Skip to main content

โครงการอบรมครูออนไลน์ “การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ”

สสวท. ขอเชิญชวนครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณ สาระเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เข้าร่วมอบรมหลักสูตร “การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ” แบบออนไลน์ ผ่านระบบ IPST LEARNING SPACE   ที่ http://teacherpd.ipst.ac.th/ สมัครสมาชิกเข้าอบรมหลักสูตรได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 และเข้าระบบอบรมได้ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน ถึง 16 กันยายน 2561 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และจะได้รับวุฒิบัตรเมื่ออบรมผ่านตามเกณฑ์การประเมิน คลิกอ่านรายละเอียด 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 023924021 ต่อ 3413  อีเมล npain@ipst.ac.th

แนะนำการอบรมออนไลน์ หลักสูตร ชุดกล่องสมองกล IPST-MicroBox

เขียนโดย นางสาวทัศนีย์ กรองทอง ผู้ชำนาญ สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.  

      สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. ได้พัฒนาชุดกล่องสมองกลเพื่อเป็นสื่อทางเลือกหนึ่งสำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสาขาวิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ฯลฯ  ผู้ใช้สามารถประยุกต์กล่องสมองกลกับความรู้ในศาสตร์ต่างๆ  เพื่อคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาทั้งเนื้อหาวิชาที่เรียนและในชีวิตประจำวัน   ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของการสร้างชิ้นงานหรือโครงงานก็ได้  โดยอาศัยการเขียนโปรแกรมทำงานกับอุปกรณ์หรือเซนเซอร์ต่างๆ ก็นับว่าเป็นการท้าทายและกระตุ้นความสนใจผู้เขียนโปรแกรม   

     ชุดกล่องสมองกล ประกอบด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งเปรียบเหมือนคอมพิวเตอร์ โดยประกอบไปด้วย  หน่วยประมวลผล ส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์รับเข้าและส่งออก หน่วยความจำ  ส่วนจับเวลาและตัวนับ ส่วนควบคุมการขัดจังหวะการทำงาน   นอกจากนี้ในชุดยังมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเซนเซอร์ต่างๆ  เราสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ทำงานร่วมกับเซนเซอร์ที่กำหนดได้

7-1

รูปที่ 1 ไมโครคอนโทรลเลอร์

 

    ชุดกล่องสมองกล IPST-MicroBox  พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในรุ่นแรกๆ ผู้ใช้สามารถสร้างชุดกล่องสมองกลเองได้ตั้งแต่ต้น  เพียงดาวน์โหลดลายวงจร  กัดแผ่นปรินท์ แล้วทำการติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงในแผงวงจรที่ใช้งาน หลังจากนั้นก็เขียนโปรแกรมภาษาซี โดยมีไลบราลีเพิ่มเติม ipst.h ช่วยให้เขียนโปรแกรมง่ายขึ้น โดยซอฟต์แวร์สำหรับการเขียนโปรแกรม ได้แก่  AVR Studio 4, WinAVR และ PonyProg2000แต่ถ้าใช้ระบบปฏิบัติการWindows7 ต้องลงโปรแกรม  AVR Toolchain เพิ่มเติม  ท้ายสุดหลังจากคอมไพล์โปรแกรมแล้วทำการอัพโหลดโปรแกรมลงกล่องสมองกล เพียงเท่านี้เราก็สามารถสั่งงานชุดกล่องสมองกลให้ทำงานตามที่เราโปรแกรมไว้ได้แล้ว

    ปัจจุบัน IPST-MicroBox  พัฒนาถึงรุ่น IPST-MicroBox Secondary Education (SE)  ซึ่งมีการปรับปรุงในส่วนบอร์ด และอุปกรณ์อัพโหลดข้อมูลซึ่งทำการแปลงพอร์ตยูเอสบีเป็นพอร์ตอนุกรม ให้ใช้งานง่ายขึ้น และทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ถูกลง  เนื่องจากซอฟต์แวร์WinAVR ที่ไม่ได้มีการพัฒนาต่อแล้ว ทำให้การใช้งานกับระบบปฏิบัติการที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตอาจมีปัญหาเกิดขึ้นได้  รวมทั้งเพื่อให้การคอมไพล์และการอัพโหลดโปรแกรมง่ายขึ้นจึงเลือกซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมเป็น WiringIDE (www.wiring.org.co)  ซึ่งWiringIDE มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการWindows,Linux  และ MAC OS ทั้งยังเป็นซอฟต์แวร์รหัสเปิด (open source) สามารถใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย  ซึ่ง IPST-MicroBox  รุ่นมาตรฐานเดิมก็สามารถเขียนโปรแกรมบนWiringIDE ได้ เพียงแต่ต้องมีการปรับปรุงเฟิร์มแวร์เพิ่มเติม

 

7-2

รูปที่ 2 IPST-MicroBox Secondary Education (SE)

 

7-3

รูปที่ 3 โปรแกรม Wiring 1.0 IPST-SE

 

    สาขาคอมพิวเตอร์เล็งเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ การใช้งานชุดกล่องสมองกล จึงได้ปรับปรุงเว็บไซต์สำหรับเรียนออนไลน์ หลักสูตร ชุดกล่องสมองกล IPST-Microbox รุ่นมาตรฐาน ให้กับครูผู้สอน นักเรียน และบุคคลทั่วไป ซึ่งในอนาคตสาขาคอมพิวเตอร์จะได้จัดทำบทเรียนออนไลน์สำหรับรุ่น 2 (SE) ต่อไป ทั้งนี้ไม่ว่าอุปกรณ์จะมีการพัฒนาไปอย่างไร หลักการพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมยังคงอยู่ ประกอบกับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ช่วยให้การสร้างงานมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้งานได้จริง

7-4

รูปที่ 4 ชุดกล่องสมองกล IPST-Microbox รุ่นมาตรฐาน

     เนื้อหาภายในแบ่งเป็นบทเรียน บท ประกอบด้วยใบความรู้ และใบงาน โดยบทที่ จะเป็นการทบทวนเรื่องอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ส่วนประกอบและการติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงแผ่นวงจร หากผู้เรียนมีชุดกล่องสมองกลที่ประกอบสำเร็จอยู่แล้ว สามารถข้ามไปทำกิจกรรมในบทที่ ได้เลย การทำใบงานจะทำเรียงลำดับตั้งแต่บทที่ ถึง 9  โดยใบงานจะมีแบบทดสอบทั้งแบบเติมคำในช่องว่างและเลือกตอบ เมื่อท่านทำแบบทดสอบผ่าน 80 % จะสามารถทำใบงานถัดไปได้ หากทำแบบทดสอบไม่ผ่านท่านจะสามารถทำใหม่ได้อีกในวันถัดไป สำหรับการทำใบงานบทที่ ท่านจะต้องสร้างโครงงาน เรื่อง แล้วส่งรายงานฉบับสมบูรณ์และวิดีโอสาธิตการทำงานของโครงงาน จากนั้นรอผลการตรวจจาก สสวท.   การทำแบบทดสอบในใบงาน มีเวลา เดือนนับจากวันลงทะเบียน หากไม่ผ่านภายใน เดือน ผู้เรียนจะต้องเริ่มทำใบงานใหม่ตั้งแต่ต้น และเริ่มนับเวลาการอบรมใหม่  ถ้าทำใบงานผ่านทุกบทท่านจะได้รับเกียรติบัตรผ่านการอบรมจาก สสวท.  ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมได้ที่http://oho.ipst.ac.th/ipstbox/web

7-5

รูปที่ 5 เว็บไซต์ IPST-MicroBox

     ตัวอย่างโครงงานที่นำชุดกล่องสมองกลไปสร้างงานแบบบูรณาการ เช่น โครงงานเครื่องวัดความเร็วลม ซึ่งสามารถนำไปในการทดลองสำหรับการประดิษฐ์ศรลม โครงงานเครื่องนับจำนวนรอบของกังหันที่ทำให้ LED ติด สามารถนำไปใช้ในการทดลองสำหรับการประดิษฐ์กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า เป็นต้น

7-6
รูปที่ ตัวอย่างการนำชุดกล่องสมองกล IPST-MicorBox ไปใช้วัดความเร็วลม

โครงการวิทยากรแกนนำวิชาคอมพิวเตอร์

หลักการและเหตุผล
ตามแผนอบรมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( สสวท.) เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องการฝึกอบรมครูที่มีศักย์ภาพ เพื่อทำหน้าที่เป็นวิทยากรแกนนำให้ท้องถิ่นจากนั้นให้วิทยากรแกนนำไปขยายผลในการเรียนการสอนที่ตนรับผิดชอบ และทำหน้าที่ให้การอบรมครูประจำการในสังกัด รวมถึงเป็นผู้นำทางวิชาการในท้องถิ่นต่อไป

เป้าหมายของโครงการวิทยากรแกนนำวิชาคอมพิวเตอร์
เป้าหมายเชิงปริมาณ : อาจารย์ผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ที่มีความรู้ความสามารถ และมีความพร้อมที่จะเป็นวิทยากรแกนนำจะ ได้รับการอบรมตามหลักสูตรวิทยากรแกนนำ
เป้าหมายเชิงคุณภาพ : อาจารย์ผู้สอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายวิชาคอมพิวเตอร์ที่มีความรู้ความสามารถ จะได้รับการ อบรมหลักสูตรวิทยากรแกนนำ

วัตถุประสงค์ของการอบรมครูแกนนำ
เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ มีความรู้ในเนื้อหาและการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนมีความมั่นใจที่จะนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับไปขยายผลในการเป็นวิทยากรอบรมครูประจำการ ตลอดจนเป็นผู้นำทางวิชาการในท้องถิ่น
เพื่อกระตุ้น และส่งเสริมให้บุคลากรในท้องถิ่นได้คิด และพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเรียนการสอน การผลิตสื่อการสอน สำหรับใช้ในการเรียนการสอน และการอบรมครูเพื่อใช้ใน การอบรมครูและเผยแพร่แก่ครูประจำการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การคัดเลือก
วิทยากรแกนนำจะคัดเลือกจากครูผู้สอน ศึกษานิเทศน์ และสามัญศึกษาจังหวัดโดยมีรายละเอียดดังนี้

· วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การสอน
o จบสายคอมพิวเตอร์ ต้องมีประสบการณ์การสอนคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 2 ปี
o จบสายวิทยาศาสตร์ ต้องมีประสบการณ์การสอนคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 4 ปี
o อื่นๆ ต้องมีประสบการณ์การสอนคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 6 ปี
· มีความตั้งใจที่จะเป็นวิทยากรแกนนำ
· มีเวลาที่จะอุทิศให้กับการเข้ารวมรับการอบรม และเป็นวิทยากรในการอบรม
· มีมุนษย์สัมพันธ์ที่ดี และสามารถประสานงานกับผู้อื่นได้
· มีความสามารถในการเป็นวิทยากร และถ่ายทอดความรู้ได้ดี
· มีความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้ และวิทยาการใหม่ๆ

วิทยากรแกนนำจะคัดเลือกจากครูผู้สอน ศึกษานิเทศน์ และสามัญศึกษาจังหวัดโดยมีรายละเอียดดังนี้

  • วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การสอน
    o จบสายคอมพิวเตอร์ ต้องมีประสบการณ์การสอนคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 2 ปี
    o จบสายวิทยาศาสตร์ ต้องมีประสบการณ์การสอนคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 4 ปี
    o อื่นๆ ต้องมีประสบการณ์การสอนคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 6 ปี
  • มีความตั้งใจที่จะเป็นวิทยากรแกนนำ
  • มีเวลาที่จะอุทิศให้กับการเข้ารวมรับการอบรม และเป็นวิทยากรในการอบรม
  • มีมุนษย์สัมพันธ์ที่ดี และสามารถประสานงานกับผู้อื่นได้
  • มีความสามารถในการเป็นวิทยากร และถ่ายทอดความรู้ได้ดี
  • มีความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้ และวิทยาการใหม่ๆ

การคัดเลือกวิทยากรแกนนำวิชาคอมพิวเตอร์

ประชุมประสานแผนร่วมกับผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด ศึกษานิเทศน์วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ของกรมสามัญศึกษา จากนั้นผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดร่วมกับศึกษานิเทศน์ วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คัดเลือกและส่งรายชื่อครูผู้สอน วิชา คอมพิวเตอร์ที่มีความรู้ความสามารถตามจำนวนในโครงการ หรือวิทยากรแกนนำรุ่น 1 แนะนำครูผู้มีความสามารถ และส่งรายชื่อ ผู้ที่จะเป็น วิทยากรแกนนำที่มีคุณสมบัติข้างต้นจำนวนหนึ่ง โดยจัดลำดับความต้องการ สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. จะทำการคัดเลือก ให้เหลือเท่ากับจำนวนที่ต้องการ

 

โครงการคอมพิวเตอร์โอลิมปิก

โครงการคอมพิวเตอร์โอลิมปิก

ขั้นตอนการคัดเลือกตัวแทน

           มูลนิธิฯ สอวน. จะดำเนินการคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าค่ายอบรมเข้มที่ สสวท. ถ้านักเรียน คนใดสนใจ ขอให้ติดต่อ กับฝ่ายแนะแนวหรือฝ่ายวิชาการ หรือ  หรือมูลนิธิฯ สอวน. หรือ สาขาโอลิมปิกวิชาการ สสวท. โทร.3924021  ต่อ 2202-2207


ช่วงเวลาดำเนินการ 

ค่ายสอวน. ค่าย 1

 

 

ค่ายสอวน. ค่าย 2

แข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ

ค่ายอบรมเข้มรอบที่ 1

ค่ายอบรมเข้มรอบที่ 2   ช่วงที่ 1

ค่ายอบรมเข้มรอบที่ 2   ช่วงที่ 2

ประกาศผลตัวแทน 4 คน

: ประมาณเดือน ตุลาคม พฤศจิกายน

 

 

: ประมาณเดือน มีนาคม เมษายน

: ประมาณเดือน เมษายน พฤษภาคม (คัดเหลือ 25 คน)

: เดือนตุลาคม  ใช้เวลาประมาณ 3 อาทิตย์ (คัดเหลือ 15 คน)

: ปลายมีนาคม ใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ (คัดเหลือ 7 คน)

: ปลายเดือนเมษายน ใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์

: ปลายเดือนเมษายน  (วันสุดท้ายของการเข้าค่าย)

 

แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิก

การจัดอบรมที่ สสวท.

            นักเรียนที่มาเข้าค่ายฝึกอบรมเข้มคอมพิวเตอร์โอลิมปิกที่ สสวท. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ที่ สสวท. มีห้องอบรมคอมพิวเตอร์ และหอพักพร้อมอาหาร 3 มื้อ นมและขนมระหว่าง พักเรียนใน แต่ละช่วง

ตารางอบรมในการเข้าค่ายที่ สสวท.

   7.00 – 8.30 น.

 

 

9.00 – 10.30 น.

10.30 – 10.45 น.

10.45 – 12.00 น.

12.00 – 13.00 น.

13.00 – 14.30 น.

14.30 – 14.45 น.

14.45 – 16.00 น.

18.00 – 19.00 น.

19.00 – 22.00 น.

รับประทานอาหารเช้า

 

 

อบรมเนื้อหา  เขียนโปรแกรม

พักรับประทานอาหารว่าง

อบรมเนื้อหา  เขียนโปรแกรม

พักรับประทานอาหารกลางวัน

อบรมเนื้อหา  เขียนโปรแกรม

พักรับประทานอาหารว่าง

อบรมเนื้อหา  เขียนโปรแกรม

รับประทานอาหารเย็น

ฝึกแก้โจทย์ปัญหา

หมายเหตุ

     ·   ในการเข้าค่ายรอบที่ 2 ช่วงที่ 2  นักเรียนทุกคนจะต้องเข้าค่าย ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม
·   ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนจะต้องเข้าค่ายฝึกอบรมที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในระยะหนึ่ง ก่อนเดินทางไปแข่งขันที่ต่างประเทศ


เนื้อหาที่ใช้ในการอบรม 

  • Programming  Review : Pointer  and  Recursion + Lab
  • Combinatorics + Lab
  • Stacks , Queue , Linked Lists + Lab
  • Tree  and  Binary  Search  Tree + Lab
  • Data  Structure + Lab
  • Sorting + Lab
  • Priority  Queue (Heap) + Lab
  • Hashing + Lab
  • Algorithm   Design  Techniques
  • Devide  and  conqver  and Dynamic  Programming + lab
  • Backtracking  and  Greedy  Algorithm + Lab
  • Introduction to Graph  Theory

a.        Representation, BFS, DFS,Topological Sorting+Lab

b.        MST, Implementation of  Union  Find  Data  Structure + Lab

c.        Single  Source  Shortest  Path, Pair Shortest  Path + Lab

  • Mathematical  Foundation

a.        Recurrence  Relations + Lab
b.        Asymptotic  Complexity + Lab

  • Blachtracking  and  Pruning + Lab
  • Problem  Solving

ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน

เพื่อให้กิจกรรมการเรียนการสอน ที่ทางสาขาคอมพิวเตอร์ จัดทำขึ้นและได้ใช้อบรมไปแล้วในปี ที่ผ่านๆ มา ได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้าง ทางสาขาคอมพิวเตอร์  จึงได้จัดให้มีการเผยแพร่สื่อกิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ ลงในอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ครูผู้สนใจ สามารถสำเนาสื่อเหล่านี้ ไปใช้ในการเรียนการสอน และการอบรมภายในโรงเรียนหรือในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

* เอกสารที่จัดเผยแพร่ อยุ่ในรูปแบบของ PDF ดังนั้นก่อนการใช้งาน ควรติดตั้งโปรแกรมAdobe Acrobat reader  ในเครื่องให้เรียบร้อย

ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

แนวคิด จุดประสงค์
      เอกสารชุดนี้ประกอบไปด้วยกิจกรรม 7  กิจกรรม ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป แต่มีความต่อเนื่องกัน อ้างอิงถึงกันได้ และเป็นกิจกรรมที่เน้นการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ฉะนั้นผู้ศึกษาจะต้องเตรียมตัวเรื่อง การศึกษาเนื้อหาหลักในแต่ละกิจกรรม เตรียมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อุปกรณ์ต่อพ่วงและซอฟต์แวร์ เช่น โปรแกรม Windows98 WindowsXP MS-office97 ตามรายละเอียดของแต่ละกิจกรรม เพื่อความเข้าใจและสร้างความมั่นใจให้กับตนเองในการนำไปใช้งานต่อไป
  • กิจกรรมสำหรับการเรียนรู้แต่ละกิจกรรมมีแนวคิด จุดประสงค์ และเวลาที่ใช้ในการศึกษาดังตาราง  คณะผู้พัฒนาเอกสารฝึกอบรมครู
  • กิจกรรมที่ 1 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 98
  • กิจกรรมที่ 2 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP Professional
  • กิจกรรมที่ 3 การติดตั้งและถอดถอนโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ 97
  • กิจกรรมที่  4 ส่วนประกอบของไมโครคอมพิวเตอร์
  • ใบความรู้ที่ 4.1 ส่วนประกอบของไมโครคอมพิวเตอร์
  • ใบความรู้ที่ 4.2 การถอดส่วนประกอบของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
  • กิจกรรมที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
  • กิจกรรมที่ 6 รู้จักกับระบบอินทราเน็ต |สื่อการสอน
  • กิจกรรมที่ 7 การติดตั้งและการจัดการข้อมูลในเว็บเซิร์ฟเวอร์
  • ภาคผนวก ก  เฉลยใบงาน
  • ภาคผนวก ข  เฉลยแบบทดสอบตนเอง
  • ภาคผนวก ค  แบบสอบถามแสดงความรู้
  • ภาคผนวก ง  แบบแสดงความคิดเห็น

โครงการค่ายยุวคอมพิวเตอร์

           สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) มีหน้าที่หลักในการวิจัย และพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน อบรมและพัฒนาครูวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีโครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมสนับสนุนความสามารถของเยาวชนไทย ในการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์

โครงการค่ายยุวคอมพิวเตอร์เป็นโครงการหนึ่งที่ ส่งเสริมสนับสนุนความสามารถของเยาวชนไทย ที่จัดโดยสาขาคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรักและสนใจในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้มีพื้นฐานและทักษะในด้านคณิตศาสตร์


ขอเชิญนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3
สมัครเข้าร่วมกิจกรรมค่ายยุวคอมพิวเตอร์ 

รายละเอียดการรับสมัคร

ระยะเวลาการเข้าค่ายฯ

  • ระยะเวลาการเข้าค่ายยุวคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 วัน 4 คืน

หลักฐานการสมัคร

  1. ใบสมัครที่กรอกข้อมูลครบถ้วน และคำยินยอมของผู้ปกครอง
  2. แบบตอบรับการเข้าค่ายฯ ซึ่งกรอกที่อยู่ของท่านพร้อมติดแสตมป์
  3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป ติดในใบสมัคร
  4. สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) ของปีการศึกษานั้น จำนวน 1 ชุด

หมายเหตุ : 
นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จะใช้ ปพ.1 ของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จะใช้ ปพ.1 ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จะใช้ ปพ.1 ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

 คุณสมบัติของผู้สมัคร

  1. เป็นนักเรียนที่ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 3
  2. มีคะแนนสะสมของวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เฉลี่ยทั้ง 3 วิชา อยู่ในระดับ 2.5 ขึ้นไป
  3. มีสุขภาพแข็งแรง
  4. ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองให้เข้าร่วมกิจกรรมของค่ายยุวคอมพิวเตอร์
  5. สามารถอยู่ร่วมกิจกรรมได้ตลอดระยะเวลาการเข้าค่ายฯ ซึ่งต้องพักในสถานที่ซึ่งศูนย์ฯ จัดให้ และปฏิบัติตามระเบียบของค่ายฯ อย่างเคร่งครัด
  6. ไม่เป็นผู้ที่เคยผ่านการเข้าค่ายยุวคอมพิวเตอร์มาก่อน

 ขั้นตอนการสมัคร

  1. นักเรียนส่งหลักฐานที่สมบูรณ์ทั้งหมด ไปยังศูนย์ที่เปิดรับสมัครตามจังหวัดที่ระบุไว้ ทางไปรษณีย์ ดูรายละเอียดศูนย์จัดค่ายฯ
  2. ศูนย์ฯ จะคัดเลือกผู้สมัครเข้าค่ายศูนย์ละ 40 คน โดยศูนย์ฯ จะส่งแบบตอบรับแจ้งกลับไปยังผู้สมัครทางไปรษณีย์และประกาศผลทางเว็บไซต์  ดูผลได้จากเว็บไซต์ของศูนย์ที่สมัคร
  3. เฉพาะนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือก ให้ส่งธนาณัติจำนวน 2,000 บาท มายังศูนย์ฯ ที่นักเรียนได้รับการคัดเลือกในระยะเวลาที่กำหนด  มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ และในกรณีที่จ่ายเงินแล้ว แต่ขอยกเลิกภายหลัง ทางศูนย์ฯ จะไม่คืนเงินให้

 กิจกรรมในค่ายยุวคอมพิวเตอร์

กิจกรรมในค่ายยุวคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่เน้นการฝึกให้นักเรียน ได้รู้จักคิดและแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และให้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นทั้งกิจกรรมวิชาการและเกมที่แฝงแนวความ คิดในการแก้ปัญหา

โปรแกรมการเรียนในค่ายยุวคอมพิวเตอร์ มีดังนี้

9.00- 16.00 น. ปฏิบัติการเขียนโปรแกรม ณ ห้องคอมพิวเตอร์

– วันที่ 1 : Visual C#
– วันที่ 2 : ตรรกศาสตร์และคำสั่งเงื่อนไข
– วันที่ 3 : การแก้ปัญหาและคำสั่งวนซ้ำ
– วันที่ 4 : โปรแกรมย่อยและกราฟิก
– วันที่ 5 : โครงงาน นำเสนอผลงาน และรับวุฒิบัตร

16.00 – 17.30 น. กิจกรรมภาคสนาม กีฬายุวฯ เกม

19.00 – 21.00 น. เกมคำนวณ เพิ่มทักษะการแก้ปัญหา

*** วันสุดท้ายของค่ายฯ เลิกเวลา 16.00 น.
ติดต่อสอบถามได้ที่ อ.พรพิมล ตั้งชัยสิน 023924021 ต่อ 3407 หรือptang@ipstweb.com

การใช้งาน IPST MicroBox

IPST MicroBox obj148geo472pg1p12

• ส่วนประกอบ

• ลายวงจร

– ลายวงจรสำหรับพริ้นทร์ลง PCB (พริ้นทร์แบบสองหน้า)

– ลายวงจรสำหรับดูรายละเอียดการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ต่างๆ

• โปรแกรมที่ใช้

– AVR Studio

– WinAVR

– PonyProg2000

•      รายการอุปกรณ์แต่ละบอร์ดสำหรับประกอบเอง

•      คู่มือการใช้ IPST MicroBox

•      ไฟล์ตัวอย่างที่ใช้กับ IPST MicroBox
แนะนำไมโครคอนโทรลเลอร์ ATmega16

http://www.atmel.com/dyn/resources/prod_documents/doc2466.pdf

http://www.captain.at/electronics/atmel-programmer/

http://www.inex.co.th/micro/

การอบรม

การจัดอบรมการใช้ชุดกล่องสมองกล 

ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนและศึกษาบทเรียนได้ที่ http://ipstbox.programming.in.th/

รายละเอียดเนื้อหาในการอบรมมีดังนี้

บทที่ 1 การสร้างชุดกล่องสมองกล IPST-MicroBox

1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · รู้จักไมโครคอนโทรลเลอร์ 

· แนะนำไมโครคอนโทรลเลอร์ Atmega16

· อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนบอร์ด IPST-MicroBox

· ส่วนประกอบชุดกล่องสมองกล IPST-MicroBox

· ติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงบนแผ่นวงจร

· ทดสอบการทำงานของวงจร

· สัญลักษณ์เกี่ยวกับวงจรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

บทที่ 2 IPST-MicroBox และโปรแกรมสนับสุนน
1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · ซอฟต์แวร์สนับสนุนการพัฒนาโปรแกรม 

· การพัฒนาโปรแกรมด้วย AVR Studio

· การดาวน์โหลดโปรแกรมลงไมโครคอนโทรลเลอร์ผ่านพอร์ตขนาน

· แผงวงจรหลักของ IPST-MicroBox

· แผงวงจรแสดงตัวเลข 4 หลัก

3) ใบงาน · ใบงานที่ 2.1 เครื่องนับเลข
4) ข้อเสนอแนะ

บทที่ 3 การใช้งานอุปกรณ์แสดงผลพื้นฐาน
1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · ระบบเลขฐาน 

· ตัวดำเนินการบิตไวส์

3) ใบงาน · ใบงานที่ 3.1 เครื่องตั้งเวลา 1 นาที 

· ใบงานที่ 3.2 ไฟวิ่ง

บทที่ 4 การใช้งานอุกรณ์รับข้อมูลและแสดงผลแบบดิจิตอล
1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · แผงวงจรสวิตช์กดติดปล่อยดับ 

· แผงวงจร LED สองสี

· สวิตช์และปรากฏการณ์ Contact Bounce

· คำสั่งควบคุมอุปกรณ์รับข้อมูลและแสดงผลแบบดิจิตัล

3) ใบงาน · เครื่องออกหวย 

· เปิดปิดหลอด LED ด้วยสวิตช์

· เครื่องนับเลขด้วยการกด

บทที่ 5 การใช้งานอุปกรณ์รับข้อมูลและแสดงผลแบบดิจิตัลอื่นๆ
1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · แผงวงจรลำโพงเปียโซและชุดคำสั่งควบคุม 

· แผงวงจรกำเนิดแสงอินฟราเรด หรือแผงวงจรขับ LED อิฟราเรด

· แผงวงจรโมดูลรับแสงอินฟราเรด 38kHz

3) ใบงาน · กริ่งประตูบ้าน 

· เปิดปิดไฟด้วยรีโมตโทรทัศน์

· นาฬิกาจับเวลาแบบมีเสียงเตือน

 

บทที่ 6 การตรวจจับแบบแอนะล็อก
1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · สัญญาณแอนะล็อก 

· ตัวต้านทานปรับค่าได้และแผงวงจรตรวจวัดแบบแอนะล็อก

· คำสั่งอ่านค่าแอนะล็อก

3) ใบงาน รู้จักกับสัญญาณแอนะล็อก 

เปิดปิดไฟด้วยแสงและเสียง

นับคนเข้าร้าน

4) ข้อเสนอแนะ
บทที่ 7 การควบคุมมอเตอร์ไฟตรง
1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · การเชื่อมต่อแผงวงจรขับมอเตอร์ไฟตรง 

· ชุดคำสั่งควบคุมมอเตอร์ไฟตรง

· ชุดคำสั่งจับเวลา

3) ใบงาน · ทดลองใช้งานมอเตอร์ไฟตรง 

· พัดลมติดเพดาน

· ประตูเลื่อนอัตโนมัติ

4) ข้อเสนอแนะ
บทที่ 8 การควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายนอก
1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · แผงวงจรขับรีเลย์
3) ใบงาน · ทดลองใช้งานรีเลย์ 

· โรงเรือนอัจฉริยะ

บทที่ 9 การสร้างโครงงานโดยใช้ชุดกล่องสมองกล IPST-MicroBox
1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · ส่วนประกอบรายงานฉบับสมบูรณ์
3) ใบงาน · การสร้างโครงงานด้วยชุดกล่องสมองกล
ภาคผนวก
ความรู้พื้นฐานของการโปรแกรมภาษาซีกับชุดกล่องสมองกล IPST-MicroBox
· โครงสร้างพื้นฐานของโปรแกรมภาษาซี 

· การประกาศฟังก์ชัน

· การเรียกใช้งานฟังก์ชัน

· ชนิดข้อมูลและการประกาศตัวแปร

· ตัวดำเนินการในภาษาซี

· คำสั้งควบคุมในภาษาซี

· การใช้งานไลบรารีในภาษาซี

ตัวอย่างคลิปวีดีโอการสอน
ตัวอย่างโครงงาน

รายละเอียดการศึกษาบทเรียน
           สิ่งที่ผู้เรียนต้องเตรียมตัวเพื่อการศึกษาบทเรียน มีดังนี้

1. อุปกรณ์ชุดกล่องสมองกล IPST-MicroBox รุ่นมาตรฐาน ซึ่งผู้เรียนสามารถสร้างเองได้โดยต้องเตรียมอุปกรณ์และทำตามกิจกรรมในบทที่ 1 
          2. ท่านที่ไม่เคยมีความรู้ด้านโปรแกรมภาษาควรศึกษาภาคผนวกเรื่องความรู้พื้นฐานของการโปรแกรมภาษาซีก่อน

  • 1
  • 2