Skip to main content

Tag: google

แว่นวีอาร์ สื่อเรียนรู้เสมือนจริงแห่งอนาคต (VR:Virtual Reality)

      เมื่อหลายวันก่อนมีโอกาสได้ลองใช้ แว่นชนิดหนึ่ง ที่ร้านค้านำมาจัดแสดงในงานแสดงสินค้า ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ตัวแว่นทำมาจากกระดาษและราคาไม่แพง เมื่อทดลองสวมแว่น ก็รู้สึกตื่นเต้นกับภาพที่ได้เห็นเป็นอย่างมาก ภาพช่างดูสมจริงราวกับว่ากำลังอยู่ในเหตุการณ์นั้น จึงทำให้เริ่มสนใจและศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมจนทราบว่า ในปี ค.ศ. 2014      กูเกิลได้พัฒนาต้นแบบกล้องที่สร้างขึ้นจากกระดาษแข็งมีลักษณะคล้ายกล้องสองตา

binoculars-354623_1920
รูปที่ 1 กล้องสองตา

     เรียกว่า Google Cardboard เมื่อนำโทรศัพท์มาติดตั้งที่ด้านหน้ากล้องแล้วมองผ่านช่องมองภาพจะเห็นภาพในลักษณะสามมิติเสมือนจริง จากนั้นมีบริษัทต่างๆ พัฒนาตามออกมาอีกหลายรุ่นหลายแบบในลักษณะของแว่นสวมใส่โดยใช้ชื่อว่า แว่นวีอาร์ (VR Glasses: Virtual reality Glasses)

image04
รูปที่ 2 Google Cardboard

     หลักการทำงานของแว่นวีอาร์คล้ายกับเครื่องมองภาพสามมิติ (Stereoscope) ซึ่งถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการดูภาพภูมิประเทศที่เป็นสามมิติ

image01
รูปที่ 3 เครื่องมองภาพสามมิติ (Stereoscope)

     เมื่อนำหลักการทำงานของกล้องสามมิติรวมเข้ากับความสามารถในการแสดงผลที่มีความละเอียดสูงและมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้อุปกรณ์แสดงผลแบบสามมิติที่สมจริงโดยมีหลักการทำงานดังนี้

     เริ่มจากการสร้างภาพนิ่งหรือเคลื่อนไหวเป็นสองมิติแบบคู่โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือ การสร้างภาพให้เกิดการรับรู้ทางลึกในสมองโดยให้ตาของผู้สวมใส่แว่นเห็นภาพต่างกันที่มิติเดียวกัน โดยสร้างความเหลื่อมเพียงเล็กน้อยระหว่างภาพที่มองด้วยตาซ้ายและตาขวาผ่านเลนส์ที่ช่วยขยายภาพให้ใหญ่และปรับให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น กล่าวคือ การที่เห็นภาพ 2 ภาพต่างกัน แต่ให้เห็นเป็นภาพเดียวกันด้วยการมองแบบธรรมชาติ ต้องตั้งระยะการมองให้ห่างกันอย่างพอเหมาะ ไม่ให้เห็นเป็นภาพเบลอเพื่อป้องกันการล้าของดวงตา

image00
รูปที่ 4 หลักการมองภาพของแว่น VR

     ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การสร้างภาพสามมิติจึงไม่ใช้เรื่องยากอีกต่อไป ในสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ มีผู้พัฒนาแอปพลิเคชันช่วยในการถ่ายภาพแบบสามมิติอยู่จำนวนมากให้เลือกใช้งานแล้วก็ยังมีแอปพลิเคชันที่แสดงภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวแบบสามมิติ เช่น Cardboard camera ของ google ใช้สาธิตภาพสามมิติ หรือ VR Cinema ของ Mobius Networks ที่สามารถแสดงให้เห็นภาพสามมิติได้แบบทันทีทันใดและเพื่อการรับชมที่เสมือนจริงมากขึ้น

image02
รูปที่ 5 แว่น VR

     นอกจากนี้ยังมีการผสมผสานเพิ่มเติมให้กับระบบประสาทสัมผัสอื่นด้วยประกอบกันไป  เช่นเสียงประกอบการรับชมที่สมจริงผ่านลำโพงหรือหูฟัง ทำให้ผู้สวมใส่แว่นวีอาร์รู้สึกเหมือนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การทหาร การแพทย์ เกมเสมือนจริง รวมไปถึงแนวคิดใหม่ๆ ในการนำไปใช้งานในอนาคต

image03
รูปที่ 6 ภาพที่แสดงในแว่น VR

     ปัจจุบัน กูเกิลได้เปิดตัวโครงการ Expeditions ซึ่งเป็นโครงการวีอาร์เพื่อการศึกษา จุดประสงค์เพื่อให้เด็กๆ ได้มีโอกาสได้ท่องโลกกว้างผ่าน Google Cardboard ซึ่งสามารถใช้ได้กับแว่นวีอาร์ค่ายอื่นๆ ด้วย โดยเริ่มทดสอบในเดือนกันยายน ค.ศ. 2015 ที่ผ่านมา ในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา เดนมาร์ก และ สิงคโปร์ โดยใช้ Google  Cardboard ร่วมกับสมาร์ทโฟน เพื่อทดลองสื่อสำหรับสนับสนุนการเรียนการสอนในอนาคต ผู้สนใจ สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติ่มได้ที่ Google for Education ในชื่อโครงการ Expeditions หรือลงทะเบียนได้ที่ https://www.google.com/edu/expeditions/

     สำหรับการศึกษาในประเทศไทย ยังมีความรู้อีกหลายอย่างที่เราไม่สามารถพาผู้เรียนไปศึกษาเรียนรู้ในสถานที่หรือเหตุการณ์จริงได้ ซึ่งอาจเป็นสถานที่อันตราย อยู่ห่างไกล หรือไม่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น แหล่งที่อยู่ของไดโนเสาร์ ดวงดาวในจักรวาล การระเบิดของภูเขาไฟ แว่นวีอาร์จะเป็นสื่อเรียนรู้แบบใหม่ที่จะพาผู้เรียนเข้าไปสัมผัสกับเหตุการณ์เหล่านั้นเหมือนได้อยู่ในเหตุการณ์จริง ทำให้เรียนรู้และทำความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งมากกว่าการเปิดดูภาพในตำราหรือดูภาพสองมิติเพียงอย่างเดียว

ยกร่างบทความโดย นายพรพจน์ พุฒวันเพ็ญ
บรรณาธิการโดย คณะบรรณาธิการสาขาวิชาเทคโนโลยี สสวท.

 

อ้างอิง

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/Stereoscope
  2. https://www.google.com/get/cardboard/
  3. https://www.google.com/edu/expeditions/

Google Educator Groups Thailand (GEG Thailand) กับชุมชนแห่งการพัฒนาวิชาชีพครู

     ปัจจุบันการเรียนรู้ออนไลน์มีบทบาทมากขึ้น  สามารถเรียนรู้ได้มากและเร็วในเวลาอันสั้น ทำอย่างไรผู้เรียนจึงจะสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่น่าเชื่อถือ เลือกใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่มีมากมายได้อย่างมีวิจารณญาณ จึงเป็นเรื่องท้าทายของผู้สอนที่ต้องเรียนรู้และปรับตัวให้ทันต่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

      เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง นอกจากจะมีบทบาทสำคัญในแวดวงธุรกิจแล้ว ในวงการศึกษาก็เช่นเดียวกันมีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้เพื่อพัฒนาการศึกษา  โดยมีหน่วยงานเอกชนพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย กูเกิ้ล(Google) ก็เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ให้บริการ Google Apps for Education โดยโรงเรียนที่มีชื่อโดเมนทางการศึกษา (.ac.th) เป็นของตนเอง สามารถใช้แอปพลิเคชันของกูเกิลได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้สอนสามารถบริหารจัดการห้องเรียนด้วย Google Classroom สร้างแบบทดสอบออนไลน์ด้วย Google Form และตรวจข้อสอบด้วยส่วนเสริมชื่อ Flubaroo สร้างเว็บไซต์ด้วย Google Site  ถ่ายทอดสดการสอนด้วย Hangouts On Air  ตัดต่อวิดีโอออนไลน์และนำเสนอด้วย Youtube  สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน สามารถที่จะเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

      เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนรู้ การมอบหมายงานสามารถทำได้อย่างรวดเร็วในทันที ครูสามารถสอนและบันทึกการสอนได้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติม เรียนล่วงหน้าหรือทบทวนบทเรียนได้อย่างอิสระนอกเวลาเรียนปกติ เครื่องมือเหล่านี้ช่วยลดข้อจำกัดต่างๆจากการสอนในห้องเรียนปกติได้ หากผู้สอนสามารถเลือกใช้สื่อ เทคโนโลยี ช่วยในการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแก้ไขปัญหา รวมทั้งการพัฒนางานและสร้างผลงานต่างๆก็สามารถทำได้ โดยมีกลุ่มครูแกนนำ GEG สามารถช่วยผู้สอนเรียนรู้วิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      กลุ่มผู้สอนที่รวมตัวกันในนามของ Google Educator Groups (GEG)  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก Google ในการจัดกิจกรรมต่างๆ  รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อขยายผลการใช้ Google Apps for Education

 geg001
รูปที่ 1 แผนที่กลุ่ม GEG ทั่วโลก

      Google Educator Groups ให้ความหมายของกลุ่มไว้ คือ “ชุมชนนักการศึกษาที่เรียนรู้ แบ่งปัน และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่กันและกันเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียนด้วยโซลูชันด้านเทคโนโลยี ทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน” Google Educator Groups มีกระจายอยู่ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย มีการตั้งกลุ่มของ Google Educator Groups Thailand (GEG Thailand) มีหน้าที่ดูแล ประสานงาน ให้การฝึกอบรมแกนนำครู GEG ซึ่งกลุ่มของ GEG Thailand ได้แบ่งเป็นกลุ่มย่อย เช่น GEG Central Bangkok, GEG Korat, GEG Roiet, GEG Chiang Rai, GEG Phayao, GEG Yala แกนนำครู GEG (GEG Leader) มีความเชี่ยวชาญในการนำแอปพลิเคชันของกูเกิลไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

geg002
รูปที่ 2 แบนเนอร์ของกลุ่ม GEG Thailand

     สามารถช่วยเหลือเพื่อนครูในการบริหารจัดการห้องเรียน การดูแลระบบ และการอบรมบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้  การเลือกใช้แอปพลิเคชันที่เหมาะสมในการจัดการเรียนรู้

geg003
รูปที่ 3 GEG Leader Thailand

ประโยชน์จากการรวมกลุ่มแกนนำครู GEG

  1. ประสานความร่วมมือ การสมัครและติดตั้งระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้ Google Apps for Education
  2. ประสานความร่วมมือกับ GEG Thailand เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนในการจัดกิจกรรม
  3. ได้รับข้อเสนอแนะ แนวทาง คู่มือการใข้งาน การแชร์ประสบการณ์ของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ด้วยแอปพลิเคชันของ Google และด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา
  4. พัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเป็นชุมชนแห่งการพัฒนาวิชาชีพครูที่สนใจในเรื่องเดียวกัน

      กลุ่มแกนนำครู GEG เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างชุมชนแห่งการพัฒนาวิชาชีพครูที่ประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เมื่อเกิดการรวมกลุ่มการเรียนรู้ของครูก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เทคโนโลยีจะช่วยให้ครูสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็วผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งการจัดการเรียนรู้ข้ามโรงเรียน สามารถร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้สอนที่ใช้ Google Apps for Education ในการจัดการเรียนรู้ได้จาก https://www.google.co.th/intl/th/landing/geg/groups เลือกกลุ่มย่อยของ GEG

โรงเรียนที่สนใจสามารถสมัครได้อย่างไร

          โรงเรียนที่มีความประสงค์ขอสมัครใช้บริการ Google Apps for Education คลิกลิงก์ http://bit.ly/thai-edu เพื่อกรอกข้อมูลรายละเอียด จากนั้นจะมีผู้ให้บริการติดต่อกลับมาในภายหลัง

          หลังจากสมัครรับบริการแล้วต้องเตรียมความพร้อมและตั้งค่าระบบตามคำแนะนำจากลิงก์นี้ http://goo.gl/60RDXi

แนะนำแหล่งเรียนรู้ที่ครูสามารถเข้าไปศึกษา และนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้

เว็บไซต์ GEG Thailand

geg004
รูปที่ 4 เว็บกลุ่ม GEG ทั่วประเทศ http://gg.gg/gegth หรือ https://sites.google.com/site/gegthaiedu

 

เว็บไซต์คู่มือการใช้ Google Apps for Education

geg005
รูปที่ 5 เว็บไซต์คู่มือการใช้ Google Apps for Education https://sites.google.com/site/thaitrainingsite

         Google Apps for Education เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ อำนวยความสะดวกให้ครูไทยก้าวทันเทคโนโลยี โดยมีกลุ่มแกนนำครู GEG (GEG Leader) ที่มีความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมกันเป็นชุมชนแห่งการพัฒนาวิชาชีพครูที่สามารถช่วยเหลือ พร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปัน สร้างแรงบันดาลใจ เติมเต็มศักยภาพ ให้กับตนเองและเพื่อนครู เพื่อให้ผู้สอนนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน เสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนต่อไป

ยกร่างบทความโดย นายเอกรินทร์ ศรีผ่อง
บรรณาธิการโดย คณะบรรณาธิการสาขาวิชาเทคโนโลยี สสวท.

อ้างอิง

  1. Anchalee  Sutthisawang. Google Educator Groups : Changing the world of Education together [Online].
    Avilable : https://docs.google.com/presentation/d/1YqlGH1-6X-eCahnTV5IL1U2zzco3LIVqKVdluuIm5jY/edit?hl=en-GB&forcehl=1#slide=id.g2b7928190_2_90 [2016, Feb 5]
     
  2. Jarunee Sinchairojkul , Supachai Sasikanok. 2558. คู่มือการใช้ Google Apps for Education [ออนไลน์].
    Avilable : https://sites.google.com/site/thaitrainingsite [25 มกราคม 2559]
     
  3. GEG Community Board. 2015. Bringing the tribe together: GEG Champion Teachers Workshops [Online],
    Avilable : https://docs.google.com/document/d/1pFg0LdkOiHam6E_jL8iuPnconsIqonEWkOsL4T88Ia0/edit?hl=th&forcehl=1 [2016, Jan 25]
     
  4. Google. Google Educator Groups [Online].
    Avilable : https://www.google.com/landing/geg  [2016, Jan 25]

แนวทางการจัดการเรียนการสอนด้วย Google Classroom

      ในปัจจุบันสถานศึกษา ผู้สอน  ผู้เรียน สามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  มีการพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยจัดการเรียนการสอนให้สามารถนำความรู้ดังกล่าวมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  ทั้งในด้านการจัดการชั้นเรียนของผู้สอน  ความสะดวกสบายในการเข้าถึงความรู้ของผู้เรียน  เครื่องมือที่ช่วยจัดการชั้นเรียน  เช่น  Edmodo, Socrative, MoodleMobile, Student Organizer และ  Google Apps for education

      บทความนี้ ผู้เขียนขอแนะนำ Google Apps for education ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือจัดการเรียนการสอนที่กูเกิลอนุญาตให้โรงเรียน มหาวิทยาลัย หน่วยงานด้านการศึกษา ใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถจัดการการเรียนรู้แบบทำงานร่วมกันได้ทุกที่ทุกเวลา  เครื่องมือเหล่านี้ เช่น  Gmail  Docs  Calendar  Drive  นอกจากนี้ Google ยังได้พัฒนา Google  Classroom ที่ช่วยผู้สอนในการจัดการชั้นเรียน  เช่น  สร้างงาน  เก็บงาน ติดตามกำหนดการส่งงาน  แสดงความคิดเห็น  ตรวจสอบการส่งงานและคะแนน [1]

image001
รูปที่  1  หน้าแรกเว็บไซต์  Google  Classroom

Google  Classroom  ทำอะไรได้้บ้าง

          ผู้สอนสามารถใช้ Google Classroom เพื่อจัดการชั้นเรียนได้  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • เพิ่มผู้เรียน  หรือแจ้งรหัสเพื่อให้ผู้เรียนเข้าชั้นเรียนได้
  • สร้าง  ตรวจ  และให้คะแนนงาน
  • ตรวจสอบกำหนดการส่งงาน  สถานะการส่งงานและคะแนน
  • เนื้อหาที่อยู่ในชั้นเรียนจะถูกจัดเก็บอยู่ใน Google Drive
  • ส่งประกาศ แชร์แหล่งข้อมูล พูดคุยหรือตอบคำถามตามหัวข้อที่ผู้สอนกำหนดให้
  • เพิ่มผู้สอนได้มากกว่าหนึ่งคนในรายวิชาเดียวกัน
  • ใช้ผ่านอุปกรณ์ได้หลายชนิด  เช่น คอมพิวเตอร์  แท็บเล็ต  สมาร์ทโฟน

 

ตัวอย่างกระบวนการจัดการชั้นเรียน

  1. ผู้สอนประกาศรายละเอียดการเรียน นำสื่อการเรียนรู้  ใบความรู้  หรือกำหนดใบงานให้ผู้เรียนทำ
  2. ผู้เรียนรับทราบข้อมูลจากประกาศ  ศึกษาจากสื่อการเรียนรู้ ใบความรู้  และทำใบงานตามที่ผู้สอนกำหนด และส่งคืนเพื่อตรวจให้คะแนนต่อไป
  3. ผู้สอนตรวจให้คะแนนใบงานหรือแบบฝึกหัดพร้อมส่งเฉลยคืนผู้เรียน 
  4. ผู้สอนดูคะแนนของผู้เรียนทั้งแบบรายบุคคลหรือทั้งชั้น และผู้เรียนสามารถดูคะแนนได้

image003
รูปที่  2  ตัวอย่างกระบวนการทำงานของ  Google  Classroom [2]

แนวทางการจัดการเรียนการสอนด้วย  Google  Classroom

          การนำ  Google  Classroom  มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน  สถานศึกษาจัดเตรียม Google  Account ให้กับผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งสามารถนำมาใช้จัดการเรียนรู้ได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  รวมทั้งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน   ตัวอย่างการจัดการวิชาต่างๆ ในชั้นเรียนด้วย  Google  Classroom  ดังรูปที่  3  และ  4

image005
รูปที่  3  ตัวอย่างชั้นเรียนใน Google  Classroom ผ่านเว็บบราวเซอร์

image007
รูปที่  4  ตัวอย่างชั้นเรียนใน Google  Classroom ผ่านสมาร์ทโฟน

          การเตรียมความพร้อมของผู้สอนโดยผู้สอนจะเป็นคนสร้างชั้นเรียน  ในที่นี้ผู้สอนสามารถสร้างห้องเรียนแต่ละห้อง  เช่น ม.5/1 ม.5/2  เพื่อสะดวกในการจัดการเรียน และแจ้งรหัสชั้นเรียนให้ผู้เรียนทราบ  โดยอาจจะแจ้งในห้องเรียน  แจ้งผ่านอีเมล  หรือแจ้งผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ  เช่น Line  Google+  Facebook   ดังรูปที่  5

image009
รูปที่  5  ภาพตัวอย่างการเข้าร่วมชั้นเรียนด้วยรหัสชั้นเรียน

         ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริการของ Google  Classroom  ให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยเริ่มต้นจากการทำกิจกรรมง่ายๆ ที่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากรู้ เช่น ตอบคำถามหรือแบบฝึกหัด แล้วจึงพัฒนาเป็นลำดับต่อๆ ไป โดยประยุกต์ใช้ร่วมกับการเรียนการสอนในห้องเรียน

         ผู้สอนสามารถติดตามและวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียนจากการสังเกต การเข้าร่วมเรียนและการส่งงานของผู้เรียนผ่าน  Google  Classroom  ได้  จากประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ของผู้เขียนพบว่า  ทำให้ผู้เรียนมีวินัยในการส่งงาน มีความสนใจเรียนมากขึ้น  ปริมาณการส่งงานเพิ่มขึ้น  ผู้เรียนพอใจที่จะเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์ของตนเองนอกเวลาเรียน  เพราะเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาและกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากขึ้น

         จากผลวิจัยการใช้  Google  Classroom  ในห้องเรียนของคณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  พบว่านักศึกษาที่เรียนผ่าน  Google  Classroom  มีความรู้สึกถึงความสะดวกสบายในการใช้เทคโนโลยีในการเรียนมากกว่าร้อยละ 80   ผู้สอนและเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการจัดการห้องเรียนขนาดใหญ่  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ[3]

บทสรุป

       Google Glassroom เป็นบริการที่ผู้สอนสามารถนำมาใช้จัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนควรออกแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพห้องเรียนปกติ บริการของ Google Classroom ทำให้เรียนรู้ทุกที่ทุกเวลาตามต้องการ ผู้เรียนจึงพอใจที่จะเรียนรู้ สามารถสร้างชิ้นงาน ทำการบ้านหรือติดตามงาน ถึงแม้บริการจะอำนวยสะดวกและมีข้อดีหลายประการ การเรียนในชั้นเรียนยังเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีครูควบคู่กันไป  เพราะเทคโนโลยีไม่สามารถทดแทนครูผู้สอนได้ทั้งหมดโดยเฉพาะเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรม   

ยกร่างบทความโดย นายจตุรภัทร  ประทุม  โรงเรียนคำนาดีพิทยาคม
บรรณาธิการโดย คณะบรรณาธิการสาขาวิชาเทคโนโลยี สสวท.

อ้างอิง

  1. Google.  ศูนย์ช่วยเหลือของ Google Classroom,  [ออนไลน์]. 
    เข้าถึงจาก  https://support.google.com/edu/classroom/?hl=th#topic=6020277 [2016,Jan 25]
  2. Google.  ทำความเข้าใจเกี่ยวกับงานของ Classroom,  [ออนไลน์]. 
    เข้าถึงจาก https://support.google.com/edu/classroom/answer/6020260?hl=th&ref_topic=6020277 [2016,Jan 25]
  3. A. Florence, A. Suriya and S. Janjarasjitt, “Application of Online Tools for Class Support and Management: A Case Study,” in proceeding of International e-Learning Conference (IEC 2015)

บริการจากกูเกิลกับชีวิตประจำวัน

        หลายคนอาจรู้จักกูเกิลในฐานะเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูล (search engine) ที่มีความรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริการค้นหาข้อมูลที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

google logoรูปที่ 1 ตราสัญลักษณ์บริษัทกูเกิล[1]

  นอกจากบริการค้นหาข้อมูลแล้ว กูเกิลมีบริการหลายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

image002image003

รูปที่ 2 บริการค้นหาข้อมูลของ google

เช่น เตือนความจำ ตารางนัดหมาย สนทนา อีเมล แปลภาษา ตัวอย่างบริการของกูเกิลดังนี้

  • Gmail บริการรับส่งอีเมลเพื่อการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ผู้ที่มีบัญชีผู้ใช้ Gmail สามารถใช้เชื่อมโยงกับบริการอื่นๆ ของกูเกิลได้ เข้าใช้บริการได้ที่ www.gmail.com หรือใช้งานผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต

Gmail

รูปที่ 3 Gmail

  • Google Calendar  บริการปฏิทินและสมุดนัดหมาย ผู้ใช้สามารถทำการบันทึกวันเวลาของการนัดหมาย กำหนดแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนถึงเวลานัดได้โดยเลือกว่าจะให้เตือนผ่านป๊อบอัพหรืออีเมล นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งปันตารางนัดหมายกับบุคคลอื่นได้ เข้าใช้บริการได้ที่ www.google.com/calendar หรือใช้งานผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต

 

Google Calendar

รูปที่ 4 Google Calendar

  • Google Search บริการค้นหาข้อมูลที่เป็นข้อความ ภาพ เสียง และวิดีโอ โดยสามารถกำหนดรายละเอียดในการค้นหาเช่น ช่วงเวลาที่ข้อมูลนั้นๆ ถูกอัพโหลด ชนิดของไฟล์ รูปแบบของภาพ  ขนาดของภาพ  เข้าใช้บริการได้ที่ www.google.com หรือใช้งานผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต
  • Google+ บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social networking) ทำให้เราแบ่งปันข้อมูลทั้งข้อความ ภาพ เสียง กับเพื่อนที่อยู่ในแวดวง (circle) ได้ เข้าใช้บริการได้ที่ https://plus.google.com หรือใช้งานผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต

 Google+

รูปที่ 5  Google+ [2]

  • Hangouts บริการสำหรับติดต่อสื่อสารผ่านข้อความ เสียงหรือวิดีโอ การสนทนาผ่านวิดีโอนั้นสามารถพูดคุยเป็นกลุ่มได้ครั้งละไม่เกิน 10 คน[3]   การเข้าใช้บริการต้องใช้ผ่าน Google+ ที่ https://plus.google.com/ หรือใช้งานผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต

image008

รูปที่ 6  โปรแกรม Hangouts

  • Google Drive บริการพื้นที่เก็บข้อมูลระบบคลาวด์ นอกจากนี้ยังมีบริการสำหรับสร้างไฟล์ประมวลผลคำ (Google docs) ไฟล์ตารางงาน (Google sheets) ไฟล์นำเสนอ (Google slides) แบบสอบถาม (Google forms) โดยเข้าใช้งานได้ที่ www.google.com/drive/ หรือใช้งานผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต

image009

รูปที่ 7 Google Drive

  • Google Sites บริการพื้นที่และเครื่องมือสำหรับการสร้างเว็บไซต์ เว็บไซต์ที่ได้มี URL คือ https://sites.google.com/site/ชื่อเว็บตามที่ตั้งไว้/  โดยสามารถใส่ข้อความ ภาพแล้ว และลิงค์เชื่อมโยงวิดีโอจาก YouTube และสร้างลิงค์สำหรับการดาวน์โหลดไฟล์ได้อีกด้วย ช่องทางสำหรับการสร้างเว็บคือ https://sites.google.com/

Google Sites

รูปที่ 8 Google Sites

  • Blogger บริการสร้างบล็อก (Blog) มีเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการตกแต่งบล็อก เช่น การปรับแต่งข้อความ การใส่ภาพ ลิงค์ วิดีโอ เข้าใช้บริการได้ที่ www.blogger.com หรือใช้งานผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต

Blogger

รูปที่ 9 Blogger

  • YouTube ให้บริการพื้นที่สำหรับแบ่งปันวิดีโอ เช่นสื่อการสอน รายการโทรทัศน์ รีวิวอุปกรณ์ สาธิตการประกอบอาหาร ฯลฯ  เข้าใช้บริการได้ที่ www.youtube.com หรือใช้งานผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต

YouTube

รูปที่ 10 YouTube นำเสนอสื่อการสอนภาษาไพทอน

  • Google Translate บริการช่วยแปลภาษา มีทั้งคำอ่าน และเสียงอ่าน ทำให้เราฝึกออกเสียงได้ สามารถแปลได้ทั้งคำศัพท์ ประโยค และเว็บเพจ หากป้อนเป็นคำจะแปลความหมายพร้อมบอกชนิดของคำด้วย เข้าใช้บริการได้ที่ https://translate.google.com หรือใช้งานผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต

Google Translate

รูปที่ 11 การใช้ Google Translate แปลคำศัพท์

 

Google Translate รูปที่ 12 การใช้ Google Translate แปลเว็บ

  • Google Maps บริการค้นหาสถานที่ การนำทาง และข้อมูลเส้นทาง  ในบางพื้นที่สามารถใช้บริการ Street View เพื่อแสดงภาพพื้นที่จริงได้  ใช้บริการได้ที่ https://maps.google.com หรือใช้งานผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต


Google Maps

Street view

รูปที่ 13 Google Maps และ Street view

  • เครื่องมือแปลงหน่วยวัดค่า บริการแปลงหน่วยวัดค่าต่างๆ จากหน่วยหนึ่งไปเป็นอีกหน่วยเช่นอัตราแลกเปลี่ยนเงิน อุณหภูมิ ความยาว ปริมาตร 

 

การแปลงค่าเงิน

รูปที่ 14 การแปลงค่าเงิน

  • Calculator บริการเครื่องคิดเลขที่สามารถคำนวณค่าต่างๆ เช่น sin, cos, tan, log วิธีเข้าใช้บริการให้พิมพ์คำว่า “calculator”  ในช่องค้นหาบนเว็บไซต์กูเกิล ดังตัวอย่างในรูปที่ 10

google Calculator

รูปที่ 15 ตัวอย่างหน้าต่าง Calculator

  • Google Play บริการร้านค้าออนไลน์ ที่มีแอพลิเคชัน เพลง ภาพยนตร์และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่ให้ดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรีและเสียค่าใช้จ่าย ใช้บริการได้ที่ https://play.google.com หรือใช้งานผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต
  • Android ระบบปฏิบัติการที่ถูกสร้างเพื่อใช้งานบนสมาร์ทโฟน แทบเล็ต สมาร์ททีวี  
  • Google Chrome เว็บเบราว์เซอร์ใช้สำหรับเปิดเว็บเพจ สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้จาก www.google.com/chrome/

การใช้งานบางบริการของกูเกิลต้องลงชื่อเข้าใช้งาน (login) โดยใช้บัญชีผู้ใช้ Gmail หรือบัญชีผู้ใช้กูเกิล (Google Account) เนื่องจากกูเกิลมีระบบการจัดเก็บข้อมูลการใช้งานและจะทำการเชื่อมโยงข้อมูล(Synchronize) เมื่อเปิดใช้งานบริการต่างๆ ของกูเกิล เช่น ประวัติการเข้าชม คั่นหน้า (Bookmark) ปฏิทิน สมุดติดต่อ (Contact) [5]

ข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานของเราว้ทำให้กูเกิลสามารถแนะนำข้อมูลได้ใกล้เคียงความต้องการของเราได้มากขึ้นเรื่อยๆ และอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต เช่น การค้นหาสถานที่ เส้นทางการเดินทาง หรือแม้แต่วิธีเดินทาง การแจ้งเตือนนัดหมายต่างๆ และวันเกิด โดยใช้ข้อมูลจากปฏิทิน (Google calendar) มีการดึงเบอร์โทรศัพท์จากสมุดติดต่อ (Contact) ในโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android มาเก็บไว้ในสมุดติดต่อ (Contact) ของบัญชีผู้ใช้กูเกิล การเชื่อมโยงข้อมูลของกูเกิลจึงส่งผลให้ผู้ใช้มีความสะดวกสบายมากขึ้น

เมื่อมองอีกมุมหนึ่งก็เห็นถึงอันตรายหากบัญชีผู้ใช้กูเกิลถูกโจรกรรม นั่นหมายถึงข้อมูลส่วนตัวของเราอาจถูกนำไปใช้ในทางไม่ดี แม้กูเกิลจะให้มีการตรวจสอบ 2 ขั้นตอน (2-step Verification) เพื่อทำให้การลงชื่อเข้าใช้งานทำได้ปลอดภัยขึ้นโดยต้องระบุบัญชีผู้ใช้กูเกิลและรหัสผ่าน รวมทั้งส่งข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือเพื่อตรวจสอบความเป็นเจ้าของ[6] อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ควรพิจารณาว่าจะเลือกใช้บริการใดและจะเชื่อมโยงข้อมูลกับบัญชีผู้ใช้กูเกิลหรือไม่ หากมีความจำเป็นต้องใช้ควรมีความรอบคอบ ระมัดระวังไม่ให้รหัสผ่านและโทรศัพท์มือถือตกไปอยู่ในมือของผู้อื่น

หมายเหตุ  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมผลิตภัณฑ์ของกูเกิลได้ที่ http://www.google.com/about/products/

ยกร่างบทความโดย นางสาวชุลีพร สืบสิน  โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต จ.ภูเก็ต
บรรณาธิการโดย คณะบรรณาธิการสาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.

อ้างอิง

[1] Available: http://www.google.com (Access 20 January 2015).

[2] “ทำความรู้จักกับ Google+”. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: http://www.google.com/+/learnmore/features.html (วันที่สืบค้น 21 มกราคม 2558).

[3] Available: http://www.google.com/+/learnmore/hangouts/ (Access 29 January 2015).

[4] “ทำไมจึงควรลงชื่อเข้าใช้ Chrome”. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://support.google.com/chrome/answer/165139?hl=th (วันที่สืบค้น 21 มกราคม 2558).

[5] “About 2-Step Verification”. [Online]. Available: http://support.google.com/accounts/answer/180744?hl=en (Access 21 January 2015).