Skip to main content

แนะนำการอบรมออนไลน์ หลักสูตร ชุดกล่องสมองกล IPST-MicroBox

เขียนโดย นางสาวทัศนีย์ กรองทอง ผู้ชำนาญ สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.  

      สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. ได้พัฒนาชุดกล่องสมองกลเพื่อเป็นสื่อทางเลือกหนึ่งสำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสาขาวิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ฯลฯ  ผู้ใช้สามารถประยุกต์กล่องสมองกลกับความรู้ในศาสตร์ต่างๆ  เพื่อคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาทั้งเนื้อหาวิชาที่เรียนและในชีวิตประจำวัน   ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของการสร้างชิ้นงานหรือโครงงานก็ได้  โดยอาศัยการเขียนโปรแกรมทำงานกับอุปกรณ์หรือเซนเซอร์ต่างๆ ก็นับว่าเป็นการท้าทายและกระตุ้นความสนใจผู้เขียนโปรแกรม   

     ชุดกล่องสมองกล ประกอบด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งเปรียบเหมือนคอมพิวเตอร์ โดยประกอบไปด้วย  หน่วยประมวลผล ส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์รับเข้าและส่งออก หน่วยความจำ  ส่วนจับเวลาและตัวนับ ส่วนควบคุมการขัดจังหวะการทำงาน   นอกจากนี้ในชุดยังมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเซนเซอร์ต่างๆ  เราสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ทำงานร่วมกับเซนเซอร์ที่กำหนดได้

7-1

รูปที่ 1 ไมโครคอนโทรลเลอร์

 

    ชุดกล่องสมองกล IPST-MicroBox  พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในรุ่นแรกๆ ผู้ใช้สามารถสร้างชุดกล่องสมองกลเองได้ตั้งแต่ต้น  เพียงดาวน์โหลดลายวงจร  กัดแผ่นปรินท์ แล้วทำการติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงในแผงวงจรที่ใช้งาน หลังจากนั้นก็เขียนโปรแกรมภาษาซี โดยมีไลบราลีเพิ่มเติม ipst.h ช่วยให้เขียนโปรแกรมง่ายขึ้น โดยซอฟต์แวร์สำหรับการเขียนโปรแกรม ได้แก่  AVR Studio 4, WinAVR และ PonyProg2000แต่ถ้าใช้ระบบปฏิบัติการWindows7 ต้องลงโปรแกรม  AVR Toolchain เพิ่มเติม  ท้ายสุดหลังจากคอมไพล์โปรแกรมแล้วทำการอัพโหลดโปรแกรมลงกล่องสมองกล เพียงเท่านี้เราก็สามารถสั่งงานชุดกล่องสมองกลให้ทำงานตามที่เราโปรแกรมไว้ได้แล้ว

    ปัจจุบัน IPST-MicroBox  พัฒนาถึงรุ่น IPST-MicroBox Secondary Education (SE)  ซึ่งมีการปรับปรุงในส่วนบอร์ด และอุปกรณ์อัพโหลดข้อมูลซึ่งทำการแปลงพอร์ตยูเอสบีเป็นพอร์ตอนุกรม ให้ใช้งานง่ายขึ้น และทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ถูกลง  เนื่องจากซอฟต์แวร์WinAVR ที่ไม่ได้มีการพัฒนาต่อแล้ว ทำให้การใช้งานกับระบบปฏิบัติการที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตอาจมีปัญหาเกิดขึ้นได้  รวมทั้งเพื่อให้การคอมไพล์และการอัพโหลดโปรแกรมง่ายขึ้นจึงเลือกซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมเป็น WiringIDE (www.wiring.org.co)  ซึ่งWiringIDE มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการWindows,Linux  และ MAC OS ทั้งยังเป็นซอฟต์แวร์รหัสเปิด (open source) สามารถใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย  ซึ่ง IPST-MicroBox  รุ่นมาตรฐานเดิมก็สามารถเขียนโปรแกรมบนWiringIDE ได้ เพียงแต่ต้องมีการปรับปรุงเฟิร์มแวร์เพิ่มเติม

 

7-2

รูปที่ 2 IPST-MicroBox Secondary Education (SE)

 

7-3

รูปที่ 3 โปรแกรม Wiring 1.0 IPST-SE

 

    สาขาคอมพิวเตอร์เล็งเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ การใช้งานชุดกล่องสมองกล จึงได้ปรับปรุงเว็บไซต์สำหรับเรียนออนไลน์ หลักสูตร ชุดกล่องสมองกล IPST-Microbox รุ่นมาตรฐาน ให้กับครูผู้สอน นักเรียน และบุคคลทั่วไป ซึ่งในอนาคตสาขาคอมพิวเตอร์จะได้จัดทำบทเรียนออนไลน์สำหรับรุ่น 2 (SE) ต่อไป ทั้งนี้ไม่ว่าอุปกรณ์จะมีการพัฒนาไปอย่างไร หลักการพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมยังคงอยู่ ประกอบกับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ช่วยให้การสร้างงานมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้งานได้จริง

7-4

รูปที่ 4 ชุดกล่องสมองกล IPST-Microbox รุ่นมาตรฐาน

     เนื้อหาภายในแบ่งเป็นบทเรียน บท ประกอบด้วยใบความรู้ และใบงาน โดยบทที่ จะเป็นการทบทวนเรื่องอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ส่วนประกอบและการติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงแผ่นวงจร หากผู้เรียนมีชุดกล่องสมองกลที่ประกอบสำเร็จอยู่แล้ว สามารถข้ามไปทำกิจกรรมในบทที่ ได้เลย การทำใบงานจะทำเรียงลำดับตั้งแต่บทที่ ถึง 9  โดยใบงานจะมีแบบทดสอบทั้งแบบเติมคำในช่องว่างและเลือกตอบ เมื่อท่านทำแบบทดสอบผ่าน 80 % จะสามารถทำใบงานถัดไปได้ หากทำแบบทดสอบไม่ผ่านท่านจะสามารถทำใหม่ได้อีกในวันถัดไป สำหรับการทำใบงานบทที่ ท่านจะต้องสร้างโครงงาน เรื่อง แล้วส่งรายงานฉบับสมบูรณ์และวิดีโอสาธิตการทำงานของโครงงาน จากนั้นรอผลการตรวจจาก สสวท.   การทำแบบทดสอบในใบงาน มีเวลา เดือนนับจากวันลงทะเบียน หากไม่ผ่านภายใน เดือน ผู้เรียนจะต้องเริ่มทำใบงานใหม่ตั้งแต่ต้น และเริ่มนับเวลาการอบรมใหม่  ถ้าทำใบงานผ่านทุกบทท่านจะได้รับเกียรติบัตรผ่านการอบรมจาก สสวท.  ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมได้ที่http://oho.ipst.ac.th/ipstbox/web

7-5

รูปที่ 5 เว็บไซต์ IPST-MicroBox

     ตัวอย่างโครงงานที่นำชุดกล่องสมองกลไปสร้างงานแบบบูรณาการ เช่น โครงงานเครื่องวัดความเร็วลม ซึ่งสามารถนำไปในการทดลองสำหรับการประดิษฐ์ศรลม โครงงานเครื่องนับจำนวนรอบของกังหันที่ทำให้ LED ติด สามารถนำไปใช้ในการทดลองสำหรับการประดิษฐ์กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า เป็นต้น

7-6
รูปที่ ตัวอย่างการนำชุดกล่องสมองกล IPST-MicorBox ไปใช้วัดความเร็วลม

การใช้งาน IPST MicroBox

IPST MicroBox obj148geo472pg1p12

• ส่วนประกอบ

• ลายวงจร

– ลายวงจรสำหรับพริ้นทร์ลง PCB (พริ้นทร์แบบสองหน้า)

– ลายวงจรสำหรับดูรายละเอียดการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ต่างๆ

• โปรแกรมที่ใช้

– AVR Studio

– WinAVR

– PonyProg2000

•      รายการอุปกรณ์แต่ละบอร์ดสำหรับประกอบเอง

•      คู่มือการใช้ IPST MicroBox

•      ไฟล์ตัวอย่างที่ใช้กับ IPST MicroBox
แนะนำไมโครคอนโทรลเลอร์ ATmega16

http://www.atmel.com/dyn/resources/prod_documents/doc2466.pdf

http://www.captain.at/electronics/atmel-programmer/

http://www.inex.co.th/micro/

การอบรม

การจัดอบรมการใช้ชุดกล่องสมองกล 

ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนและศึกษาบทเรียนได้ที่ http://ipstbox.programming.in.th/

รายละเอียดเนื้อหาในการอบรมมีดังนี้

บทที่ 1 การสร้างชุดกล่องสมองกล IPST-MicroBox

1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · รู้จักไมโครคอนโทรลเลอร์ 

· แนะนำไมโครคอนโทรลเลอร์ Atmega16

· อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนบอร์ด IPST-MicroBox

· ส่วนประกอบชุดกล่องสมองกล IPST-MicroBox

· ติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงบนแผ่นวงจร

· ทดสอบการทำงานของวงจร

· สัญลักษณ์เกี่ยวกับวงจรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

บทที่ 2 IPST-MicroBox และโปรแกรมสนับสุนน
1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · ซอฟต์แวร์สนับสนุนการพัฒนาโปรแกรม 

· การพัฒนาโปรแกรมด้วย AVR Studio

· การดาวน์โหลดโปรแกรมลงไมโครคอนโทรลเลอร์ผ่านพอร์ตขนาน

· แผงวงจรหลักของ IPST-MicroBox

· แผงวงจรแสดงตัวเลข 4 หลัก

3) ใบงาน · ใบงานที่ 2.1 เครื่องนับเลข
4) ข้อเสนอแนะ

บทที่ 3 การใช้งานอุปกรณ์แสดงผลพื้นฐาน
1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · ระบบเลขฐาน 

· ตัวดำเนินการบิตไวส์

3) ใบงาน · ใบงานที่ 3.1 เครื่องตั้งเวลา 1 นาที 

· ใบงานที่ 3.2 ไฟวิ่ง

บทที่ 4 การใช้งานอุกรณ์รับข้อมูลและแสดงผลแบบดิจิตอล
1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · แผงวงจรสวิตช์กดติดปล่อยดับ 

· แผงวงจร LED สองสี

· สวิตช์และปรากฏการณ์ Contact Bounce

· คำสั่งควบคุมอุปกรณ์รับข้อมูลและแสดงผลแบบดิจิตัล

3) ใบงาน · เครื่องออกหวย 

· เปิดปิดหลอด LED ด้วยสวิตช์

· เครื่องนับเลขด้วยการกด

บทที่ 5 การใช้งานอุปกรณ์รับข้อมูลและแสดงผลแบบดิจิตัลอื่นๆ
1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · แผงวงจรลำโพงเปียโซและชุดคำสั่งควบคุม 

· แผงวงจรกำเนิดแสงอินฟราเรด หรือแผงวงจรขับ LED อิฟราเรด

· แผงวงจรโมดูลรับแสงอินฟราเรด 38kHz

3) ใบงาน · กริ่งประตูบ้าน 

· เปิดปิดไฟด้วยรีโมตโทรทัศน์

· นาฬิกาจับเวลาแบบมีเสียงเตือน

 

บทที่ 6 การตรวจจับแบบแอนะล็อก
1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · สัญญาณแอนะล็อก 

· ตัวต้านทานปรับค่าได้และแผงวงจรตรวจวัดแบบแอนะล็อก

· คำสั่งอ่านค่าแอนะล็อก

3) ใบงาน รู้จักกับสัญญาณแอนะล็อก 

เปิดปิดไฟด้วยแสงและเสียง

นับคนเข้าร้าน

4) ข้อเสนอแนะ
บทที่ 7 การควบคุมมอเตอร์ไฟตรง
1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · การเชื่อมต่อแผงวงจรขับมอเตอร์ไฟตรง 

· ชุดคำสั่งควบคุมมอเตอร์ไฟตรง

· ชุดคำสั่งจับเวลา

3) ใบงาน · ทดลองใช้งานมอเตอร์ไฟตรง 

· พัดลมติดเพดาน

· ประตูเลื่อนอัตโนมัติ

4) ข้อเสนอแนะ
บทที่ 8 การควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายนอก
1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · แผงวงจรขับรีเลย์
3) ใบงาน · ทดลองใช้งานรีเลย์ 

· โรงเรือนอัจฉริยะ

บทที่ 9 การสร้างโครงงานโดยใช้ชุดกล่องสมองกล IPST-MicroBox
1) จุดประสงค์ แนวคิด และอุปกรณ์
2) ความรู้ · ส่วนประกอบรายงานฉบับสมบูรณ์
3) ใบงาน · การสร้างโครงงานด้วยชุดกล่องสมองกล
ภาคผนวก
ความรู้พื้นฐานของการโปรแกรมภาษาซีกับชุดกล่องสมองกล IPST-MicroBox
· โครงสร้างพื้นฐานของโปรแกรมภาษาซี 

· การประกาศฟังก์ชัน

· การเรียกใช้งานฟังก์ชัน

· ชนิดข้อมูลและการประกาศตัวแปร

· ตัวดำเนินการในภาษาซี

· คำสั้งควบคุมในภาษาซี

· การใช้งานไลบรารีในภาษาซี

ตัวอย่างคลิปวีดีโอการสอน
ตัวอย่างโครงงาน

รายละเอียดการศึกษาบทเรียน
           สิ่งที่ผู้เรียนต้องเตรียมตัวเพื่อการศึกษาบทเรียน มีดังนี้

1. อุปกรณ์ชุดกล่องสมองกล IPST-MicroBox รุ่นมาตรฐาน ซึ่งผู้เรียนสามารถสร้างเองได้โดยต้องเตรียมอุปกรณ์และทำตามกิจกรรมในบทที่ 1 
          2. ท่านที่ไม่เคยมีความรู้ด้านโปรแกรมภาษาควรศึกษาภาคผนวกเรื่องความรู้พื้นฐานของการโปรแกรมภาษาซีก่อน

ศูนย์อบรม

โรงเรียนที่นำชุดกล่องสมองกลไปใช้ในการเรียนการสอน

พ.ศ. 2546
1. โรงเรียนเบญจมราชูทิศ   จ.นครศรีธรรมราช
2. โรงเรียนบ้านแหลมวิทยา จ.เพชรบุรี
3. โรงเรียนศรีบุณญานนท์ จ.นนทบุรี
4. โรงเรียนระยองวิทยาคม จ.ระยอง
5. โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี จ.อุตรดิตถ์

 

พ.ศ. 2547
1. โรงเรียนบางปลาม้า “สูงสุมารผดุงวิทย์” จ. สุพรรณบุรี
2. โรงเรียนปากท่อพิทยาคม จ.ราชบุรี
3. โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จ. ฉะเชิงเทรา
4. โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จ.ร้อยเอ็ด
5. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ. นครศรีธรรมราช
6. โรงเรียนแสวงหาวิทยาคม จ.อ่างทอง

พ.ศ. 2549
1. โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จ.เชียงราย
2. โรงเรียนลำปางกัลยาณี จ.ลำปาง
3. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ

พ.ศ. 2550
1. โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จ.กาฬสินธุ์
2.  โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม จ.อ่างทอง
3. โรงเรียนที่เป็นศูนย์ห้องเรียนอัจฉริยะ ของ พสวท.

ปัจจุบันโรงเรียนใดนำชุดกล่องสมองกลไปใช้โปรดแจ้ง สสวท. เพื่อปรับปรุงข้อมูลด้วย
ขอขอบคุณค่ะ

ชุดกล่องสมองกล คืออะไร ?

ชุดกล่องสมองกล คืออะไร ?

ชุดกล่องสมองกลประกอบด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือตัวกล่องสมองกลกับเซนเซอร์หรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ช่วยในการเรียนรู้สามารถนำไปสร้างเป็นโครงงานหรือชิ้นงานได้ตามจินตนาการ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ถ้าพิจารณาแล้วอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ก็ล้วนแต่มีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งนั้น เช่น แอร์ โทรทัศน์ ตู้เย็นและ เครื่องซักผ้า เราสามารถควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ให้ปิด หรือเปิดได้โดยอัตโนมัติ หลายคนสับสนว่า อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราใช้กันนั้น มีคอมพิวเตอร์มาเกี่ยวข้องได้ยังไง อันดับแรกเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า คอมพิวเตอร์คืออะไร จากรากศัพท์ของคำว่า computer นั้นมาจากคำว่า compute   แปลว่า คำนวณ คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผล หน่วยส่งออก หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำรอง

ดังนั้นอุปกรณ์ที่มีระบบคอมพิวเตอร์จะต้องประกอบด้วยหน่วยต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็จัดว่ามีระบบคอมพิวเตอร์ แต่จะแตกต่างกันตรงที่ขนาด รูปร่าง และวิธีการใช้งานในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กได้ถูกพัฒนาจนอยู่บนไอซีเพียงตัวเดียว เรียกว่า ไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เราสามารถใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์สร้างและควบคุมสิ่งต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ภายในบ้าน เช่น เราสามารถควบคุมแอร์ให้ลดอุณหภูมิอัตโนมัติเมื่อมีเมื่ออากาศร้อน หรือ สามารถสั่งปิด-เปิดไฟด้วยเสียง เป็นต้น ไมโครคอนโทรลเลอร์ประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ ส่วนประมวลผล (CPU) ส่วนความจำหลัก (RAM) ส่วนความจำรอง (EEROM/EPROM/PROM/ROM) ส่วนรับเข้าและส่งออก (input/output) ส่วนจับเวลา (timer) และส่วนควบคุมการขัดจังหวะการทำงาน (interrupt controller) จะเห็นว่า จากส่วนประกอบของไมโครคอนโทรลเลอร์นั้น ไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งเพราะมีหน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผล หน่วยส่งออก และหน่วยความจำ แต่จะมีการรับข้อมูล เป็นสัญญาณดิจิทัล เราสามารถควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ให้ทำงานได้ โดยใช้โปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่น C   Basic Cobol

ชุดกล่องสมองกล

                                                                            

ความเป็นมาของโครงการ
          โครงการพัฒนาชุดกล่องสมองกล เพื่อเป็นสื่อทางเลือกหนึ่งสำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนวิชาการโปรแกรม วิชาโครงงาน ในระดับมัธยมศึกษา ชุดกล่องสมองกลนี้จะเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจ และเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสอนเพื่อให้นักเรียนรักการเขียนโปรแกรม รู้จักคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาทั้งในวิชาที่เรียนและในชีวิตประจำวัน

พ.ศ. 2545
สสวท. ม.เกตษรศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และวิทยากรแกนนำ ประชุมหาขอบเขต รายละเอียด และขีดความสามาร ในการพัฒนา
ต้นแบบชุดกล่องสมองกล อบรมชุดกล่องสมองกล รุ่น 1 กับครูคอมพิวเตอร์ และครูวิทยาศาสตร์(ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์) 30 คน

พ.ศ. 2546
ทดลองใช้ชุดกล่องสมองกลชุดสำเร็จกับโรงเรียน 5 ศูนย์ คือ
1. โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.นครศรีธรรมราช
2. โรงเรียนบ้านแหลมวิทยา จ.เพชรบุรี
3. โรงเรียนศรีบุณญานนท์ จ.นนทบุรี
4. โรงเรียนระยองวิทยาคม จ.ระยอง
5. โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี จ.อุตรดิตถ์
พัฒนาต้นแบบชุดกล่องสมองแบบประกอบเอง ซึ่งสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง รุ่นที่ 1  ตั้งแต่การ กัดลายวงจร ตั้งแต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงบอร์ดลาดวงจร เป็นต้น

พ.ศ. 2547
อบรมชุดกล่องสมองกล รุ่น 2 กับครูคอมพิวเตอร์และครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 42 คน และทดลองใช้ชุดกล่องสมองกลชุดสำเร็จ กับโรงเรียน 6 ศูนย์ คือ
1. โรงเรียนบางปลาม้า "สูงสุมารผดุงวิทย์" จ. สุพรรณบุรี
2. โรงเรียนปากท่อพิทยาคม จ.ราชบุรี
3. โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จ. ฉะเชิงเทรา
4. โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จ.ร้อยเอ็ด
5. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ. นครศรีธรรมราช
6. โรงเรียนแสวงหาวิทยาคม จ.อ่างทอง
พัฒนาต้นแบบชุดกล่องสมองแบบประกอบเอง ซึ่งสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง รุ่นที่ 2

พ.ศ. 2548
          พัฒนาต้นแบบและอบรมครู ด้วย ชุดสมองกลแบบประกอบเองรุ่น 3 กับครูคอมพิวเตอร์ ครูวิทยาศาสตร์และ ครูอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 34 คน
ปัญหาที่พบ
1. ครูบางส่วนไม่สะดวกในการจัดหาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับประกอบชุดกล่องสมองกล
2. ครูบางส่วนต้องการสอนชุดสำเร็จ เพราะขาดความชำนาญใน
การประกอบชุดกล่องสมองกล และชุดกล่องสมองกลที่ได้
อาจไม่สามารถใช้งานได้

พ.ศ. 2549
          อบรมครูชุดกล่องสมองกล ด้วยชุดกล่องสมองกล รุ่น 3 ที่มีการปรับปรุงบางส่วนแล้วกับครูคอมพิวเตอร์ จำนวน 36 คน

สอบถามรายละเอียดได้ที่
สาขาคอมพิวเตอร์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่อยู่ : 924 สุขุมวิท เอกมัย แขวงคลองเตย เขตพระโขนง กทม. 10110

Tel  : 02-3924021
Fax  :  02-3926628
e-mail: IpstMicroBox@hotmail.com

การใช้งาน IPST MicroBox

IPST MicroBoxobj148geo472pg1p12

• ส่วนประกอบ

• ลายวงจร

– ลายวงจรสำหรับพริ้นทร์ลง PCB (พริ้นทร์แบบสองหน้า)

– ลายวงจรสำหรับดูรายละเอียดการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ต่างๆ

• โปรแกรมที่ใช้

– AVR Studio

– WinAVR

– PonyProg2000

•      รายการอุปกรณ์แต่ละบอร์ดสำหรับประกอบเอง

•      คู่มือการใช้ IPST MicroBox

•      ไฟล์ตัวอย่างที่ใช้กับ IPST MicroBox

 

 

 

แนะนำไมโครคอนโทรลเลอร์ ATmega16

 

http://www.atmel.com/dyn/resources/prod_documents/doc2466.pdf

http://www.captain.at/electronics/atmel-programmer/

http://www.inex.co.th/micro/

 

 

 

ชุดกล่องสมองกล

          ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ถ้าพิจารณาแล้วอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ก็ล้วนแต่มีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งนั้น เช่น แอร์ โทรทัศน์ ตู้เย็นและ เครื่องซักผ้า เราสามารถควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ให้ปิด หรือเปิดได้โดยอัตโนมัติ หลายคนสับสนว่า อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราใช้กันนั้น มีคอมพิวเตอร์มาเกี่ยวข้องได้ยังไง อันดับแรกเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า คอมพิวเตอร์คืออะไร จากรากศัพท์ของคำว่า computer นั้นมาจากคำว่า compute   แปลว่า คำนวณ คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผล หน่วยส่งออก หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำรอง

 

 

          ดังนั้นอุปกรณ์ที่มีระบบคอมพิวเตอร์จะต้องประกอบด้วยหน่วยต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็จัดว่ามีระบบคอมพิวเตอร์ แต่จะแตกต่างกันตรงที่ขนาด รูปร่าง และวิธีการใช้งานในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กได้ถูกพัฒนาจนอยู่บนไอซีเพียงตัวเดียว เรียกว่า ไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เราสามารถใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์สร้างและควบคุมสิ่งต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ภายในบ้าน เช่น เราสามารถควบคุมแอร์ให้ลดอุณหภูมิอัตโนมัติเมื่อมีเมื่ออากาศร้อน หรือ สามารถสั่งปิด-เปิดไฟด้วยเสียง เป็นต้น ไมโครคอนโทรลเลอร์ประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ ส่วนประมวลผล (CPU) ส่วนความจำหลัก (RAM) ส่วนความจำรอง (EEROM/EPROM/PROM/ROM) ส่วนรับเข้าและส่งออก (input/output) ส่วนจับเวลา (timer) และส่วนควบคุมการขัดจังหวะการทำงาน (interrupt controller) จะเห็นว่า จากส่วนประกอบของไมโครคอนโทรลเลอร์นั้น ไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งเพราะมีหน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผล หน่วยส่งออก และหน่วยความจำ แต่จะมีการรับข้อมูล เป็นสัญญาณดิจิทัล เราสามารถควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ให้ทำงานได้ โดยใช้โปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่น C   Basic Cobol

 

โครงการชุดกล่องสมองกล

ความเป็นมาของโครงการ

 

 

          โครงการพัฒนาชุดกล่องสมองกล เพื่อเป็นสื่อทางเลือกหนึ่งสำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนวิชาการโปรแกรม วิชาโครงงาน ในระดับมัธยมศึกษา ชุดกล่องสมองกลนี้จะเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจ และเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสอนเพื่อให้นักเรียนรักการเขียนโปรแกรม รู้จักคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาทั้งในวิชาที่เรียนและในชีวิตประจำวัน

 

พ.ศ. 2545 
          สสวท. ม.เกตษรศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และวิทยากรแกนนำ ประชุมหาขอบเขต รายละเอียด และขีดความสามาร ในการพัฒนา
ต้นแบบชุดกล่องสมองกล อบรมชุดกล่องสมองกล รุ่น 1 กับครูคอมพิวเตอร์ และครูวิทยาศาสตร์(ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์) 30 คน

พ.ศ. 2546 
ทดลองใช้ชุดกล่องสมองกลชุดสำเร็จกับโรงเรียน 5 ศูนย์ คือ 
1. โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.นครศรีธรรมราช 
2. โรงเรียนบ้านแหลมวิทยา จ.เพชรบุรี 
3. โรงเรียนศรีบุณญานนท์ จ.นนทบุรี 
4. โรงเรียนระยองวิทยาคม จ.ระยอง 
5. โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี จ.อุตรดิตถ์ 
พัฒนาต้นแบบชุดกล่องสมองแบบประกอบเอง ซึ่งสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง รุ่นที่ 1  ตั้งแต่การ กัดลายวงจร ตั้งแต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงบอร์ดลาดวงจร เป็นต้น

พ.ศ. 2547
          อบรมชุดกล่องสมองกล รุ่น 2 กับครูคอมพิวเตอร์และครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 42 คน และทดลองใช้ชุดกล่องสมองกลชุดสำเร็จ กับโรงเรียน 6 ศูนย์ คือ
1. โรงเรียนบางปลาม้า "สูงสุมารผดุงวิทย์" จ. สุพรรณบุรี 
2. โรงเรียนปากท่อพิทยาคม จ.ราชบุรี 
3. โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จ. ฉะเชิงเทรา 
4. โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จ.ร้อยเอ็ด 
5. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ. นครศรีธรรมราช 
6. โรงเรียนแสวงหาวิทยาคม จ.อ่างทอง 
พัฒนาต้นแบบชุดกล่องสมองแบบประกอบเอง ซึ่งสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง รุ่นที่ 2

พ.ศ. 2548
          พัฒนาต้นแบบและอบรมครู ด้วย ชุดสมองกลแบบประกอบเองรุ่น 3 กับครูคอมพิวเตอร์ ครูวิทยาศาสตร์และ ครูอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 34 คน 
ปัญหาที่พบ
1. ครูบางส่วนไม่สะดวกในการจัดหาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับประกอบชุดกล่องสมองกล
2. ครูบางส่วนต้องการสอนชุดสำเร็จ เพราะขาดความชำนาญใน
การประกอบชุดกล่องสมองกล และชุดกล่องสมองกลที่ได้
อาจไม่สามารถใช้งานได้

พ.ศ. 2549
          อบรมครูชุดกล่องสมองกล ด้วยชุดกล่องสมองกล รุ่น 3 ที่มีการปรับปรุงบางส่วนแล้วกับครูคอมพิวเตอร์ จำนวน 36 คน

สอบถามรายละเอียดได้ที่

สาขาคอมพิวเตอร์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ที่อยู่ : 924 สุขุมวิท เอกมัย แขวงคลองเตย เขตพระโขนง กทม. 10110
Tel  : 02-3924021
Fax  :  02-3926628
e-mail: IpstMicroBox@hotmail.com

Continue reading