Skip to main content

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคตัวต่อ

เขียนโดย นางสาวทัศนีย์ กรองทอง ผู้ชำนาญ สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.  

     การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคตัวต่อ (jigsaw) เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดกิจกรรม      แบบร่วมมือร่วมใจ ที่เน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ เหมาะสำหรับการเรียนรู้เนื้อหาที่มีจำนวนมาก และมีข้อจำกัดในเรื่องเวลา  ในการจัดกิจกรรมมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

  1.  แบ่งกลุ่มพื้นฐาน  แบ่งกลุ่มผู้เรียนโดยให้จำนวนสมาชิกในกลุ่มพื้นฐานเท่ากับจำนวนหัวเรื่องที่กำหนด  ให้หมายเลขแก่สมาชิก เช่น สมาชิกในกลุ่มมี คน แต่ละคนจะมีหมายเลข 1, 2, 3 และ 4
  2. แบ่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและมอบหมายงาน   ให้สมาชิกที่มีหมายเลขเดียวกันมารวมกลุ่มใหม่ จะได้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญหมายเลข หมายเลข 2  หมายเลข  3  และหมายเลข  ตามลำดับ  มอบหัวข้อย่อยให้แต่ละกลุ่มผู้เชี่ยวชาญศึกษา สมาชิกของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละกลุ่มจะต้องช่วยกันทำกิจกรรมและซักถาม อภิปรายจนเข้าใจในเนื้อหานั้นทุกคน 
  3. แลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มพื้นฐาน  ให้ผู้เรียนกลับเข้ากลุ่มพื้นฐานเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้ศึกษาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  จากนั้นให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มพื้นฐานช่วยกันสรุปความรู้ทั้งหมด

ขอบเขตการนำไปใช้

     ความรู้ที่จะนำมาศึกษาต้องสามารถแบ่งเป็นหัวข้อย่อยที่เป็นอิสระต่อกัน  เพื่อมอบหมายให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละกลุ่มศึกษา

 

บทบาทของผู้สอน

  1. เตรียมหัวข้อย่อยของความรู้ให้มีจำนวนหัวข้อเท่ากับจำนวนสมาชิกในกลุ่มพื้นฐาน
  2. เตรียมใบความรู้ของหัวข้อย่อย
  3. จัดหาวิธีการ สื่อ และอุปกรณ์ในการแบ่งกลุ่ม
  4. สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยคอยตั้งคำถามเป็นประเด็นในการอภิปรายและเก็บข้อมูลเพื่อนำเสนอในกลุ่มพื้นฐานต่อไป

 

 

 

 

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคตัวต่อ

เรื่อง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์

สาระการเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ช่วงชั้นที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

1.    จุดประสงค์ ให้ผู้เรียนสามารถ

        1.1     บอกส่วนประกอบคอมพิวเตอร์

        1.2     อธิบายหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

2.    แนวคิด

การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยสำคัญ 5 หน่วย ได้แก่ หน่วยรับเข้า  หน่วยประมวลผลกลาง  หน่วยความจำ   หน่วยส่งออก  และหน่วยเก็บข้อมูล ซึ่งแต่ละหน่วยจะทำงานผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน

3.    สื่ออุปกรณ์

3.1     ใบงาน

ใบงานที่ เรื่อง เวลา(นาที)

1.1

หน่วยรับข้อมูล

20 

    

 

 

 

 

 

 

1.2

หน่วยประมวลผล

1.3

หน่วยความจำ

1.4

หน่วยส่งออก

1.5

หน่วยเก็บข้อมูล

1.6

ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์

50

3.2     ใบความรู้

  • ใบความรู้ที่ 1.1  เรื่องหน่วยรับข้อมูล
  • ใบความรู้ที่ 1.2  เรื่องหน่วยประมวลผล
  • ใบความรู้ที่ 1.3  เรื่องหน่วยความจำ
  • ใบความรู้ที่ 1.4  เรื่องหน่วยส่งออก
  • ใบความรู้ที่ 1.5  เรื่องหน่วยเก็บข้อมูล

 

3.3     อื่น ๆ

  • สลากสำหรับแบ่งกลุ่มผู้เรียน

4.      วิธีดำเนินการ

4.1     การจัดเตรียม

4.1.1    เตรียมใบความรู้และใบงานที่ 1.1–1.5  เท่ากับจำนวนผู้เรียน และใบงานที่1.6 เท่ากับจำนวนกลุ่ม

4.1.2    เตรียมสลากสำหรับแบ่งกลุ่ม

 4.2     ขั้นตอนดำเนินการ

4.2.1    ผู้สอนแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม  กลุ่มละ คน และให้แต่ละกลุ่มกำหนดหมายเลขให้กับสมาชิกในกลุ่มเป็น หมายเลข 1-5  ตามลำดับ  เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มพื้นฐาน

10-11

 

 4.2.2    ผู้สอนให้ผู้เรียนจับกลุ่มใหม่เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อร่วมกันศึกษาใบความรู้และทำใบงานดังนี้

  • สมาชิกหมายเลข 1 ของกลุ่มพื้นฐาน   ร่วมกันศึกษาใบความรู้ที่  1.1   และทำใบงานที่  1.1
  • สมาชิกหมายเลข  2  ของกลุ่มพื้นฐาน ร่วมกันศึกษาใบความรู้ที่  1.2  และทำใบงานที่  1.2
  • สมาชิกหมายเลข  3  ของกลุ่มพื้นฐาน  ร่วมกันศึกษาใบความรู้ที่  1.3 และทำใบงานที่  1.3
  • สมาชิกหมายเลข 4  ของกลุ่มพื้นฐาน  ร่วมกันศึกษาใบความรู้ที่  1.4  และทำใบงานที่  1.4
  • สมาชิกหมายเลข 5  ของกลุ่มพื้นฐาน  ร่วมกันศึกษาใบความรู้ที่  1.5  และทำใบงานที่  1.5

10-12

 

4.2.3    ผู้สอนให้ผู้เรียนกลับเข้ากลุ่มพื้นฐานและให้สมาชิกแต่ละคนอธิบายเนื้อหาความรู้ที่ได้       ไปศึกษาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจนครบทุกคน และช่วยกันสรุปความรู้ลงในใบงานที่  1.6

4.2.4    ผู้สอนสุ่มผู้เรียนนำเสนอคำตอบในใบงานที่ 1.6

4.2.5    ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปความรู้ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 

5.    การวัดและประเมินผล

5.1     ตอบในใบงานที่ 1.1 – 1.6

5.2     ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้เรียนเป็นกลุ่ม

 

6.    แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม 

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. “หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (2553)

7.    ข้อเสนอแนะ 

  • หากมีจำนวนผู้เรียนมาก สามารถแบ่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเป็นโซน เช่น โซน A , โซน B
  • ตัวอย่างการเตรียมสลากสำหรับแบ่งกลุ่ม  พิมพ์และตัดสลาก จำนวน 40 ใบ ดังนี้

A11

A21

A31

A41

B11

B21

B31

B41

A12

A22

A32

A42

B12

B22

B32

B42

A13

A23

A33

A43

B13

B23

B33

B43

A14

A24

A34

A44

B14

B24

B34

B44

A15

A25

A35

A45

B15

B25

B35

B45

    

     โดยที่ :

A12  หมายถึง  ผู้เรียนที่อยู่โซน A  กลุ่มที่ 1  และเป็นสมาชิกหมายเลข  2

B34  หมายถึง  ผู้เรียนที่อยู่โซน B  กลุ่มที่ 3  และเป็นสมาชิกหมายเลข  4

jigsaw, ทัศนีย์ กรองทอง, เทคนิคตัวต่อ