Skip to main content

Tag: Scratch

อบรมครูผู้สอนวิทยาการคำนวณแบบออนไลน์ 2 หลักสูตร

“โปรดอ่านทุกข้อความต่อไปนี้และข้อความในเอกสารรายละเอียดเพิ่มเติม”

       สสวท. ขอเชิญชวนศึกษานิเทศก์ หรือครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณ สาระเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทุกระดับชั้น ทุกสังกัดทั่วประเทศเข้าร่วมอบรมแบบออนไลน์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ใน 2 หลักสูตร คือ
1. หลักสูตร “การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ” ปี 2561 หลักสูตร 1 รุ่นที่ 3 ซึ่งเหมาะสำหรับระดับชั้น ป.1 ป.4 ม.1 และ ม.4   อบรมวันที่ 1 เมษายน ถึง 31 สิงหาคม 2562
2. หลักสูตร “การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ” ปี 2562 หลักสูตร 2 รุ่นที่ 1 ซึ่งเหมาะสำหรับระดับชั้น ป.2 ป.5 ม.2 และ ม.5   อบรมวันที่ 22 เมษายน ถึง 31 สิงหาคม 2562
อบรมผ่านระบบอบรมครูของศูนย์เรียนรู้ดิจิทัลฯ สสวท. (IPST LEARNING SPACE) ที่ http://teacherpd.ipst.ac.th/

คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม…

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 023924021 ต่อ 3413  อีเมล npain@ipst.ac.th

อบรมครูออนไลน์หลักสูตร “การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ” ปี 2561 รุ่น 2

        สสวท. ขอเชิญชวนครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณ สาระเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เข้าร่วมอบรมหลักสูตร “การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ” ปี 2561 รุ่น 2 แบบออนไลน์ ผ่านระบบ IPST LEARNING SPACE   ที่ http://teacherpd.ipst.ac.th/ เข้าระบบฯ อบรมได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2562 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ (ไม่มีวุฒิบัตร)

วิธีสมัคร และเข้าสู่ระบบอบรม
1. วิธีสมัคร: ก่อนเข้าอบรมทุกท่านต้องสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์ IPST LEARNING SPACE สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก ให้เข้าไปที่เว็บไซต์ http://teacherpd.ipst.ac.th/ > เลือกเมนู “เข้าสู่ระบบ”> เลือกเมนู “สมัครสมาชิกใหม่”> กรอกข้อมูลส่วนตัวจนครบ > กดปุ่ม “สมัครสมาชิก” จากนั้นระบบจะส่งอีเมลไปให้ผู้เข้าอบรม เพื่อให้ผู้เข้าอบรมกดลิงค์ยืนยันการสมัครสมาชิกกับเว็บไซต์ เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว ให้เข้าสู่ระบบอบรมตามข้อ 2.
2. วิธีเข้าสู่ระบบอบรม: สำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกแล้ว ให้เข้าเว็บไซต์ http://teacherpd.ipst.ac.th/ แล้วเลือกเมนู “เข้าสู่ระบบ”> กรอกชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน > กด “ปุ่มเข้าสู่ระบบ” > เลือกเมนู “หลักสูตร/วิชาทั้งหมด” > เลือกหลักสูตร การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ปี 2561 รุ่น 2 > เลือกวิชาที่ต้องการ ซึ่งมีให้เลือกเรียน 3 วิชา คือ
1. วิทยาการคำนวณ ระดับประถมศึกษา
2. วิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ม.1
3. วิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4
ทั้งนี้ ท่านสามารถเลือกเรียนพร้อมกันได้มากกว่า 1 วิชา และหากท่านใดเคยสมัครสมาชิกเข้าอบรมในระบบ IPST LEARNING SPACE แล้ว ท่านไม่ต้องสมัครสมาชิกใหม่ ให้เข้าสู่ระบบตามข้อ 2. โดยสามารถใช้ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านเดิม หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับระบบการอบรม หรือการสมัคร สามารถเปิดดูคู่มือ หรือวีดิโอแนะนำการสมัครสมาชิกและการเข้าสู่ระบบได้ที่หน้าเว็บไซต์ข้างต้น หรือติดต่อผู้ดูแลระบบได้ที่อีเมล teacherpd@ipst.ac.th โทรศัพท์ 023924021 ต่อ 7070
– สามารถพูดคุย สอบถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ที่ห้องสนทนา และกระดานข่าวของแต่ละรายวิชา

 รายละเอียดเพิ่มเติม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 023924021 ต่อ 3413  อีเมล npain@ipst.ac.th

เริ่มต้นสอนเขียนโปรแกรมง่ายนิดเดียว

       การเขียนโปรแกรมเป็นการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา  (critical thinking and problem solving) ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทำให้ผู้เรียนมีการคิดแบบมีเหตุผล เป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา การสร้างงานที่ดี  และดำรงชีวิตอยู่ได้ในปัจจุบัน ทั้งเกิดการเรียนรู้แบบยั่งยืนในอนาคต

ทำไมต้องเขียนโปรแกรม

  1. การโปรแกรมเป็นความรู้พื้นฐานในโลกยุคดิจิทัล

ปัจจุบันเรามีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยีหรือสื่อดิจิทัลต่างๆ อยู่เสมอ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ ของเล่น youtube  facebook     สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือต้องรู้และทำความเข้าใจว่าจะใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นได้อย่างไร  เมื่อนักเรียนได้ฝึกเขียนโปรแกรมจะทำให้เกิดทักษะการใช้ตรรกะ หรือการคิดแบบมีเหตุผลทำให้เข้าใจถึงเบื้องหลังการทำงานของโปรแกรม  และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานอื่น หรือสิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี   เยาวชนในทุกวันนี้ไม่ควรเป็นเพียงผู้บริโภคเทคโนโลยีเท่านั้น แต่จะต้องเข้าใจและควบคุมเทคโนโลยีได้ เพื่อให้ทันกับโลกเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 

ผู้เรียนฝึกการเขียนโปรแกรมจากสื่อในแท็บเล็ต รูปที่ 1 ผู้เรียนฝึกการเขียนโปรแกรมจากสื่อในแท็บเล็ต

  1. พัฒนาการคิดและทำงานเป็นขั้นตอน

การเขียนเป็นการถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อหรือเผยแพร่ได้  การเขียนโปรแกรมก็เช่นเดียวกัน เราสามารถเขียนสัญลักษณ์ หรือรหัสคำสั่ง เพื่อบอกผู้อื่นทำงานตามที่ต้องการ  หรือสั่งให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง    การเขียนโปรแกรมที่ดีต้องจะมีการคิดวิเคราะห์ และเขียนขึ้นอย่างชัดเจนเป็นขั้นตอน ให้สามารถนำไปไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ  ผู้ที่เขียนโปรแกรมอยู่เสมอจะมีทักษะการคิดแบบมีเหตุผล และเป็นขั้นตอน ซึ่งส่งผลไปถึงการตัดสินใจในการทำงานหรือการแก้ปัญหาอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน

  1. ฝึกเป็นนักออกแบบและผู้สร้าง

ทุกคนมีความคิดและจินตนาการ แต่มีกี่เรื่อง ที่คิดแล้วสามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้  เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เด็กๆ เป็นนักคิดและผู้ริเริ่มที่สามารถนำความคิดไปสู่การสร้างที่แท้จริงได้ ครูควรสนับสนุนให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการเขียนโปรแกรม   เพราะการเขียนโปรแกรมจะทำให้สามารถคิดหรือสร้างงานได้เอง ทำให้มีความเชื่อมั่นที่จะเป็นนักออกแบบ และผู้สร้าง ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานในอนาคต และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติอย่างแท้จริง

  1. การเขียนโปรแกรมง่ายกว่าที่คิด

การที่นักเรียนได้เห็นการทำงาน หรือการเคลื่อนไหวแต่ละคำสั่งตามที่เขียนโปรแกรมไว้ทันที  เป็นสิ่งที่กระตุ้นการเรียนรู้ เพราะจะทำให้รู้ว่าควรจะจัดการอย่างไรเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง  และแน่นอนว่าเครื่องมือที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้  ครูสามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับนักเรียน  ซึ่งในปัจจุบันมีสื่อหรือเครื่องมือต่างๆ จำนวนมากที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม ที่ใช้งานง่าย และมีความสวยงาม ทำให้นักเรียนอยากที่จะเรียนรู้ และเมื่อได้ฝึกฝนบ่อยๆ ทำให้เกิดความชำนาญ จะสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่าย รวดเร็ว ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง และยังได้เรียนรู้การใช้เทคนิคต่างๆ ที่ช่วยสร้างงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

เห็นมั้ยล่ะว่า  “การเขียนโปรแกรมง่ายนิดเดียว”

 

เริ่มต้นสอนเขียนโปรแกรมกันเถอะ

          เมื่อจะเริ่มต้นสอนเขียนโปรแกรม ครูหลายท่านคงกังวลเพราะคิดว่าการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ในการสอนนั้น ยากเกินกว่านักเรียนของเราจะทำได้  สิ่งหนึ่งที่ครูควรคำนึงถึงนอกจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่จะใช้ในการเขียนโปรแกรม คือพิจารณาว่า เมื่อนักเรียนเรียนเขียนโปรแกรมแล้วจะได้ประโยชน์อะไร คำตอบที่แท้จริงหนีไม่พ้นเหตุผลที่ว่า นักเรียนจะได้ฝึกการคิดแบบมีเหตุผล และเป็นขั้นตอนอย่างมีระบบ   ซึ่งภาษาคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้เกิดสิ่งเหล่านั้น  ถ้านักเรียนมีตรรกะแล้วไม่ว่าจะใช้เครื่องมือใดในการเขียนโปรแกรม นักเรียนก็จะสามารถทำได้เป็นอย่างดี   มาเริ่มต้นการฝึกการคิดแบบมีเหตุผล ด้วยกิจกรรมการสอนเขียนโปรแกรมที่ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ หรือใช้โปรแกรมสำเร็จอย่างง่ายที่ช่วยในการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม ซึ่งมีแนวทางดังนี้    

 

  1. เริ่มต้นสอนเขียนโปรแกรมโดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์

          เราสามารถเริ่มต้นสอนเขียนโปรแกรมได้  โดยใช้กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกคิดอย่างมีเหตุผลและทำงานอย่างเป็นขั้นตอน  แล้วมีการแปลงแนวคิดในการทำงานต่างๆ เป็นรหัสคำสั่งที่ชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติตามได้ ในที่นี้ผู้เขียนขอยกตัวอย่างกิจกรรมอย่างง่ายสำหรับนักเรียน ช่วงชั้น ป.4-ป.6

ซึ่งครูเริ่มการสอนโดยให้สถานการณ์แล้วให้นักเรียนเขียนรหัสคำสั่ง หรือให้รหัสคำสั่งแล้วให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่ง ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1   ครูให้สถานการณ์เป็นแผนที่ แล้วให้นักเรียนเขียนรหัสคำสั่ง ดังนี้

สถานการณ์  นักเรียนช่วยหุ่นยนต์ตามหาเพชร โดยเขียนรหัสคำสั่งเรียงต่อกันตามการสั่งงาน

02

ตัวอย่างที่ 2   ครูให้รหัสคำสั่ง แล้วให้นักเรียนใส่คำสั่งแต่ละคำสั่งลงในแผนที่ ที่มีแค่ตำแหน่งของหุ่นยนต์ ดังนี้

สถานการณ์  นักเรียนช่วยหุ่นยนต์ตามเก็บเพชร โดยทำตามรหัสคำสั่งต่อไปนี้

03

จากตัวอย่างที่ 2 ครูอาจถามเพิ่มเติมถึงจำนวนเพชรและตำแหน่งที่เพชรอยู่  นอกจากนี้จะเห็นว่ามีบางคำสังที่ทำงานซ้ำกัน ซึ่งครูอาจกำหนดสัญลักษณ์ () แทนการวนซ้ำ เช่น  ➔(3) หมายถึง การเดินไปทางขวา 3 ครั้ง  

2) เริ่มต้นสอนเขียนโปรแกรมโดยใช้สื่อเรียนรู้ใน code.org

         ปัจจุบันมีเว็บไซต์หรือโปรแกรมอย่างง่ายจำนวนมาก ที่ใช้สำหรับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรม ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนขอแนะนำเว็บไซต์  code.org   ซึ่งเป็นเว็บไซต์ขององค์กรที่ไม่แสวงหากำไร โดยมีวิสัยทัศน์ในการทำงานเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้มีโอกาสเรียนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์    ทั้งนี้มีสถาบันต่างๆ ให้ความร่วมมือในการพัฒนาสื่อเรียนรู้การเขียนโปรแกรม และพัฒนาหลักสูตรสำหรับการสอนเขียนโปรแกรมในชั้นเรียนจำนวนมาก    

03.1รูปที่ 2 เว็บไซต์ Cod.org

         สื่อเรียนรู้ใน code.org มีให้เลือกใช้หลากหลายตามระดับชั้น และอายุของผู้เรียน  มีทั้งแบบใช้และไม่ใช้คอมพิวเตอร์  ซึ่งครูสามารถดาวน์โหลดแผนการสอนเพื่อนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมได้  สำหรับสื่อที่ใช้คอมพิวเตอร์จะต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต  โดยการเรียนรู้จะมีลักษณะเป็นการฝึกทักษะ ซึ่งมีภารกิจต่างๆ ให้ผู้เรียนได้ฝึกเขียนโปรแกรมตามสถานการณ์ที่กำหนด  โดยเริ่มจากภารกิจง่ายๆ ไปจนถึงภารกิจที่มีความซับซ้อน   ในแต่ละภารกิจจะกำหนดคำสั่งให้เลือกใช้ตามระดับความยากของสถานการณ์ และมีการกำหนดจำนวนคำสั่งที่ใช้ได้สูงสุดในแต่ละภารกิจ  นักเรียนสามารถเลือกทำภารกิจใดก่อนก็ได้  โดยถ้าผ่านภารกิจใดที่แถบด้านบนจะมีสัญลักษณ์เป็นวงกลมสีเขียว ถ้าไม่ผ่านจะมีสัญลักษณะเป็นวงกลมสีเหลือง ถ้ายังไม่ได้ทำจะมีสัญลักษณะเป็นวงกลมสีขาวดังรูป

04รูปที่ 3 แถบภารกิจ

          การเขียนโปรแกรมในแต่ละภารกิจ นักเรียนจะต้องเลือกวางคำสั่งให้ได้ผลลัพธ์ตามสถานการณ์ที่กำหนด หลังจากนั้นสั่งให้โปรแกรมทำงานโดยคลิกปุ่ม05   หากเขียนโปรแกรมถูกต้องจะมีข้อความแสดงว่าผ่าน และแสดงจำนวนคำสั่งที่ใช้ หากเขียนไม่ถูกต้องจะมีข้อความแจ้งเหตุผล เช่น  ใช้คำสั่งไม่ถูกต้อง จำนวนคำสั่งเกินกว่าที่กำหนด 

06รูปที่ 4 การแสดงผลลัพธ์ในแต่ละภาระกิจ

          การเรียนรู้ที่ดีควรเริ่มจากภารกิจที่ง่ายไปจนถึงภารกิจที่มีความซับซ้อน เพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอดในแต่ละเรื่อง แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างงานตามจินตนาการ หรืองานตามที่สถานการณ์กำหนด  ซึ่งนักเรียนจะมีโอกาสได้ทำในตอนท้ายของแต่ละกิจกรรม  เมื่อผ่านกิจกรรมแล้วนักเรียนจะได้รับเกียรติบัตรและสามารถแสดงความภาคภูมิใจนี้ผ่านสื่อ เช่น Facebook และ Twitter ได้ หรือจะเก็บไว้กับตัวเองโดยการดาวน์โหลดไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์

07

รูปที่ 5 เกียรติบัตรเมื่อผ่านกิจกรรม

เพื่อช่วยให้ครูสามารถนำสื่อเรียนรู้ใน code.org ไปใช้ในการสอนได้  ผู้เขียนขอแนะนำขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมดังนี้

  1. ครูจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการสอน โดยเลือกสื่อเรียนรู้สำหรับนักเรียน ซึ่งพิจารณาจากอายุของนักเรียนหรือระดับชั้น  หลังจากนั้นจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ  เช่น คอมพิวเตอร์  แท็บเล็ต  ลำโพง หูฟัง ระบบอินเทอร์เน็ต  
  2. ครูจุดประกายความคิดในช่วงเริ่มต้นชั่วโมง ให้นักเรียนเห็นถึงประโยชน์และเหตุผลของการเขียนโปรแกรม โดยอาจให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างการใช้รหัสคำสั่งหรือโค้ดใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาจให้นักเรียนดูวีดิทัศน์ แสดงความเห็นจากผู้ประสบความสำเร็จด้านการเขียนโปรแกรม
  3. ครูให้ link สำหรับการเข้าถึงสื่อใน code.org  โดยให้นักเรียนเริ่มศึกษาและทำภารกิจไปตามลำดับจนผ่านทุกภารกิจ ครูควรกระตุ้นให้นักเรียนทำงานด้วยตนเอง
  4. ครูให้นักเรียนสร้างงานของตนเองตามจินตนาการ หรือครูกำหนดสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนได้นำความรู้ต่างๆ มาประยุกต์ในการสร้างชิ้นงาน
  5. ครูควรให้รางวัลหรือคำชมเชยแก่นักเรียน หลังจากนักเรียนทำภารกิจต่างๆ เสร็จแล้ว ให้อัปโหลดผลงานลง code.org  เพื่อเผยแพร่ผลงานให้ผู้อื่นดู
  6. ครูสรุปความรู้และเชื่อมโยงไปสู่การเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างซอฟต์แวร์ต่อไป

 

สรุป

เริ่มต้นง่ายๆ กับการสอนเขียนโปรแกรม ไม่ว่าจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่ใช้ก็ตาม  สิ่งที่นักเรียนจะได้รับคือการฝึกทักษะการคิดแบบมีเหตุผล และเป็นขั้นตอน  ครูสามารถคิดกิจกรรมง่ายๆ เพื่อสร้างการเรียนรู้ หรือใช้บริการจากเว็บไซต์ที่มีสื่อเรียนรู้ด้านการเขียนโปรแกรม เช่น code.org  ที่ช่วยครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมต่างๆ   และกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ด้านการเขียนโปรแกรม ด้วยเครื่องมือสำเร็จแบบง่ายและน่าสนใจ เพื่อเป็นการปูทางให้นักเรียนเกิดความคิดที่จะเป็นนักพัฒนา  สร้างสรรค์ซอฟต์แวร์ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ  นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่จะใช้และควบคุมเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถที่เข้าใจและต่อยอดการใช้งานแบบยั่งยืนในอนาคต 

“ถ้านักเรียนของคุณยังไม่ได้เรียนการเขียนโปรแกรม ควรเริ่มได้แล้ว ณ บัดนี้”

 

.

ยกร่างบทความโดย นางสาวทัศนีย์   กรองทอง
บรรณาธิการโดย คณะบรรณาธิการสาขาวิชาเทคโนโลยี สสวท.

อ้างอิง

https://code.org

http://readwrite.com/2013/05/31/programming-core-skill-21st-century

https://www.quora.com/Why-is-programming-so-important-in-the-modern-world

http://www.tynker.com/blog/articles/ideas-and-tips/four-reasons-why-kids-should-learn-programming/

จาก Flowchart สู่ Scratch

          สิ่งสำคัญของการแก้ปัญหาใดๆ คือการกระบวนการแก้ปัญหา ในวิชาด้านวิทยาคอมพิวเตอร์เรียกว่าขั้นตอนวิธี (Algorithm)   ในการโปรแกรม (Programming) ครูผู้สอนจำเป็นจะต้องฝึกให้นักเรียนแสดงแนวความคิดในการแก้ปัญหาของตนโดยใช้รหัสลำลอง (Pseudocode) หรือ ผังงาน (Flowchart) ซึ่งเป็นเครื่องมือสากลที่ใช้ในการแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์

          ปัญหาที่ครูผู้สอนพบในการสอนเขียนผังงานหรือรหัสลำลองคือ นักเรียนไม่เข้าใจการทำงานของโครงสร้างแบบมีเงื่อนไขและการทำซ้ำ การเขียนผังงานตามความเข้าใจจึงอาจทำให้ได้ผลลัพธ์ไม่ตรงตามความต้องการหรือได้ผังงานที่ไม่ถูกต้อง วิธีการหนึ่งที่จะช่วยตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนในการเขียนผังงานคือการนำผังงานไปเขียนโปรแกรม Scratch

          Scratchเป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยสถาบัน MIT (The Massachusetts Institute of Technology) มีบล็อกคำสั่งที่นำมาวางต่อกัน ผู้ใช้ไม่ต้องพิมพ์คำสั่งใหม่ทั้งหมด จึงช่วยลดข้อผิดพลาดในการพิมพ์ นอกจากนี้ยังมีบล็อกที่ช่วยควบคุมการทำงานแบบมีเงื่อนไขและทำซ้ำ โดยผู้ใช้สามารถกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมลงในโครงสร้างเหล่านี้ได้

  2015.06.29_003

รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างคำสั่งในบล็อคควบคุม

ตัวอย่างการทำงานแบบมีเงื่อนไข เช่น พ่อค้าคนกลางจะต้องคัดเลือกปลาที่มีน้ำหนักตัวระหว่าง 5 ขีด ถึง 8 ขีด เพื่อส่งร้านอาหาร ให้เขียนโปรแกรมรับน้ำหนักปลาแต่ละตัว ตัวใดมีน้ำหนักอยู่ในช่วงดังกล่าวให้แสดงคำว่า “Pass”

      จากโจทย์แสดงว่าจะต้องมีการรับค่าน้ำหนักปลาแต่ละตัวเข้ามา โดยค่าที่รับจะรับเป็นจำนวนเต็มเท่านั้น นำมาตรวจสอบว่าน้ำหนักปลาตรงอยู่ในช่วง 5-8 ขีดหรือไม่ จะเขียนผังงานได้ดังรูปที่ 2

บล็อคควบคุม

รูปที่ 2 แสดงผังงานและ Scratch Script แสดงการทำงานแบบมีเงื่อนไข

          จากรูปที่ 2 เมื่อเขียนผังงานแล้วสามารถแปลงเป็นสคริปต์ โดยรับค่าด้วยบล็อก ask ค่าที่ผู้ใช้ป้อนจะถูกเก็บไว้ในบล็อก answer จึงใช้บล็อก set…to เพื่อนำค่าจากบล็อก answer เก็บไว้ในตัวแปร fishWeight แล้วนำค่าในตัวแปร fishWeight ไปเปรียบเทียบโดยใช้บล็อก if…then เมื่อเงื่อนไขที่กำหนด ( fishWeight > 4 ) and ( fishWeight < 9 ) เป็นจริง จะแสดงข้อความ Pass ด้วยบล็อก say หากไม่จริง จะสิ้นสุดการทำงาน

ตัวอย่างการทำงานแบบทำซ้ำ เช่น จงเขียนโปรแกรมหาผลรวมของเลข 1 – 10

          จากโจทย์เป็นการหาผลรวมของเลข 1 – 10 จึงต้องมีตัวนับจำนวนรอบในการทำงานและรันตัวเลข 1-10 ในตัวอย่างนี้ใช้ตัวแปร count เป็นตัวนับและรันตัวเลข ใช้ตัวแปร sum เก็บค่าผลรวม จำนวนรอบในการทำงานคือ 10 รอบ จึงตั้งเงื่อนไขในการทำซ้ำเป็น count <= 10 หมายความว่าจำมีการทำซ้ำเมื่อตัวแปร count มีค่าเป็น 1, 2, 3, …, 10 สามารเขียนผังงานได้ดังรูปที่ 3

2015.06.29_002

รูปที่ 3 แสดงผังงานและ Scratch Script แสดงการทำงานแบบทำซ้ำ

         จากผังงานในรูปที่ 3 สามารถแปลงเป็นสคริปต์ โดยใช้บล็อก set…to ในการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปร ในที่นี้จะใช้กับตัวแปร sum และ count ในส่วนของการทำซ้ำของโปรแกรม Scratch จะมีบล็อกไว้กำหนดจำนวนรอบในการทำซ้ำได้เลย คือ บล็อก repeat เปรียบเทียบกับผังงานคือการตรวจสอบค่าในตัวแปร count เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง เมื่อเงื่อนไขเป็นจริงจะทำการหาผลรวม โดยนำค่าที่อยู่ในตัวแปร sum มาเพิ่มค่าโดยใช้นิพจน์ sum = sum+count ตรงกับบล็อก set…for 1 secs (เพิ่ม for 1 secs เพื่อให้เห็นค่าที่ได้จากการคำนวณในขณะรันสคริปต์) ซึ่ง count จะมีการเพิ่มค่าครั้งละ 1 ด้วยบล็อก change … by

         จากตัวอย่างข้างต้น เมื่อผู้เรียนใช้ Scratch ในการตรวจสอบผลลัพธ์จะทำให้เกิดความเข้าใจลำดับและวิธีเขียนผังงานได้มากยิ่งขึ้น หากผลการทำงานของโปรแกรมไม่เป็นไปตามความต้องการ สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปที่ผังงานที่เขียนขึ้นว่าเกิดข้อผิดพลาดในขั้นตอนใด

          การนำ Scratch มาช่วยในการทำความเข้าใจเรื่องผังงาน เป็นวิธีการหนึ่งที่เหมาะกับผู้เรียนที่เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนผังงาน เนื่องจาก Scratch ใช้งานง่าย และสามารถเชื่อมโยงลำดับความคิดในผังงานแต่ละขั้น     ไปยังสคริปต์แต่ละคำสั่งได้อย่างเป็นรูปธรรม เมื่อผู้เรียนมีทักษะในการเขียนผังงานได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็จะสามารถถ่ายทอดความคิดจากผังงานไปสู่การเขียนโปรแกรมได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเขียนโปรแกรมด้วยภาษาใดก็ตาม

ยกร่างบทความโดย นางสาวชุลีพร สืบสิน  โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต จ.ภูเก็ต
บรรณาธิการโดย คณะบรรณาธิการสาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.

ดาวน์โหลด แบบฝึกทักษะการเขียนโปรแกรม scratch เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

ดาวน์โหลด แบบฝึกทักษะการเขียนโปรแกรม scratch เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

 คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

เทคนิคเบื้องต้นสำหรับเปลี่ยนแปลงตัวละคร Scratch

เขียนโดย นางสาวพรพิมล ตั้งชัยสิน นักวิชาการ สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.  

     Scratch เป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับสร้างผลงานต่างๆ เช่น การทำแอนิเมชัน การจำลองทางวิทยาศาสตร์ เกม ดนตรี ศิลปะ การสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ โดยมีวิธีการโปรแกรมที่ไม่ต้องพิมพ์คำสั่งที่ยุ่งยากซับซ้อนเพียงนำบล็อกคำสั่งมาวางเรียงต่อกันตามลำดับการทำงาน ซึ่งบล็อกคำสั่งนี้จะมีลักษณะคล้ายชิ้นส่วนจิ๊กซอว์ ดังรูป จึงง่ายต่อการโปรแกรมและเหมาะกับการสอนหลักการโปรแกรมที่ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีระบบและการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ยังสามารถเผยแพร่และแลกเปลี่ยนผลงานผ่านทางเว็บไซต์http://scratch.mit.edu

11-1

      โปรแกรม Scratch ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 3 ส่วน ได้แก่ เวที (Stage) ตัวละคร (Sprite) และสคริปต์ (Script) โดยแต่ละส่วนมีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน การเขียนโปรแกรม Scratch ทำได้โดยการเขียนสคริปต์สั่งให้ตัวละครทำงาน ณ ตำแหน่งต่างๆ บนเวที เพื่อให้ตัวละครเคลื่อนที่ เปลี่ยนแปลงรูปร่าง แสดงอิริยาบถต่างๆ เช่น พูด เดิน เปลี่ยนสี เปลี่ยนขนาด เป็นต้น ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างเทคนิคเบื้องต้นสำหรับเปลี่ยนแปลงตัวละคร เพื่อเป็นประโยชน์ในการประยุกต์ให้ตัวละครเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ เพิ่มขึ้นตามจินตนาการของผู้เขียนโปรแกรม

      การวางแผนก่อนการเขียนโปรแกรม จะช่วยให้สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดจากการเขียนโปรแกรมได้ง่ายยิ่งขึ้น ทำให้ได้ผลลัพธ์ถูกต้อง ตรงตามความต้องการ ซึ่งสามารถทำได้โดยการถ่ายทอดความคิดเป็นข้อความหรือเขียนผังงาน

การกะพริบ

        เป็นการปรากฏและหายไปของตัวละคร สลับกัน ภายในช่วงเวลาหนึ่ง  สามารถเขียนลำดับการทำงานโดยถ่ายทอดความคิดเป็นข้อความได้ดังนี้

  1. ตัวละครปรากฏ
  2. รอเวลา 1 วินาที
  3. ซ่อนตัวละคร
  4. รอเวลา 1 วินาที
  5. ทำซ้ำตั้งแต่ข้อ 1 ถึง ข้อ 4 ไปเรื่อยๆ

จากลำดับความคิดดังกล่าว เขียนเป็นคำสั่งได้ ดังนี้

11-2

ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ภาพกะพริบ ซึ่งเกิดจากตัวละครปรากฏ 1 วินาที แล้วหายไป 1 วินาที สลับกัน   �

การย่อ-ขยายตัวละครสลับกัน

          เป็นการเปลี่ยนขนาดของตัวละครให้ใหญ่และเล็กภายในช่วงเวลาหนึ่งสลับกัน สามารถเขียนลำดับการทำงานโดยถ่ายทอดความคิดเป็นข้อความได้ดังนี้

  1. ตัวละครมีขนาดใหญ่ขึ้น 10%
  2. รอเวลา 1 วินาที
  3. ตัวละครมีขนาดเล็กลง 10%
  4. รอเวลา 1 วินาที
  5. ทำซ้ำข้อ 1 ถึง ข้อ 4 ไปเรื่อยๆ

จากลำดับความคิดดังกล่าว เขียนเป็นคำสั่งได้ ดังนี้

11-3

ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ภาพตัวละครย่อ-ขยายสลับกัน ซึ่งเกิดจากตัวละครเปลี่ยนขนาดให้ใหญ่ขึ้น 10%เป็นเวลา 1 วินาที แล้วเปลี่ยนขนาดตัวละครให้เล็กลง 10% เป็นเวลา 1 วินาที สลับกัน

 

การเปลี่ยนสีตัวละครโดยเพิ่มค่าสี

     เป็นการเพิ่มค่าสีให้กับตัวละครโดยกำหนดค่าสีที่เพิ่มขึ้นภายในช่วงเวลาหนึ่ง  สามารถเขียนลำดับการทำงานโดยถ่ายทอดความคิดเป็นข้อความได้ดังนี้

  1. เปลี่ยนสีตัวละครเพิ่มขึ้น 25
  2. รอเวลา 1 วินาที
  3. ทำซ้ำข้อ 1 ถึง ข้อ 2 ไปเรื่อยๆ

จากลำดับความคิดดังกล่าว เขียนเป็นคำสั่งได้ ดังนี้

11-4

      ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม คือ ตัวละครแมวเปลี่ยนสี เริ่มจากสีน้ำตาล สีเขียวอ่อน สีเขียวเข้ม สีฟ้าอ่อน สีน้ำเงิน สีม่วงเข้ม สีชมพู สีแดง และวนกลับไปเริ่มต้นสีน้ำตาล ไปเรื่อยๆ

     ตัวอย่างที่ยกมานี้ เป็นการทำให้ตัวละครแสดงการเปลี่ยนแปลงแบบพื้นฐานเท่านั้น ผู้เขียนโปรแกรมสามารถนำแนวคิดนี้ไปประกอบกับการเคลื่อนที่ของตัวละคร จะทำให้ตัวละครมีอิริยาบถที่หลากหลาย อาจเพิ่มคำสั่งให้ตัวละครมีบทพูด หรือใส่เสียงประกอบ จะทำให้ตัวละครมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

รับสมัครครูเข้าอบรมการเขียนโปรแกรม Scratch เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

   

ด้วยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการโปรแกรม เพื่อให้ผู้สอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้นำความรู้ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้ นักเรียนในโรงเรียน และขยายผลไปยังสถานศึกษาใกล้เคียง 

Continue reading

ดาวน์โหลดร่างเอกสารประการอบรม scratch เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

scratch_logo (1)

ตามที่สาขาคอมพิวเตอร์ได้จัดอบรมครูหลักสูตร การเขียนโปรแกรม Scratch เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่
http://oho.ipst.ac.th/download/document/scratch/Scratch_Doc_traning56.rar
 

ประกาศ:รายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้ารับการอบรม”การเขียนโปรแกรม Scratch เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์”

สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. ขอขอบคุณทุกท่านที่สนใจการอบรม หลักสูตรการเขียนโปรแกรม Scratch เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์  ในครั้งนี้

รายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้ารับการอบรม"การเขียนโปรแกรม Scratch เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์" ดังตาราง

ที่ คำนำ ชื่อ สกุล โรงเรียน จังหวัด
1. นาย อัมพร เอ่งฉ้วน บ้านพรุดินนา กระบี่
2. นาง หทัยกาญจน์ ปันเจริญ อำมาตย์พานิชนุกูล กระบี่
3. นางสาว ทิพวรรณ กองกิจ เซนต์ฟรังซิสซาเรียร์ คอนแวนต์ กรุงเทพฯ
4. นางสาว สารภี ชูนุกูลพงษ์ วัดหนัง กรุงเทพฯ
5. นางสาว ภิราภรณ์ ฝ่นเรือง นนทรีวิทยา กรุงเทพฯ
6. นาย สุพจน์ วรรณพราหมณ์ วัดใต้ (ราษฎรนิรมิต) กรุงเทพฯ
7. นางสาว เบญจวรรณ มณีเนียม จันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม กรุงเทพฯ
8. นาย นพพล เสียงกล่อม พระโขนงพิทยาลัย กรุงเทพฯ
9. นาง สุทธาทิพย์ ไชยสงเคราะห์ ท่ามะกาวิทยาคม กาญจนบุรี
10. นางสาว จิรัตติกาล ถิ่นกาญจน์วัฒนา ศรีสวัสดิ์พิทยาคม กาญจนบุรี
11. นางสาว กัญจน์ณิชา ชาวเรือ บ้านกอกวิทยาคม กาฬสินธุ์
12. นาง ปานใจ โพธิ์หล้า สมเด็จพิทยาคม กาฬสินธุ์
13. นางสาว โศภิษฐ์ สวนปลิก กำแพงเพชรพิทยาคม กำแพงเพชร
14. นาย อรรถพล พ่วงวงษ์ บ้านโนนจั่น กำแพงเพชร
15. นาย ทินวัฒน์ วิญญาสุข นครขอนแก่น ขอนแก่น
16. นาง พัทธนันท์ ศรวิชัย บ้านหินลาดวังตอ ขอนแก่น
17. นาย อนุชา สุภา ชุมชนบ้านหัวขัว ขอนแก่น
18. นาย องอาจ สิมเสน เวียงวงกตวิทยาคม ขอนแก่น
19. นางสาว พิณทอง ผลดี วัดน้ำขุ่น จันทบุรี
20. นาย สามารถ จิตณรงค์ หนองตาคงพิทยาคาร จันทบุรี
21. นางสาว กนกกาญจน์ พัฒนบุญศิริ สุตะบำรุงพิทยาคาร ฉะเชิงเทรา
22. นาง สรัญญา จำปาทอง พนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" ฉะเชิงเทรา
23. นางสาว อรจิรา ศรีคงรักษ์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี ชลบุรี
24. นางสาว ณัชชา ทรงภักศิลป์ดี บริษัทไทยกสิกรสงเคราะห์ ชลบุรี
25. นาย นฤดม สงนุ้ย บ้านสะพานหิน (ประชาสามัคคี) ชัยนาท
26. นางสาว สุภัทรา ทองอ่อน วัดสิงห์ ชัยนาท
27. นาย ไพบูลย์ โสดากุล บ้านวังกะทะ ชัยภูมิ
28. นาง โชคดี งามเจริญ เจียงทองพิทยาคม ชัยภูมิ
29. นางสาว กมลรัตน์ เซ่งเจริญ สอาดเผดิมวิทยา ชุมพร
30. นางสาว วราลี ทองแก้ว สวีวิทยา ชุมพร
31. นางสาว อรวรรณ ส่งศรี ดอยหลวง รัชมังคลาภิเษก เชียงราย
32. นาย วรกุล คำมะ บ้านปางห้า เชียงราย
33. นางสาว วราภรณ์ ส่องแสง ชุมชนสถาน (ราษฎร์ดรุณวิทย์) เชียงราย
34. นาย พีระศักดิ์ สกุลเวช ดอยลานพิทยา เชียงราย
35. นาย นภนต์ ปัญญา ราชประชานุเคราะห์ 30 เชียงใหม่
36. นาย เกรียงไกร ตาสา ชุมชนวัดศรีคำชมภู เชียงใหม่
37. นางสาว ยศวดี เขตต์เมืองมูล บ้านสันป่าสัก เชียงใหม่
38. นาง มณฑิรา หมื่นรังษี บ้านแม่ต๋อม เชียงใหม่
39. นางสาว ทัศนีย์ เชื้อเพ็ชร วิเชียรมาตุ 2 ตรัง
40. นาย สมพร ชัยบัว บ้านควนสวรรค์ ตรัง
41. นาย สมเกียรติ แซ่เต็ง เขาน้อยวิทยาคม ตราด
42. นาย พงค์สุเรียน เขื่อนแก้ว บ้านขะเนจื้อ ตาก
43. นางสาว สุทิศา จันตะวงศ์ บ้านตากประถมวิทยา ตาก
44. นางสาว อรณี มณีวัฒนา นวมราชานุสรณ์ นครนายก
45. นางสาว ชาดา ศักดิ์บุญญารัตน์ พระปฐมวิทยาลัย นครปฐม
46. นาย เกรียงศักดิ์ เร้ารุจา วัดกอลาด นครปฐม
47. นางสาว ศิรประภา สุรชน บ้านบงคำ นครพนม
48. นาง จิราภรณ์ พลศรีราช นาแกพิทยาคม นครพนม
49. นาย วรฤทธิ์ กอปรสิริพัฒน์ อนุบาล ก ไก่ นครราชสีมา
50. นางสาว สายสุณีย์ แสงก่ำ บ้านศาลเจ้าพ่อ นครราชสีมา
51. นาย พัชรพล ธรรมแสง บุญเหลือวิทยานุสรณ์ นครราชสีมา
52. นางสาว อรวรรณ ช่างทอง พิมายสามัคคี ๑ นครราชสีมา
53. นางสาว จงกล ทองคำ ท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา นครศรีธรรมราช
54. นางสาว สุภาวดี คงแก้ว วัดควนชะลิก นครศรีธรรมราช
55. นาย พิเชษฐ์ เพ็งจันทร์ วัดฝ่าพระบาทราษฎร์บำรุง นครศรีธรรมราช
56. นางสาว พรพิมล ชูดวงจันทร์ นครศรีธรรมราชปัญญานุกูล นครศรีธรรมราช
57. นาย อรรณนพ แตงอ่อน บ้านคลองไทร นครสวรรค์
58. นาง สุพรรษา สายทอง เขาหินกราวประชาสรรค์ นครสวรรค์
59. นาง สิทธิรัตน์ บุญประกอบ สุเหร่าปากคลองลำรี นนทบุรี
60. นาย พิทักษ์พงษ์ สำเนียงล้ำ มหาสวัสดิ์ (ราษฎรบำรุง) นนทบุรี
61. นาง รูสานิง ดือเระ นราสิกขาลัย นราธิวาส
62. นาง พรพิไล ยอดรักษ์ บ้านโคกมือบา มิตรภาพที่ 223 นราธิวาส
63. นาง หรรษา สิทธิพงศ์ ปัว น่าน
64. นาง บัวรมย์ นาชัยเวียง ไทยรัฐวิทยา 98 (บ้านงอบ) น่าน
65. นางสาว พิมสาย อัครพิทยาอำพน บ้านนาเหว่อโนนอุดม บึงกาฬ
66. นางสาว กัญญพร พิมพบุตร ประสานมิตรวิทยา บึงกาฬ
67. นาย ปรเมศวร์ วรรณทองสุก ชุมชนบ้านซาง บึงกาฬ
68. นาย สิทธิกร มณีเนตร บ้านจรเข้มาก บุรีรัมย์
69. นาย วิชาญ ฉิมพลีพันธ์ ตาจงพิทยาสรรค์ บุรีรัมย์
70. นาง รัตติยา ชื่นอารมณ์ ชุมชนวัดเสด็จ ปทุมธานี
71. นางสาว กิติยา พรหมสอน วัดไพร่ฟ้า ปทุมธานี
72. นางสาว เขมจิรา สีดา วัดแสงสรรค์ ปทุมธานี
73. นางสาว ช่อผกา ทศพลทรงพร ทับสะแกวิทยา ประจวบคีรีขันธ์
74. นาย พงษ์เทพ อุ่นอก บางสะพานน้อยวิทยาคม ประจวบคีรีขันธ์
75. นางสาว ฐิติมา อินทร์ธูป วัดพรหมประสิทธิ์ ปราจีนบุรี
76. นางสาว พนิดา มานะต่อ อนุบาลประจันตาคาม ปราจีนบุรี
77. นาย วีรศักดิ์ แดงวิไล อนุบาลปัตตานี ปัตตานี
78. นาย องครักษ์ บินอิสริส ชุมชนบ้านกะมิยอ ปัตตานี
79. นาง ยุพเยาว์ ทรงสบาย ท่าเรือ "นิตยานุกูล" พระนครศรีอยุธยา
80. นาย ธนวัฒน์ แสนสุข วัดช่างเหล็ก (พิบูลเกียรติ) พระนครศรีอยุธยา
81. นาง จิรปรียา ชัยทะ พะเยาพิทยาคม พะเยา
82. นาง จารุวัฒน์ ชูไว ฝายกวางวิทยาคม พะเยา
83. นางสาว สุธิดา หนูช่วย ราชประชานุเคราะห์ 35 จ.พังงา พังงา
84. นาง มาราศรี ชุมเชื้อ ทับปุดวิทยา พังงา
85. นาย เอิบ อักษรทอง หานโพธิ์พิทยาคม พัทลุง
86. นาง สุกัญญา ขาวเผือก ศึกษาสงเคราะห์พัทลุง พัทลุง
87. นางสาว น้ำอ้อย สุขเลิศ บึงบัวพิทยาคม พิจิตร
88. นาย ปกาศิต เรี่ยมสุวรรณ บางมูลนากภูมิวิทยาคม พิจิตร
89. นาย คงเดช จันทร์ศรีงาม วัดโบสถ์ พิษณุโลก
90. นางสาว นันทนิตย์ ท่าโพธิ์ วังมะด่านพิทยาคม พิษณุโลก
91. นางสาว มณฑารพ สิงห์โตทอง พรหมานุสรณ์ จังหวัดเพชรบุรี เพชรบุรี
92. นางสาว อมรรัตน์ คันชั่ง ห้วยทรายประชาสรรค์ เพชรบุรี
93. นาย วรัญญู ต้นแก้ว แคมป์สนวิทยาคม เพชรบูรณ์
94. นาย สุวรรณ์ พิมเสน บ้านเข็กน้อย เพชรบูรณ์
95. นาย ชัยวุฒิ คมประดิษฐ์ ลองวิทยา แพร่
96. นาย จตรนต์ สายอุต นารีรัตน์ จังหวัดแพร่ แพร่
97. นาง ทัศนีย์ นวลกุ้ง สตรีภูเก็ต ภูเก็ต
98. นางสาว ชุลีพร สืบสืน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ภูเก็ต
99. นาง บุญญา นวลใย วัดศรีสุนทร (มิตรภาพ 15) ภูเก็ต
100. นางสาว กุลรดา ศรีวัฒนานุศาสตร์ บ้านเชียงยืน มหาสารคาม
101. นาง เนาวรัตน์ ปะกินำหัง สารคามพิทยาคม มหาสารคาม
102. นาย คมกริช ศรีชัย หนองสูงสามัคคีวิทยา มุกดาหาร
103. นาย อำนวย เฮงสวัสดิ์ บ้านหนองหอยป่าหวาย มุกดาหาร
104. นางสาว ธัญชนก คำวินิจ สบเมยวิทยาคม แม่ฮ่องสอน
105. นางสาว ประภัสสร ถูกดี ไทยรัฐวิทยา 99 (บ้านแม่สุยะ) แม่ฮ่องสอน
106. นาย ธัญกร อรัญโสติ กู่จานวิทยาคม ยโสธร
107. นางสาว กนิษฐา ชื่นตา เมืองกลางประชานุกูล ยโสธร
108. นางสาว พฤศจิ อุ่นอก รามันห์ศิริวิทย์ ยะลา
109. นางสาว โนเรียน่า มาหามัด บ้านกาตอง ยะลา
110. นางสาว วัชราภรณ์ มาติยา สตรีศึกษา ร้อยเอ็ด
111. นาง ยุวดี ประทุม บ้านงิ้วหว่านศึกษาคาร ร้อยเอ็ด
112. นาง รัตนาภรณ์ สาบุตร ร้อยเอ็ดวิทยาลัย ร้อยเอ็ด
113. นาง กาญจนา คำสนาม สุวรรณภูมิพิทยไพศาล ร้อยเอ็ด
114. นางสาว รัตธิญา สงวนศักดิ์ ไทยรัฐวิทยา 97 (บ้านบางบอน) ระนอง
115. นาย อดุล บุญเจริญ บ้านค่าย ระยอง
116. นางสาว จุฑามาส ไชยโย บ้านชำฆ้อ ระยอง
117. นาง ศุภวรรณ ศรีประทุม ราชโบริกานุเคราะห์ ราชบุรี
118. นาย วรวิทย์ ตั้นเหลียง วัดหนองกบ (ขุนทองประชานุเคราะห์) ราชบุรี
119. นาย สมโชค หัสสลีมูล บ้านบัวชุม ลพบุรี
120. นาย อนุรักษ์ จันทวะฤทธิ์ บ้านหมี่วิทยา ลพบุรี
121. นาย จำนงค์ วงศ์วัฒนัย วังเหนือวิทยา ลำปาง
122. นางสาว อันติกา เทพรักษาฤาชัย กิ่วลมวิทยา ลำปาง
123. นาง สุปราณี ศรีตระกูลวงค์ ป่าซาง ลำพูน
124. นาง สุวนีย์ หล่อเนตร บ้านไม้ตะเคียน ลำพูน
125. นางสาว วชิราวรรณ เทียมทัน เมืองเลย เลย
126. นาย ณัฐวุฒิ มูลทากรม เขาหลวงวิทยา เลย
127. นาย อัครพงษ์ ศิรวงศ์สกุล บ้านสำโรงพลัน ศรีสะเกษ
128. นาย ภาสธร ยาวโนภาส บ้านหนองแวง (โสวรรณีวิทยาคม) ศรีสะเกษ
129. นาง สมพร ศรีจำปา ราชประชานุเคราะห์ 29 จังหวัดศรีสะเกษ ศรีสะเกษ
130. นาย โกสิทธิ์ ทองคำเจริญ ส้มป่อยพิทยาคม ศรีสะเกษ
131. นาย กัมปนาท ขุมทอง ขุขันธ์วิทยา ศรีสะเกษ
132. นาย วิทยา เมฆวัน บ้านหนองกระบอกราษฎร์อุทิศวิทยา สกลนคร
133. นาย ยุทธศาสตร์ ปะนามะทัง บ้านหนองบัวสิม สกลนคร
134. ว่าที่ ร.ต.หญิง ขนิษฐา ชาตรี มหาวชิราวุธ สงขลา
135. นางสาว มนทิรา อุปถัมภ์ สะเดา"ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์" สงขลา
136. นาง สุจินต์ ชาวสวน ทุ่งหว้าวรวิทย์ สตูล
137. นางสาว ขนิษฐา ขุนหลัด พิมานพิทยาสรรค์ สตูล
138. นาย ภิรมย์ รุ่งเรืองวณิชกุล มัธยมด่านสำโรง สมุทรปราการ
139. นางสาว สุกัญญา โคตรประทุม เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ สมุทรปราการ
140. นาย ภูชิต ไกรดำ ป้อมพระจุลจอมเกล้า สมุทรปราการ
141. นาง อารีลักษณ์ ปุ๊กน้อย เทพสุวรรณชาญวิทยา สมุทรสงคราม
142. นางสาว มณีนุช มุ่งหมาย ศรัทธาสมุทร สมุทรสงคราม
143. นางสาว รดาศา ลิขิตบวร บ้านบางน้ำจืด สมุทรสาคร
144. นางสาว ทัศนียา อ่วมเมือง กุศลวิทยา สมุทรสาคร
145. นางสาว พิชญ์ชามา พันธุราช ทัพพระยาพิทยา สระแก้ว
146. นาย วุฒิ ภูมิเขต สระแก้ว สระแก้ว
147. นางสาว มะลิพร แดงตะขบ บ้านคลองเจริญ สระแก้ว
148. นางสาว นันท์นภัส ชะฎาจิตร เสาไห้ "วิมลวิทยานุกูล" สระบุรี
149. นางสาว กานต์นารี เชี่ยวพานิช ท้ายพิกุลฯ สระบุรี
150. นางสาว สุนันทินี สุขสวัสดิ์ กงไกรลาศวิทยา สุโขทัย
151. นางสาว รุ่งดารา กลั่นเรือง คีรีมาศพิทยาคม สุโขทัย
152. นาย ศิวาวุธ ภาณุพิจารย์ สงวนหญิง สุพรรณบุรี
153. นางสาว ดารารัตน์ เลิศหงิม สองพี่น้องวิทยา สุพรรณบุรี
154. นาย สุริยา สารทิพย์ บ้านนาสาร สุราษฎร์ธานี
155. นาง เยาวลักษณ์ ญาโน กาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี สุราษฎร์ธานี
156. นาง สุวลี ล่องเพ็ง สุราษฎร์ธานี 2 สุราษฎร์ธานี
157. นางสาว ณัฐชญา บุญวงศ์ ราษฎร์พัฒนา สุรินทร์
158. นาย ชัยยงค์ นาเมืองรักษ์ โนนนารายณ์วิทยา สุรินทร์
159. นางสาว สิริลักษณ์ ใจกล้า บ้านท่าศิลา สุรินทร์
160. นางสาว จุฬาลักษณ์ บุตรสยาตรัส หนองโตง "สุรวิทยาคม" สุรินทร์
161. นาย ชวลิต ประลันย์ ราชประชานุเคราะห์ 14 หนองคาย
162. นาย ทนงศักดิ์ เตียวศิริชัยสกุล สมสะอาดดงมุขวิทยา หนองคาย
163. นาย รักวิทย์ นาคฤทธิ์ หัวนาศึกษาวิทย์ หนองบัวลำภู
164. นาย ณัฐพงษ์ โคตรมณี บ้านนาเลิง หนองบัวลำภู
165. นาย สุพร มูลศรี ฝั่งแดงวิทยาสรรค์ หนองบัวลำภู
166. นางสาว แก้วตา ม่วงวิเศษ บางเสด็จวิทยาคม อ่างทอง
167. นางสาว ปิยาภรณ์ แสงนาค สตรีอ่างทอง อ่างทอง
168. นาย เฉลิม บูคะธรรม นาวังวิทยา อำนาจเจริญ
169. นาย สุทัศน์ ภูมิภาค นาจิกพิทยาคม อำนาจเจริญ
170. นางสาว ศศิวิมล ศรีแก่บ้าน กุดจับประชาสรรค์ อุดรธานี
171. นาย ภาณุเมศ ชุมภูนท์ บ้านนาแค อุดรธานี
172. นางสาว ทัศนีย์ แสนชมภู บ้านโคกผักหอม อุดรธานี
173. นาง จันทร์จิรา นิลกำแหง บ้านนาอิน อุตรดิตถ์
174. นาง สาธิยา สารเถื่อนแก้ว บ้านโคกวิทยาคม อุตรดิตถ์
175. นางสาว ทิพมาศ กลทิพย์ หนองฉางวิทยา อุทัยธานี
176. นาย พงษ์ภัทรวิชญ์ บุญศิริ บ้านไร่วิทยา อุทัยธานี
177. นาง อรัญญา ไชยชนะ เมือง อุบลราชธานี
178. นางสาว ศิริประภา สอนถา บ้านสำโรง อุบลราชธานี
179. นาย สิทธิศักดิ์ ร่วมสุข หนองงอนวิทยา อุบลราชธานี
180. นาย สกุล บุญนิรันดร์ บ้านหนองเหล่า อุบลราชธานี

 

ติดต่อ-สอบถาม

  • สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. 924 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
  • อีเมล:     csant@ipstweb.com   
  • โทรศัพท์: 0-2392-4021 ต่อ 3415 หรือ 3406
  • แฟกซ์:    0-2392-6628
  • website: http://oho.ipstweb.com