Skip to main content

คู่มือการใช้หลักสูตร สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)

คู่มือการใช้หลักสูตร สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) คู่มือการจัดการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ฉบับนี้  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในจัดการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสมและตามบริบทของโรงเรียน

หมายเหตุ: เอกสารฉบับนี้เป็นเเอกสารเผยแพร่ภายใต้ โดเมน ipst.ac.th เท่านั้น   ห้ามนำไปเผยแพร่ให้ดาวน์โหลดภายใต้โดเมนหรือเซิร์ฟเวอร์อื่น  เพื่อให้มั่นใจว่าท่านได้ไฟล์ที่ถูกต้องและเป็นไฟล์ที่ได้รับปรับปรุงล่าสุด โปรดอ้างอิง URL ที่อยู่ภายใต้โดเมน ipst.ac.th

ดาวน์โหลดที่นี่

ปรับปรุงล่าสุด 16 พ.ค. 2561

คำสั่ง สพฐ. เรื่องการปรับโครงสร้างเวลาเรียนฯ และ เรื่องการยกเลิกตัวชี้วัดสาระที่ 2,3 กลุ่มสารระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีคำสั่ง/ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ และวิชาการออกแบบและเทคโนโลยีดังนี้

คำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 921/2561  เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดสาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยีและสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และเปลี่ยนชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ 

คำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 922/2561 เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างวิชาเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  

1. คำสั่ง สพฐ. ที่ 1239/2560 เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560
2. คำสั่ง สพฐ. ที่ 30/2561 เรื่อง ให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561
3. ประกาศ สพฐ. เรื่อง การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561 (หมายเหตุ ข้อ 3 การจัดการเรียนการสอน ข้อ 3.2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคโนโลยี 2) บูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ให้ดำเนินการตามคำสั่ง สพฐ.ที่ 921/2561 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2561)
4. คำสั่ง สพฐ. ที่ 921/2561 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี และสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และเปลี่ยนชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ ลงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
5. คำสั่ง สพฐ. ที่ 922/2561 เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
6. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการเวลาเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (หมายเหตุ ข้อ 1 การบริหารจัดการเวลาเรียน ให้ดำเนินการตาม คำสั่ง สพฐ.ที่ 922/2561 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2561)

หรือลิงค์ http://academic.obec.go.th/missiondetail.php?id=34

สรุปภาพรวมหลักสูตรและเปรียบเทียบตัวชี้วัดฯ

     เพื่อให้ครูมีความเข้าใจและสามารถจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) ในส่วนของตัวชี้วัดเทคโนโลยี จึงขอเสนอ การเทียบเคียงตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนกลางฯ ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระเทคโนโลยี

และในส่วนของวิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)ได้จัดทำเอกสารสรุปภาพรวมหลักสูตรและตัวชี้วัด ง.๓.๑ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลักสูตร ๒๕๕๑   กับ   ว.๔.๒ เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) หลักสูตรปรับปรุง ๒๕๖๐  ดังเอกสาร ดาวน์โหลด

 

คำอธิบายรายวิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)

คำอธิบายรายวิชา
เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)

ดาวน์โหลด: คำอธิบายรายวิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้น ป.๑-๖

ดาวน์โหลด: คำอธิบายรายวิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้น ม.๑-๖

*** การนำเอกสารไปเผยแพร่โปรดอ้างอิงแหล่งที่มา ***

แจกฟรี กิจกรรมพัฒนาทักษะ ICT ระดับประถมศึกษา(กิจกรรม 6 ขยะมีประโยชน์)

กิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระดับประถมศึกษาตอนปลาย กิจกรรม 6 ขยะมีประโยชน์ เวลา  6 ชั่วโมง

act6

แนวคิด

การรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน การนำาเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการจัดการสิ่งของเครื่องใช้ด้วยการแปรรูปแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นกระบวนการหนึ่งในการลดปริมาณขยะและช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมนี้ผู้เรียนจะได้ค้นหาและรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เชื่อถือได้ เลือกซอฟต์แวร์ประยุกต์ในการจัดทำแบบบันทึกการสำารวจปริมาณขยะภายในบ้าน เปรียบเทียบ และจัดทำาสถิติ เพื่อหาแนวทางในการลดปริมาณขยะ สร้างชิ้นงานจากขยะให้สามารถกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น สรุปความรู้เป็นอินโฟกราฟิก นำาเสนอความรู้และแนวทางในการลดปริมาณขยะ

ดาวน์โหลด
pdf

คณะผู้พัฒนา
pdf

แจกฟรี กิจกรรมพัฒนาทักษะ ICT ระดับประถมศึกษา(กิจกรรม 5 My Space)

          กิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระดับประถมศึกษาตอนปลาย กิจกรรมที่ 5 My Space เวลา 4 ชั่วโมง

act5

แนวคิด

         กิจกรรมนี้นักเรียนจะได้รู้วิธีอ่านแผนที่ รู้จักแผนที่ของชุมชน ใช้โปรแกรมแผนที่หาพิกัดของสถานที่และเส้นทางจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งและพิจารณานำาพื้นที่ว่างในชุมชนมาใช้ประโยชน์โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างอินโฟกราฟิก ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ รู้สึกมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของชุมชน
         นักเรียนจะได้ฝึกทักษะในการค้นหาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการออกแบบอินโฟกราฟิก ซึ่งการออกแบบอินโฟกราฟิกจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อสร้างชิ้นงานให้น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อชุมชน

ดาวน์โหลด
pdf

คณะผู้พัฒนา
pdf

แจกฟรี กิจกรรมพัฒนาทักษะ ICT ระดับประถมศึกษา(กิจกรรม 4 คบเด็กสร้างเมือง)

          กิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระดับประถมศึกษาตอนปลาย กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม คบเด็กสร้างเมือง เวลา 5 ชั่วโมง

act4
แนวคิด

         เมืองที่ประชาชนสามารถอาศัยอยู่อย่างมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้น จะประกอบไปด้วยที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ ระบบการขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค แหล่งธุรกิจ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ดี การจัดการให้สถานที่ต่างๆ ตั้งอยู่ในตำาแหน่งที่เหมาะสมจะต้องมีการวางผังเมืองที่ดี ซึ่งอาศัยความรู้ในหลายๆ ด้าน เช่น สังคม สิ่งแวดล้อม คมนาคม
         นักเรียนจะได้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเมืองน่าอยู่ เพื่อพิจารณาออกแบบเมืองใหม่ให้น่าสนใจ โดยการร่างภาพผังเมือง เพื่อแสดงที่ตั้งของสถานที่ต่างๆ ใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ในการสร้างผังเมือง โดยกำาหนดมาตราส่วนเพื่อแสดงขนาดพื้นที่ของสถานที่ต่างๆ อีกด้วย
         กิจกรรมนี้ช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการออกแบบเมือง ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้เห็นความสำาคัญของสภาพชุมชน หรือเมืองที่ประชากรจะสามารถอยู่อาศัยร่วมกันได้อย่างมีคุณภาพ

ดาวน์โหลด
pdf

คณะผู้พัฒนา
pdf

แจกฟรี กิจกรรมพัฒนาทักษะ ICT ระดับประถมศึกษา (กิจกรรม 3 เถ้าแก่น้อยร้อยร้าน)

กิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระดับประถมศึกษาตอนปลาย กิจกรรมที่ 3 เถ้าแก่น้อยร้อยร้าน เวลา 7 ชั่วโมง

act3แนวคิด

          อาหารที่นักเรียนเลือกรับประทานอาจมาจากความสวยงาม สีสัน รสชาติหรือวัตถุดิบที่ชอบ อาหารแต่ละชนิดจะมีคุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกันไป จึงควรเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม เนื่องจากอาหารบางชนิดมีประโยชน์แต่อาหารบางชนิดไม่มีประโยชน์และอาจมีโทษต่อร่างกาย กิจกรรมเถ้าแก่น้อยร้อยร้าน เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และกระบวนการคิดตั้งแต่การสำารวจ รวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูล แล้วนำาข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการออกแบบรายการอาหารและให้ข้อมูลด้านโภชนาการของอาหาร ซึ่งนอกจากนักเรียนจะได้ตระหนักถึงคุณค่าของอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้ว ยังสร้างประสบการณ์ในการเป็นผู้ขายอาหารที่ดีอีกด้วยกิจกรรมนี้นักเรียนจะได้ใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล เลือกใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างชิ้นงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตสำานึกและความรับผิดชอบ และนำาเสนอผลงานต่อสาธารณะ


ดาวน์โหลดpdf

คณะผู้พัฒนา
pdf

กิจกรรมไอซีทีระดับประถมศึกษา

กิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระดับประถมศึกษาตอนปลาย

แจกฟรี กิจกรรมพัฒนาทักษะ ICT ระดับประถมศึกษา (กิจกรรม 2 โรคติดต่อ)

     กิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระดับประถมศึกษาตอนปลาย กิจกรรมที่ 2 รู้จัก ป้องกัน รู้ทันโรคติดต่อ เวลา 7 ชั่วโมง

act2

แนวคิด

        โรคติดต่อเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดหรือติดต่อจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตหนึ่งได้ ไม่จำากัดว่า สิ่งมีชีวิตนั้นจะเป็นมนุษย์หรือไม่ ด้วยการสัมผัสโดยตรง การสูดดมหายใจเอาเชื้อโรคจากผู้ป่วย การรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อปะปนอยู่ หรือแม้แต่ผ่านตัวกลางที่เรียกว่าพาหะ โรคติดต่อที่มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในชุมชนที่มีประชากรจำานวนมาก เรียกว่า โรคระบาด เยาวชนควรตระหนักถึงการป้องกันโรคติดต่อ โดยมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อและการป้องกันโรคกิจกรรมนี้นักเรียนจะได้สำารวจโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโรคติดต่อในชุมชน เพื่อนำาไปออกแบบโปสเตอร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ และใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างโปสเตอร์

ดาวน์โหลดpdf

คณะผู้พัฒนา
pdf