ำได้ง่ายขึ้น สามารถนำความเข้าใจดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในขั้นของการเข้ารหัสต่อไป

เปลี่ยนจากผังงานเป็นโปรแกรมภาษา

            โปรแกรม Raptor สามารถแปลงผังงานเป็นโปรแกรมภาษาได้ เช่น Ada C# C++ และ JAVA โดยไปที่เมนู generate และเลือกภาษาที่ต้องการ

image002รูปที่ 2 การแปลงผังงานเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย RAPTOR

ตัวอย่างผลการแปลงผังงานเป็นโปรแกรมภาษา C++ ดังรูป

image003รูปที่ 3 ตัวอย่างคำสั่งโปรแกรมภาษา C++

            จากรูปที่  3 จะเห็นได้ว่าโปรแกรมที่ได้จะเป็นคำสั่งที่เป็นโครงร่างยังไม่สามารถนำไปแปลและประมวลผลได้ จะต้องมีการแก้ไขให้สมบูรณ์ตามหลักไวยากรณ์ของภาษาก่อนที่จะนำไปใช้ดังรูป

image004รูปที่ 4 โปรแกรมที่ปรับแก้ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษา

            จากรูปโปรแกรมที่ผ่านการปรับแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องสมบูรณ์ เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากหากมีความเข้าใจภาษาโปรแกรมและการถ่ายทอดกระบวนการคิดแบบลำดับขั้นได้อย่างถูกต้อง

** ผู้ที่สนใจสามารถ download RAPTOR และตัวอย่าง RAPTOR [3] ได้จาก http://raptor.martincarlisle.com/

ผลป้อนกลับจากการใช้ RAPOR เปรียบเทียบกับผังงาน

            การวิเคราะห์ปัญหาและลำดับกระบวนการคิดด้วยผังงานก่อนแปลงเป็นโปรแกรมภาษาจะทำให้โปรแกรมที่ได้มีประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาด รวมไปถึงการบำรุงรักษา เปลี่ยนแปลงแก้ไขและทบทวนโปรแกรมได้ง่าย

            จากที่ผู้เขียนนำสร้างผังงานด้วย RAPTOR และวาดผังงานบนกระดาษมาใช้จัดการเรียนการสอนกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาวิชาการเขียนโปรแกรม พบว่า RAPTOR เป็นเครื่องมือถ่ายทอดและตรวจสอบกระบวนการคิดได้ดีกว่า เนื่องจาก RAPTOR แสดงการไหลของข้อมูลเป็นลักษณะภาพเคลื่อนไหว สามารถแสดงผลลัพธ์ชัดเจนกว่า

            จากตัวอย่างโปรแกรมบวกเลขแบบอนุกรมผู้เขียนได้จัดการเรียนรู้ 2 ลักษณะด้วยกัน คือสอนโดยการวาดผังงานลงกระดาษและสอนโดยใช้ RAPTOR พบว่าการสอนทั้ง 2 ลักษณะสร้างกระบวนการคิดแบบลำดับให้กับนักเรียนได้แตกต่างกัน หากนำ RAPTOR มาใช้ในการจัดการเรียนรู้จะพบว่าใช้ระยะเวลาการทำความเข้าใจน้อยกว่า  และง่ายต่อการอธิบาย เนื่องจาก RAPTOR จะแสดงผังงานเป็นภาพเคลื่อนไหว และมีส่วนของตัวแปรอยู่ทางด้านซ้ายมือของโปรแกรม ค่าของตัวแปรจะแปรผลตามเงื่อนไขของแต่ละรอบการทำงาน ซึ่งนักเรียนจะเห็นได้ชัดเจนกว่า ผังงานที่วาดลงกระดาษนั้น ผู้สอนจะต้องอธิบายเพิ่มเติม หากเป็นโปรแกรมที่มีจำนวนการวนรอบการทำงานหลายครั้งจะทำให้นักเรียนจะสับสนได้ง่าย ดังนั้นการนำ RAPTOR มาใช้ในการสอนวิชาการเขียนโปรแกรมจะเกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้เรียนสูง

ยกร่างบทความโดย นางสาวมุทิตา สำเภาเงิน  โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม
บรรณาธิการโดย คณะบรรณาธิการสาขาคอมพิวเตอร์ สสวท

อ้างอิง

  1. ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล(2558). ธรรมชาติของวัยรุ่น[ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ http://www.smartteen.net/main/_admin/download/4-30-1387795341.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558.
  2. บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ (2557). ประเภทของ Flowchart[Online]. เข้าถึงได้ที่ http://www.thaiall.com/flowchart/indexo.html. สืบค้นวันที่ 20 มกราคม 2558.
  3. Elizabeth Drake and Stewart Venit(2011). RAPTOR Flowchart [Online].Web site http://raptor.martincarlisle.com/RAPTOR_data_files_Drake.pdf. Retrieved January, 20, 2015.

การเขียนโปรแกรมกับการพัฒนาทักษะด้านการคิด

อาชีพโปรแกรมเมอร์เป็นอาชีพที่หลายๆ คนใฝ่ฝัน เพราะมีรายได้สูงและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน  สืบเนื่องจากการเจริญเติบโตทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่มีการแข่งขันสูง ส่งผลให้สถาบันการศึกษาหลายแห่งมีหลักสูตรการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรมตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา  การสอนให้นักเรียนเป็นโปรแกรมเมอร์ได้นั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ  ซึ่งต้องอาศัยทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การใช้เหตุผลและการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน รวมไปถึงการใช้ขั้นตอนวิธีหรืออัลกอริทึม (Algorithm) ในการถ่ายทอดความคิดอย่างเป็นระบบจึงจะนำไปสู่การเขียนโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ

อัลกอริทึม คืออะไร (What is Algorithm?)

ราชบัณฑิตยสถาน ได้บัญญัติคำว่าอัลกอริทึม (Algorithm) เป็นภาษาไทยว่าขั้นตอนวิธี[1] ซึ่งมีความหมายคือ เป็นลำดับของขั้นตอนการคำนวณที่ใช้แก้ปัญหา โดยการเปลี่ยนข้อมูลนำเข้าของปัญหา (input) ออกมาเป็นผลลัพธ์ (output) ขั้นตอนวิธีดังกล่าวนั้นจะสามารถนำมาเขียนเป็นโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ได้ [2]

ในการแก้ปัญหาโดยใช้คอมพิวเตอร์นั้น  การออกแบบวิธีแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและง่ายต่อการทำความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญมาก  เพราะจะทำให้สามารถเขียนโปรแกรมจากขั้นตอนวิธีที่ได้ออกแบบไว้ได้ง่าย   ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้เพื่อการออกแบบขั้นตอนวิธี  เช่น รหัสลำลอง (pseudocode)  เป็นการเขียนขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา  โดยการอธิบายเป็นข้อความทีละขั้น

image001
รูปที่  1 ตัวอย่างรหัสลำลอง

ผังงาน (Flowchart) เป็นการใช้สัญลักษณ์ในการแสดงรายละเอียดและลำดับของแต่ละขั้นตอนที่ใช้แก้ปัญหา[3]

image002รูปที่ 2 ตัวอย่างผังงาน

           รหัสลำลองหรือผังงานจึงเป็นการเขียนความคิดในการแก้ปัญหาที่เป็นขั้นตอนวิธีออกมาในรูปแบบของข้อความหรือสัญลักษณ์เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่าขั้นตอนวิธีนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่  ซึ่งปัญหาแต่ละปัญหาอาจจะมีวิธีในการแก้ปัญหาได้หลายวิธีซึ่งขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไปตัวอย่างการแสดงขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาของการหา ผลรวมของจำนวนนับตั้งแต่ 1 – N  ดังนี้

ขั้นตอนวิธีของนักเรียนคนที่ 1 ขั้นตอนวิธีของนักเรียนคนที่ 2

ภาพที่ 3 ผังงานในการแสดงขั้นตอนวิธีในการหาผลรวมของจำนวนนับตั้งแต่ 1 – N

           จะเห็นได้ว่านักเรียนทั้งสองคนแสดงลำดับขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันแต่ได้ผลลัพธ์เหมือนกัน  จากผังงานนักเรียนคนที่ 1 คิดขั้นตอนวิธีการหาผลลัพธ์จากการนำตัวเลขทั้งหมดบวกกันไปเรื่อยๆ จนถึงจำนวนที่ N  หรือตัวสุดท้าย  ทำให้มีการประมวลผลหรือคำนวณถึง N ครั้งกว่าจะได้ผลลัพธ์  สำหรับนักเรียนคนที่ 2  คำนวณโดยใช้สูตรมีการประมวลผลเพียงครั้งเดียวก็สามารถหาผลลัพธ์ได้ซึ่งมาจากการเรียนรู้และประสบการณ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ดังนั้นนอกจากสองวิธีที่กล่าวมาอาจยังมีวิธีในการแก้ปัญหานี้อีก

ดังนั้นผู้สอนจะต้องสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ขั้นตอนวิธีที่หลากหลาย  ชี้แนะแนวทางในการแก้ปัญหาให้ผู้เรียนสามารถเลือกใช้ขั้นตอนวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา  การสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหานั้นจะต้องสอนให้ผู้เรียนได้ใช้เหตุผลในการการหาคำตอบ  อาจจะใช้การลองผิดลองถูก  การแยกคำตอบที่ไม่ต้องการ   หรือใช้วิธีการอื่นๆ ที่สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับตัวปัญหาและประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหาเอง  วิธีการเหล่านี้มีขั้นตอนหลักที่คล้ายคลึงกัน  ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน[5]     ได้แก่  1) การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา  2) การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา  3) การดำเนินการแก้ปัญหา      4) การตรวจสอบและปรับปรุงวิธีการ การฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหานั้นผู้สอนจะต้องหารูปแบบของปัญหาที่หลากหลายเพื่อสร้างประสบการณ์ในการแก้ปัญหาให้กับผู้เรียน  และฝึกให้ผู้เรียนได้ใช้วิธีการแก้ปัญหาให้ครบตามหลักและวิธีการแก้ปัญหา  จะทำให้ผู้เรียนมีทักษะด้านการคิดที่สูงขึ้นซึ่งวิธีการเหล่านี้จะนำไปใช้ในการฝึกเขียนโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเรียนรู้ขั้นตอนวิธีจำเป็นต่อการเขียนโปรแกรมอย่างยิ่งเพราะเป็นการพัฒนาทักษะในด้านการคิดให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนวิธีนำไปสู่เป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่ต้องการ ขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาที่ดีจะช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างมาก  ซึ่งเป็นหลักการที่นักเขียนโปรแกรมทุกคนต้องมี  หากนำกระบวนการคิดตามขั้นตอนวิธีไปใช้วางแผนหรือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตเพื่อให้ได้เป้าหมายที่ต้องการ โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินชีวิตและปฏิบัติตามทุกขั้นตอนก็จะทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างแน่นอน

ยกร่างบทความโดย นายพลกฤษณ์  รินทรึก โรงเรียนจำปาหลวงวิทยาคม  จ.กาฬสินธุ์
บรรณาธิการโดย คณะบรรณาธิการสาขาคอมพิวเตอร์ สสวท

อ้างอิง

[1]      ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2546,2546 หน้า 5

[2]      สมชาย ประสิทธิ์จูตระกูล, การออกแบบและวิเคราะห์อัลกอริทึม, 2545, หน้า 1

[3]      Wikipedia:The Free Encyclopedia,ขั้นตอนวิธี[ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://th.wikipedia.org/wiki/ขั้นตอนวิธี [2015,Jan 21]

[4]      สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กระทรวงศึกษาธิการ,เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6,พ.ศ.2555,หน้า 191

[5]      สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กระทรวงศึกษาธิการ,เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6,พ.ศ.2555,หน้า 188-193

หนังสือเรียนภาษาไพทอน

หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร วิชาภาษาไพทอน(python)  ราคา 87 บาท

เหมาะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและผู้สนใจการเขียนโปรแกรม

ติดต่อ สอบถามรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่

องค์การค้าของ สกสค.
2249 ถ.ลาดพร้าว แขวงสะพานสอง
เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
02-514-4023-30 ต่อ 222,223

หรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่  http://www.suksapanpanit.com/index.php?route=product/product&path=117_85_110&product_id=2175

coverPython1

เรียนโปรแกรมมิ่งไม่ยากอย่างที่คิด

สาขาคอมพิวเตอร์ ขอเชิญผู้สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมด้วยตนเองแบบออนไลน์ หลักสูตรการเขียนโปรแกรมภาษาซี ผ่านเว็บไซต์ www.programming.in.th

เริ่มลงทะเบียนเข้ารับการอบรมได้ตั้งแต่ วันที่ 15 มิถุนายน 2551 เป็นต้นไป

 

2