Skip to main content

สุขภาพและความปลอดภัย

|คำแนะนำเบื้องต้น | การจัดวางอุปกรณ์ และท่านั่ง | การวางและเคลื่อนไหวมือ แขน|
| อุปนิสัยในการทำงาน | สุขภาพและการออกกำลังกาย |


คำแนะนำเบื้องต้น 

          การทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ อาจทำ ให้เกิดผลเสียต่อ สุขภาพร่างกายได้ ท่านจึงควรศึกษาคำ แนะนำเพื่อสุขภาพและความปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยง ความเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วย และเพื่อความสะดวงสบายใน การใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของตัวท่านเอง

          มีการทดลองพบว่าการนั้งพิมพ์งานอยูกับที่เป้นเวลานานๆ หรือการจัดตั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์ใน ตำแหน่งที่ไม่ถูก สุข ลักษณะ อุปนิสัยการทำงานที่ไม่ ถูกต้อง หรือการมีปัญหา ด้านสุขภาพ อาจทำให้มีอาการปวดข้อมือ ปวดเส้น เอ็น หรือมีอาการอักเสบได้

อาการที่อาจเตือนให้ทราบ

  • อาการชา
  • อาการเจ็บ ๆ คัน
  • อาการปวดตุบๆ
  • อาการปวดแสบปวดร้อน
  • อาการแสบ
  • อาการปวดมือ ข้อมือ แขนและคอ

          อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ในเวลาที่คุณกำลังพิมพ์ เอกสารอยู่หรือในเวลา อื่นที่ไม่ได้ใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือ แม้ในเวลา กลางคืน หากคุณมีอาการ ข้างต้นหรือมีอาการ  อื่นที่คิดว่าน่าจะเนื่องมาจากการใช้คอมพิวเตร์ คุณควร ปรึกษาแพทย์ทันที ดัวนั้น คำแนะนำเหล่านี้จะอธิบายถึง วิธีการจัดวางเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ถูกสุขลักษณะท่านั่งที่ ถูกต้อง และความสัมพันธ์ระหว่าง สุขภาพกับอุปนิสัยการ ทำงานของคุณในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน

          สิ่งแวดล้อมต่างๆ ในการทำงานจะเป็นปัจจัยในการตัดสิน สมรรถภาพ ในการทำงานของเรา อีกทั้งยังเป็นตัวบ่งชี้ว่าเรามี นิสัยการทำงานที่ถูกสุขลักาณะ และปลอดภัยหรือไม่ การ ปฎิบัติตามคำแนะนำ จะทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ถูกสูขลักษณะ  ซึ่งจะทำให้เกิดประสิธิภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน

วิธีการปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • การจัดวางแป้นพิมพ์ เมาส์ และอุปกรณ์ป้อนข้อมูล
  • การวางและเคลื่อนไหวมือแขน
  • มุมมองภาพที่ปรากฎบนจอ
  • การจัดแสงสว่าง
  • อุปนิสัยในการทำงาน
  • สุขภาพและการออกกำลังกาย
  • 10 ขั้นตอนเพื่อความปลอดภัย

การจัดวางแป้นพิมพ์ เมาส์ และอุปกรณ์ป้อนข้อมูล

          แป้นพิมพ์ เมาส์ และอุปกรณ์ป้อนข้อมูล ควรจัดวางไว้ในที่ซึ่ง สะดวกในการวางแขนและมือได้สบายๆ ตามธรรมชาติ ไม่เกร็งมาก

  • เลือกสถานที่ซึ่งจะใช้วางอุปกร์ในการทำงานให้มีบริเวณพอ ที่จะวางเครื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องมือ เครื่องใช้ ต่างๆ
  • จัดวางแป้นพิมพ์ไว้ตรงหน้าคุณเพื่อให้นั่งพิมพ์ได้โดยไม่ต้อง เกร็งไหล่ และสามารถปล่อยให้แขนห้อยลงข้างตัวได้ ตามธรรมชาติ
  • วางเมาส์ไว้ในระดับเดียวกับแป้นพิมพ์

การจัดวางเฟอร์นิเจอร์และท่านั่ง

  • ปรับเฟอร์นิเจอร์ให้คุณนั้งทำงานได้สบายพอเหมาะ และถ้าเป็น ชนิดที่ปรับระดับความสูงได้ ก็ควนปรับให้สูงพอดี ถ้าปรับไม่ได้ ก็จัดเก้าอี้ให้ เหมาะสมตามต้องการ
  • ปรับความสูงของเก้าอี้ และที่วางอุปกรณ์ใน การ ทำงานเพื่อให้ช่วงแขนตอนล่าง และข้อมือของคุณ ขนาดกับพื้น
  • พยายามวางแขน และมือให้อยุ่ในตำแหน่งที่เหมาะสม อีกทั้ง พยายามอย่าให้เกิดอาการเกร็ง ใต้ขา ใกล้ขอพับ เข่า และน่อง หาที่รองเท้ามาวางเท้าหากเก้าอี้ ของคุณ สูงเกินไปจนคุณ วาง เท้าบนพื้นได้ไม่เต้มฝ่าเท้า
  • ปรับพนักเก้าอี้และนั่งให้ช่วงหลังด้านล่างพิงได้ถนัด เวลาทำงาน
  • เวลาทำงานหัดนั่งตัวตรง ปล่อยตัวตามสบาย อย่าให้ ไหล่งอ หรือพิงไปทางข้างหลังมากเกินไป

วางเครื่องใช้ในการทำงานที่ต้องการหยิบใช่บ่อยๆ ไว้ใกล้มือ

แขนช่วงล่างและข้อมือควรให้ขนาดกับพื้น

 

มุมมองภาพที่ปรากฎบนจอ

          หากจัดวางตำแหน่งและมุมมองของจอภาพให้เหมาะสมจะช่วยบรรเทาอาการเมื่อล้าของตา กล้ามเนื้อ และคอได้

  • วางจอภาพให้อยุ่ด้านหน้าตรง ในระยะที่เหมาะสม (18 – 24 นิ้ว)
  • ส่วนบนสุดของจอภาพต้องไม่อยุ่สุงกว่าระดับสายตา หากจอภาพอยู่สูงเกินไปอาจย้ายตัวเครื่องที่รองอยู่ออกไป
  • วางตำแหน่งของจอเพื่อหลีกเบี่ยงแสงสะท้อนจ้าจากจอภาพเข้าตา
  • ปรับเอียงจอภาพให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม อาจเลื่อนจอภาพไปข้างหลังเล็กน้อยหากต้องการ
  • ปรับแต่งความสว่าง และความคมชัดของจอภาพเพื่อเพิ่มความคมชัดของภาพและตัวอักษร
  • หากใช่ที่ช่วยยึดเอกสาร ให้วางที่ช่วยยึดเอกสารใกล้กับจอภาพ และให้อยู่ในระดับเดียวกับจอภาพ

ระดับบนสุดของจอภาพไม่ควรอยู่สูงกว่าระดับสายตา


การวางและเคลื่อนไหวมือ แขน

          ขณะที่ใช้เครื่งคอมพิวเตอร์ทำงานการเคลื่อนไหวมือและแขนอย่างสบายๆ เป็ธรรมชาติจะช่วยป้องกันการเมื่อยล้าของมือ และ แขน  โดยดูจากภาพประกอบ และควรจะปฏิบัติตามคำแนะนำในขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ 

  • เมื่อพิมพ์ข้อความควรให้ปลายแขน และข้อมืออยู่ใน ระดั่บ เดียวกัน และขนานกับพื้น
  • วางข้อศอกในท่าที่สบายๆ ลำตัว อาจแนบข้อศอกชิด ลำตัว แต่ระวังอย่าชิดมากเกินไปจน ข้อศอกกดไป ที่ลำตัว
  • ขณะใช้แป้นพิมพ์ เมาส์ หรืออุปกรณ์ป้อนข้อมูลอื่นๆ ควรให้ข้อมืออยู่ในท่าตามธรรมชาติไม่ควรโค้งงอ ข้อมือ หรือหักข้อมือ
  • หากมีที่พักมือ ควรใช้เพื่อการพักมือเท่านั้น ไม่ควร วางมือ บนที่พัก หรือบนโต๊ะขณะกำลังพิมพ์
  • หมั่นคอยปรับให้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นๆ ให้อยู่ในท่า ที่ ผ่อนคลายเป็นธรรมชาติ
  • ใช้แรงให้น้อยที่สุดในการกดแป้นพิมพ์ หลีกเลี่ยงการ กระแทกนิ้วลงบนแป้นพิมพ์แรงๆ เกินความจำเป็น
  • จับเมาส์หลวมๆ อย่าจับแน่นเกินไป
  • ใช้แรงจากแขนในการเลื่อนเมาส์

 

การวางมือในท่าที่ถูกต้อง

 

การจัดแสงสว่าง

          การจัดแสงสว่างที่ถูกต้องจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย สภาพของแสงควรเหมาะสมกับงานที่ ทำอยู่เป็นประจำ ในกรณีที่ต้องทำงานหน้าเครื่องเป้นประจำ สภาพของแสงควรมีลักษณะดังนี้

  • ควรจัดจอให้เกิดแสงสะท้อนน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ถ้าที่ทำงานของคุณมีหน้าต่างควรใช้ม่านเพื่อควบคุม ปริมาณแสงในห้อง
  • จัดวางจอให้อยู่ระหว่าแถวของไฟเพดาน  เพื่อหลีกเลี่ยง แสงสะท้อน
  • ควรทำงานภาะใต้แสงไฟทั่วไป และไฟสำหรับทำงาน โดยเฉพาะ แต่ต้องหลีกเลี่ยงแสงที่มารบกวนสายตา
  • ไม่ควรให้มีแสงไปตกกระทบดดยตรง เพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดจุดสว่างบนจอภาพ

จัดแสงเพื่อให้เกินแสงจ้าบนจอภาพน้อยที่สุด


อุปนิสัยในการทำงาน

          ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้สึกของคุณในขณะที่ทำงานอยุ่ทั้งวันไม่ได้มีเพียงการจัดวางเฟอร์นิเจอน์ อุปกรณสำนักงาน และแสงสว่าง เท่านั้น  อุปนิสัยต่างๆ ในการทำงานของคุณก็เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญด้วย ข้อควรจำไว้ปฎิบัติ

  • ปล่อยตัวตามสบายขณะนั่งทำงาน หลีกเลี่ยงท่านั่งที่ฝืนธรรมชาติต่างๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเมื่อยกล้ามเนื้อได้
  • ลองนึกถึงนิสัยการทำงานของตัวเองและลักษณะของงานที่คุณต้องทำพยายามเปลี่ยนกิจวัตรและทำงานอื่นบ้างใน ระหว่างวัน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องนั่งหลังขดหลังแข็งใช้มือทำงานอย่างเดียวอยู่กับที่นานๆ เป็นเวลาหลายๆชั่วโมง
  • เปลี่ยนท่านั่งบ่อยๆ เพื่อที่กล้ามเนื้อจะได้ไม่ล้ามาก
  • หลีกเลี่ยงการพิมพ์หนังสือนานจนเกิดอาการเมื่อยขบ
  • วางงานเพื่อพักสักครู่เป็นระยะๆ หากจำเป็นต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ คุณจะรู้สึกว่าหากคุณพักเพียงชั่วครู่ บ่อยๆ คุณจะรู้สึกสบายกว่าหยุดพักเป็นเวลานานๆ เพียงไม่กี่ครั้งหลังจากทำงานอยู่เป็นเวลานาน
  • วันหนึ่งๆ ควรหาเวลาลุกขึ้นยืนยืดเส้นยืดสายหรือออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ สักสองสามนาที

การดูแลถนอมสายตา

เมื่อทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ คุณอาจเกิดอาการเคืองหรืเมื่อยตาได้จึงควรดูแลรักษาสายตาเป็นพิเศษ

  • วางงานเพื่อพักสายตาบ่อยๆ
  • รักษาดูแลแว่นตา คอนแทคเลนส์ และกระจกหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้สะอาดเสมอ
  • หากคุณใช้แผ่นกรองแสง ควรทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
  • ไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาให้ตรวจสายตาคุณบ่อยๆ
  • หากเป็นไปได้ควรตัดแว่นตาที่ออกแบบอย่างเหมาะสมเพื่อใช่ดูหน้าจอคอมพิวเตอร์

สุขภาพและการออกกำลังกาย

          สุขภาพโดยทั่วไปของคุณอาจมีผลต่อความสบายและความปลอดภัยในการทำงานในบริเวณที่นั่งทำงาน การศึกษาค้นคว้า ทำให้ ้ทราบว่า สภาวะทั่วไปของสุขภาพร่างกายคนเรสอาจทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงของการเกิด อาการปวดเมื่อยกล้าวเนื้อและ ข้อพับต่างๆ หรือ แม้แต่เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น สภาวะสุขภาพของร่างกายดังกล่าวคือ

  • ไขข้ออักเสบ หรือไรคที่ทำให้มีอาการอักเสษต่างๆ
  • เบาหวาน
  • น้ำหนักตัวมากเกินควร
  • เครียดมากเกินไป
  • กังวลมาก
  • สูบบุหรี่
  • สตรีมีครรภ์ ช่วงวัยหยุดรอบเดือน และสภาวะอื่นๆ ที่มีผลต่อระดับฮอร์โมนในร่ายกาย
  • ผู้สูงอายุ
  • สุขภาพร่างกายไม่ดี

          เนื่องจากว่าระดับความอดทนต่อการนั่งทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ของแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน ฉะนั้นคุณควรที่จะ ทราบ ว่าคุณมีแรงทนนั่งทำงานได้นานเพียงไร และหลีกเลี่ยงการทำงานนาน จนร่างกายทนไม่ไหวบ่อยครั้งเกินไป หากสุขภาพของคุณมี สภาวะที่ตรงกับข้อใดข้อหนึ่งข้างต้นคุณควรทราบไว้เพื่อจะได้คอยระวังตัว

         นอกจากนี้ ทุกคนที่ทราบสภาวะร่างกายของตน และเรียนรู้ที่จะป้องกันตัว และออกกำลังกายสม่ำเสมอไว้ก่อน ย่อมทำให้ นั่งทำงานได้ทนขึ้นกว่าเดิม และไม่เกิดอาการเมื่อยล้าและทำให้สุขภาพทรุดลง