Skip to main content

การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา ตอนที่ 5

5. ผลที่เกิดจากการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา

การจัดการเรียนการสอนกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยฝึกผู้เรียนให้เกิดทักษะการคิดสร้างสรรค์และทักษะการปัญหา ซึ่งทั้งสองทักษะนี้เป็นสิ่งจาเป็นในการดาเนินชีวิตในยุคศตวรรษที่ 21 การจัดการศึกษา ในศตวรรษนี้จึงควรเป็นการจัดการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้คิดเพื่อสร้างความรู้ สืบค้นความรู้จากแหล่งต่างๆ มีการวิเคราะห์และตัดสินใจในเรื่องต่างๆ อย่างถูกต้อง ตลอดจนการที่ให้ผู้เรียนได้ ลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ต่างๆ อย่างเป็นกระบวนการ ซึ่งการฝึกฝนให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหานี้เองจะเป็นภูมิคุ้มกันให้กับผู้เรียนในการเชื่อมโยงสิ่งที่ได้ฝึกฝนในห้องเรียนไปสู่การนาไปใช้ในการดาเนินชีวิตจริง การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมจึงเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาการเรียนรู้ของเยาวชนผ่านการคิดอย่างเป็นขั้นตอนซึ่งเป็นการต่อยอดความรู้ที่มีอยู่เดิมให้ขยายไปจนเกิดมุมมองใหม่ๆ ในการแก้ปัญหานั้นๆ ได้อย่างครอบคลุมและถูกต้องจนนาไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการที่มีความสามารถนาไปแข่งขันในเชิงธุรกิจ และเป็นการเพิ่มความสามารถทางปัญญาของเยาวชนไทย ที่เป็นกาลังในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้ทักษะการคิดสร้างสรรค์และทักษะการปัญหานี้ยังสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ที่บางส่วนได้กล่าวถึงการให้ความสาคัญการพัฒนานวัตกรรมและการใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกมิติเพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศ โดยจะมุ่งเน้นการนาความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม ทาให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจทั้งในเรื่องกระบวนการผลิตและรูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ด้วยการใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกภาคส่วนในระดับพื้นที่ ท้องถิ่น และชุมชนอีกด้วย

 

6. การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหาในชั้นเรียน

การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา โดยผ่านการใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมนั้นสามารถใช้เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนได้หลากหลายวิธี (Johnson, Peters-Burton, & Moore, 2016) ตัวอย่างเช่น

  •  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน
  •  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
  •  การจัดการเรียนรู้ด้วยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม Hands-on

 

ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพของเด็กไทยในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของความก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ เด็กไทยควรจะต้องมีการพัฒนาภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ด้วยการที่ฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหากับผู้เรียนตั้งแต่วัยเด็กเพื่อที่จะได้พร้อมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพสามารถใช้ทักษะเหล่านี้ในการแก้ปัญหาที่ประสบความสาเร็จในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นแนวทางหนึ่งของการพัฒนาทักษะบางทักษะแหงศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการแกปญหา ทักษะการคิด รวมทั้งการสร้างความคิดสร้างสรรค์ อีกด้วย

 

บทความโดย นางสาวสุธิดา การีมี

 

อ้างอิง

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. ความคิดสร้างสรรค์.กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.

วรภัทธ์ ภู่เจริญ. คิดอย่างเป็นระบบและเทคนิคการแก้ปัญหา. กรุงเทพมหานคร : หจก.สามลดา. 2550.

ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2557). สะเต็มศึกษา. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Ed.).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ความรู้เบื้องต้นสะเต็ม.กรุงเทพมหานคร:สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2557.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.
2560-2564). 2560. [ออนไลน์]แหล่งที่มา :http://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420 [15 กันยายน 2560]

สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครราชสีมา. หนังสือเรียนรายวิชาเลือกสาระทักษะการเรียนรู้ วิชา แก้ปัญหาด้วยกระบวนการคิดเป็น (ทร 23021) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. 2559. [ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://202.143.165.163/ebook_think/ [7 มกราคม 2559]

สุรเชษฐ์ ไชยอุปละ.ความคิดสร้างสรรค์กับกระบวนการเทคโนโลยี . [ออนไลน์] 2559. แหล่งที่มา: http://designtechnology.ipst.ac.th/images/PDF/article48/Creative.pdf [7 มกราคม 2559]

สุรเชษฐ์ ไชยอุปละ. ความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบและเทคโนโลยี. [ออนไลน์]. 2559. แหล่งที่มา: http://designtechnology.ipst.ac.th/images/PDF/publishpaper/CreativewithdT.pdf  [7 มกราคม 2559]

Howard Middleton. Creative Thinking, Values and Design and Technology Education. International Journal of
Technology and Design Education Volume 15 (2005) :61–71.

Johnson, C. C., Peters-Burton, E. E., & Moore, T. J. (2016). STEM road map : a framework for integrated STEM education (pp. 362).
Retrieved from http://gg.gg/691n1

Yi Lin Wong and Kin Wai Michael SiuIs. Is there creativity in design? From a perspective of school design and technology in Hong Kong. Asia Pacific Educ. Rev. Volume 13 (2012) : 465–474