Skip to main content

Author: webmaster

โครงการชุดกล่องสมองกล

ความเป็นมาของโครงการ

 

 

          โครงการพัฒนาชุดกล่องสมองกล เพื่อเป็นสื่อทางเลือกหนึ่งสำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนวิชาการโปรแกรม วิชาโครงงาน ในระดับมัธยมศึกษา ชุดกล่องสมองกลนี้จะเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจ และเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสอนเพื่อให้นักเรียนรักการเขียนโปรแกรม รู้จักคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาทั้งในวิชาที่เรียนและในชีวิตประจำวัน

 

พ.ศ. 2545 
          สสวท. ม.เกตษรศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และวิทยากรแกนนำ ประชุมหาขอบเขต รายละเอียด และขีดความสามาร ในการพัฒนา
ต้นแบบชุดกล่องสมองกล อบรมชุดกล่องสมองกล รุ่น 1 กับครูคอมพิวเตอร์ และครูวิทยาศาสตร์(ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์) 30 คน

พ.ศ. 2546 
ทดลองใช้ชุดกล่องสมองกลชุดสำเร็จกับโรงเรียน 5 ศูนย์ คือ 
1. โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.นครศรีธรรมราช 
2. โรงเรียนบ้านแหลมวิทยา จ.เพชรบุรี 
3. โรงเรียนศรีบุณญานนท์ จ.นนทบุรี 
4. โรงเรียนระยองวิทยาคม จ.ระยอง 
5. โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี จ.อุตรดิตถ์ 
พัฒนาต้นแบบชุดกล่องสมองแบบประกอบเอง ซึ่งสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง รุ่นที่ 1  ตั้งแต่การ กัดลายวงจร ตั้งแต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงบอร์ดลาดวงจร เป็นต้น

พ.ศ. 2547
          อบรมชุดกล่องสมองกล รุ่น 2 กับครูคอมพิวเตอร์และครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 42 คน และทดลองใช้ชุดกล่องสมองกลชุดสำเร็จ กับโรงเรียน 6 ศูนย์ คือ
1. โรงเรียนบางปลาม้า "สูงสุมารผดุงวิทย์" จ. สุพรรณบุรี 
2. โรงเรียนปากท่อพิทยาคม จ.ราชบุรี 
3. โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จ. ฉะเชิงเทรา 
4. โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จ.ร้อยเอ็ด 
5. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ. นครศรีธรรมราช 
6. โรงเรียนแสวงหาวิทยาคม จ.อ่างทอง 
พัฒนาต้นแบบชุดกล่องสมองแบบประกอบเอง ซึ่งสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง รุ่นที่ 2

พ.ศ. 2548
          พัฒนาต้นแบบและอบรมครู ด้วย ชุดสมองกลแบบประกอบเองรุ่น 3 กับครูคอมพิวเตอร์ ครูวิทยาศาสตร์และ ครูอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 34 คน 
ปัญหาที่พบ
1. ครูบางส่วนไม่สะดวกในการจัดหาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับประกอบชุดกล่องสมองกล
2. ครูบางส่วนต้องการสอนชุดสำเร็จ เพราะขาดความชำนาญใน
การประกอบชุดกล่องสมองกล และชุดกล่องสมองกลที่ได้
อาจไม่สามารถใช้งานได้

พ.ศ. 2549
          อบรมครูชุดกล่องสมองกล ด้วยชุดกล่องสมองกล รุ่น 3 ที่มีการปรับปรุงบางส่วนแล้วกับครูคอมพิวเตอร์ จำนวน 36 คน

สอบถามรายละเอียดได้ที่

สาขาคอมพิวเตอร์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ที่อยู่ : 924 สุขุมวิท เอกมัย แขวงคลองเตย เขตพระโขนง กทม. 10110
Tel  : 02-3924021
Fax  :  02-3926628
e-mail: IpstMicroBox@hotmail.com

Continue reading

การแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์

logorobo-1t

ความเป็นมา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้พัฒนาหลักสูตรและ สื่ออุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตลอดจนกระบวนการเรียนการ สอนให้นักเรียนได้ฝึกฝนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รู้จักหาความรู้ด้วยตนเอง รู้จักใช้เหตุผล ใช้กระบวนการคิดระดับสูงแบบต่างๆ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา และสนุกกับการเรียนซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่สนับสนุนนโยบายปฏิรูปการศึกษา

สสวท. ได้เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาดังกล่าว จึงได้จัดกิจกรรมแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ ประจำปี 2551 ขึ้น เป็นครั้งที่ 7พร้อมทั้งการประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3-4 ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบูรณาการความรู้ในด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการแก้ปัญหา และให้ผู้สอนได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนด้วย

ax-11c

วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สารสนเทศ และบูรณาการความรู้ในด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน
2. เพื่อให้ผู้สอนนำรูปแบบกิจกรรมไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน
3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ทรัพยากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ภายในประเทศเป็นสื่อสำหรับการเรียนรู้

สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. เริ่มโครงการแข่งขันการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ ขึ้นเป็นครั้งแรกในโอกาสครบรอบ 30 ปี การจัดตั้งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2545 โดยแบ่งการแข่งขันเป็น 2 รอบ คือ รอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ โดยรอบคัดเลือกจะจัดขึ้นที่ศูนย์จัดการแข่งขันระดับภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อคัดเลือกตัวแทนศูนย์ฯ ละ 2 ทีม เพื่อเข้ามาแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศได้จัดขึ้นที่ สสวท. ในโอกาสครบรอบ 30 ปี สสวท. ในวันที่ 1 ก.ย.2545 โดยมีจุดประสงค์ที่ต้องการพัฒนาการเรียนการสอน การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้หุ่นยนต์ขนาดเล็กที่ควบคุมการทำงานด้วยไมโครคอนโทลเลอร์เป็นสื่อ เพื่อให้นักเรียนสนุกไปกับการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนการสอน และเป็นประโยชน์ต่อประเทศ สสวท. จึงได้จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

ไปยังเว็บไซต์ การแข่งขันการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์