การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา ตอนที่ 3
3. ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving Skills)
การดำเนินชีวิตในปัจจุบันผู้เรียนต่างต้องประสบกับสิ่งต่างๆ มากมาย ซึ่งสิ่งที่พบเจอเหล่านี้บางครั้งอาจเป็นปัญหาหรืออุปสรรคที่ต้องดำเนินการแก้ไขเพื่อให้การดำเนินชีวิตหรือ การทางานสามารถดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นในการดำเนินการเพื่อแก้ไขจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ทักษะในการแก้ปัญหา ที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ
ทักษะการแก้ปัญหานี้ได้มีผู้ที่นิยามความหมายไว้มากมาย เช่น
- สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550 ) ได้ให้ความหมายของทักษะการแก้ปัญหาว่าหมายถึง การใช้ประสบการณ์ที่ค้นพบด้วยตนเองที่เกิดจากการสังเกต การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตีความ และการสรุปความเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
- มัณฑรา ธรรมบุศย์ (2551) กล่าวว่าทักษะในการแก้ปัญหาเป็นความสามารถในการรู้จักขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นในยามจำเป็น รู้จักพัฒนาและประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา สามารถหาทางแก้ปัญหาและวางแผนแก้ปัญหา ได้อย่างถูกต้อง
จากที่กล่าวมาข้างต้น ทักษะการแก้ปัญหา จึงเป็นความสามารถในการคิดและลงมือปฏิบัติ ซึ่งจำเป็นต้องมีการนำองค์ความรู้และทักษะต่างๆมาใช่ร่วมกันเพื่อที่จะส่งผลให้สามารถแก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการในแต่ละสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม โดยทักษะการแก้ปัญหานี้อาจแสดงออกในรูปแบบของการกระบวนการแก้ปัญหา โดยที่ผู้สอนสามารถออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยการกำหนดสถานการณ์จำลองหรือนำข้อมูลจากสถานการณ์จริงมาให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ โดยอาจเป็นการสอนในรูปแบบของการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning : PBL) หรือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก(Problem – based Learning : PBL) โดยในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการแก้ปัญหา มีดังนี้
ขั้นที่ 1 การทาความเข้าใจในปัญหา
ขั้นที่ 2 การนิยามและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
ขั้นที่ 3 การนาเสนอทางเลือกหรือแนวทางในการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 4 ตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
ขั้นที่ 5 การลงมือปฏิบัติการแก้ปัญหาและตรวจสอบวิธีการแก้ปัญหา
จากขั้นตอนของกระบวนการแก้ปัญหาข้างต้นจะพบว่าขั้นตอนต่างๆ นั้นมีความสอดคล้องกับขั้นตอนของกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะสามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการที่จะช่วยฝึกทักษะการแก้ปัญหาโดยการใช้สถานการณ์ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่หาความรู้เพื่อหาแนวทางแก้ไข ได้ฝึกทักษะการคิด ได้ลงมือปฏิบัติ ช่วยให้ผู้เรียนฝึกการตัดสินใจ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถนำทักษะจากการเรียนมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
บทความโดย นางสาวสุธิดา การีมี
PBL, Problem – based Learning, problem solving, Project-based Learning, สุธิดา การีมี